ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม พร้อมทั้งประชุมหารือแนวทางและมาตรการป้องกันปัญหาน้ำท่วมโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงาน HIA การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า จากการตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งตั้งอยู่ช่วงที่แม่น้ำเจ้าพระยาแคบที่สุด จึงมีความเสี่ยงที่ระดับน้ำจะล้นตลิ่งเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงใช้วิธีป้องกันโดยการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้บริเวณด้านตะวันออกของวัดริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาว 160 เมตร สูงจากผิวบนสุดของขอบตลิ่งประมาณ 1.80 เมตร และสามารถต่อความสูงเพิ่มเติมเป็น 2.40 เมตร ส่วนด้านใต้ ด้านตะวันตก มีแนวกำแพงป้องกันน้ำถาวรก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนด้านเหนือใช้แนวทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3469 เป็นแนวป้องกัน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่โบราณสถานที่มีการดำเนินงานตั้งแนวป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องป้องกันการเกิดอุทกภัยทุกปี เพื่อรับรองสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยได้กำชับให้กรมศิลปากรบูรณาการการทำงานในการดูแลโบราณสถานสำคัญกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ พื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังคงปรากฏความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมถึงอุทกภัยที่อาจมีผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในระดับแผนปฏิบัติการ กรมศิลปากรได้บรรจุแผนงานมาตรการลดผลกระทบจากภัยพิบัติไว้ในร่างแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2566 - 2575 ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินงานตามมาตรการป้องกันผลกระทบจากภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนคร ศรีอยุธยา โดยมีการบริหารจัดการเป็นขั้นตอนในทุกปี มีการวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนการทำงาน ประชุมติดตามการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessments - HIA) ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ - หนองคาย ช่วงสถานีอยุธยา) ในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว) ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้แสดงความกังวลและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และขอให้มีการจัดทำรายงานฯ (HIA) ที่อาจมีต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมีกำหนดแล้วเสร็จก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลกเดินทางลงพื้นที่ แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้ คำปรึกษาแนะนำการประเมินและลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในช่วงเดือนกันยายน 2567
นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้รายงานการดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และกองทุนโบราณสถานโลกเข้ามาร่วมมือในการบูรณะโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 (ภายหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2554) จนถึงปัจจุบัน โดยมีการทำงานในรูปแบบคณะทำงานร่วมระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพของกรมศิลปากรและนักอนุรักษ์ชาวไทยและชาวต่างประเทศของกองทุนโบราณสถานโลก ที่ผ่านมาดำเนินงานหลัก 2 ด้าน ประกอบด้วยการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดอบรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจะมีพิธีปิดโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามที่ใช้งบประมาณจากสถานทูตสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2567
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำระยะไกล เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังภายในโบราณสถานวัดกู่ป้าด้อม พื้นที่เมืองโบราณเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งโบราณสถานแห่งนี้เป็นที่ค้นพบลวดลายปูนปั้น ประดับราวบันไดวิหาร "ลายมกรคายมังกร" งานปูนปั้นที่มีคุณค่าความสำคัญด้านศิลปกรรมและหาชมได้ยากในดินแดนล้านนา
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เวียงกุมกาม นอกจากเป็นราชธานีแห่งแรกของล้านนาแล้ว ยังค้นพบหลักฐานสำคัญอีกหลายอย่าง เช่น ชั้นดินทางโบราณคดีที่ชี้ชัดว่าเคยถูกน้ำท่วมมาก่อน ถ้วยชามลายสัตว์มงคลของจีน จารึกระบุชื่อกุมกาม และได้ค้นพบสิ่งสำคัญที่โดดเด่นมาก คือ มังกร ลวดลายปูนปั้นที่ราวบันไดกู่ป้าด้อม อุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ครั้งใหญ่นี้ ส่งผลให้น้ำหลากเข้าท่วมโบราณสถานในเวียงกุมกามอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กู่ป้าด้อมมีน้ำหลากท่วมสูงกว่า 2 เมตร เป็นเวลานาน แม้น้ำจะหลากผ่านไปแล้วแต่ยังท่วมขังในพื้นที่โบราณสถานต่อเนื่อง เพราะระดับน้ำใต้ดินพื้นที่รอบ ๆ ยังไม่ลดลง แม้กรมศิลปากรจะพยายามสูบน้ำออกแล้ว ส่งผลให้ มังกรที่กู่ป้าด้อม จมอยู่ในน้ำเกือบเดือนแล้ว ล่าสุดทั้งกรมศิลปากรและจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมมือกันสูบน้ำออกแต่ยังมีน้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในพื้นที่เรื่อยๆ แต่ยังพอให้ มังกร พ้นน้ำขึ้นมาได้บางส่วนแล้ว กรมศิลปากรจะค่อยสูบน้ำออกต่อเนื่องไปจนกว่า มังกร จะลอยพ้นน้ำแล้วจึงจะเริ่มขั้นตอนการอนุรักษ์ลวดลายปูนปั้น มกรคายมังกร ราวบันไดวิหารวัดกู่ป้าด้อม เวียงกุมกาม
สำหรับขั้นตอนการอนุรักษ์ ขณะน้ำลดจะดำเนินการคลุมลวดลายปูนปั้นด้วยผ้าที่มีเส้นใยลักษณะหนาและมีความนุ่ม เพื่อรักษาความสมดุลของอุณหภูมิของลวดลายปูนปั้นกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อลวดลายปูนปั้น ภายหลังน้ำลดแล้วจะคลุมด้วยผ้าแห้งที่มีความสามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อการระบายความชื้นภายในของชั้นปูน โดยคอยตรวจสภาพการแห้งของลวดลายปูนปั้นเป็นระยะๆ จนกว่าจะแห้งสนิท (ระบายตามธรรมชาติ) จากนั้นเป็นขั้นตอน ฟื้นฟู คืนสภาพ คือ เมื่อลวดลายปูนปั้นแห้งสนิทแล้ว จะทำการตรวจสอบสภาพการชำรุด ทำความสะอาด และอนุรักษ์ตามอาการที่ชำรุด เช่น หากปูนปั้นมีร่องรอยการเผยอ ปริ แตกออกให้ทำการผนีกกลับดังเดิม หรือหากปูนปั้นมีการโป่งพองให้ทำการเจาะอัดฉีดน้ำปูนหมักชนิดเหลว โดยต้องรักษาสภาพของลวดลายเดิมให้คงไว้มากที่สุด
ร่วมกันเป็นกำลังใจให้ มังกร หนึ่งเดียวในล้านนา ได้กลับมาแข็งแรงและเป็นมรดกล้ำค่าของชาวเชียงใหม่และชาวไทยต่อไป
โบราณสถานหอพระสูง (พระวิหารสูง)
ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณเนินดินขนาดใหญ่ นอกกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือ มีข้อสันนิษฐานหลายประการเกี่ยวกับประวัติการสร้างหอพระสูงและที่มาของเนินดิน เช่น เชื่อว่าเกิดจากชาวเมืองนครศรีธรรมราชช่วยกันขุดดินจากบริเวณคลองหน้าเมืองมาถมจนเป็นเนินใหญ่ เพื่อใช้ตั้งปืนใหญ่ในการสกัดทัพพม่า ในคราวที่มีการยกทัพมาตีหัวเมืองภาคใต้ตั้งแต่มะริด ถลาง ไชยา เรื่อยมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งสงคราม ๙ ทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อท้องถิ่นว่าเป็นสถานที่ปลงพระบรมศพพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ภายหลังเนินดินนี้ได้กลายเป็นที่รกร้างมีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น กระทั่งพ.ศ. ๒๓๗๗ เจ้าพระยานคร (น้อย) เห็นว่าควรจะสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวเมือง จึงให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นบนเนินนั้นและสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า “หอพระสูง” หอพระสูง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงไทย แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๕.๙๐ เมตร ยาว ๑๓.๒๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ผนังทั้งสองด้านทำช่องรับแสงเป็นรูปกากบาท ฐานชั้นล่างก่ออิฐเป็นตะพัก ๔ ชั้น มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เขียนด้วยสีน้ำตาลเป็นลายรูปดอกไม้ร่วงแปดกลีบ เกสรเป็นลายไทย ภายในหอพระสูงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย แกนในของพระพุทธรูปทำด้วยดินเหนียวทาน้ำปูน ลักษณะพระวรกายอวบอ้วน กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔ ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฐานพระพุทธรูปตกแต่งด้วยลวดลายเขียนสีลายดอกโบตั๋นเคล้าภาพนก กระรอก ศิลปะจีนผสมกับศิลปะไทย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในภายหลัง นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปหินทรายแดง พระพุทธรูปประทับยืน และเศียรพระพุทธรูป ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานหอพระสูง (พระวิหารสูง) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖๓ หน้า ๑๒๐๖ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๒๔ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๗๙ ตารางวา
Ho Phra Sung (Phra Viharn Sung)
Hor Phra Sung or Phra Viharn Sung is located at Klang Sub-district, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. This monument is on the large mound outside of the northern city wall. There’re many folklore about Ho Phra Sung. For example, belief that the large mound was made of soil from the canal in front of the city to place cannons to intercept the Burmese’s army in Burmese – Siamese war 1785 and the belief that this is the place where King Taksin the Great was cremated. This mound was abandoned until 1834 Chao Phraya Nakhon (Noi) ordered to build the Buddha image and Viharn for enshrined a Buddha image on the mound called “Ho Phra Sung” to encourage the people.
Ho Phra Sung is a Thai style building in rectangular shape. It was built with bricks and lime. The size of the building is 5.90 metres wide, 13.20 metres long and 3.50 metres high. The building faces east. The roof was made of wood and terracotta roof tiles. In each side of the wall, there’s a rectangular clerestory window. The base made of bricks and has four tiers. There was a steps in front of the building. Inside the shrine, the walls were decorated with mural paintings of eight-petals falling flowers that were drawn in brown and pollens were drawn in Thai style drawing. The base of the Buddha image, which was decorated with peony, bird and squirrel in Chinese and Thai arts. The Buddha image was made of clay, covered with stucco, lacquered and gilded with gold leafs. The Buddha image has corpulent body, in the attitude of Subduing Mara, sitting cross-legs with one top of another, dating between the 18th and 19th century, during the late Ayutthaya period to early Rattanakosin period. In addition, the red sandstone Buddha image, the standing Buddha image and the head of Buddha image which were found here are now kept at the Nakhon Si Thammarat National Museum.
The Fine Arts Department announced the registration of Ho Phra Sung as a national monument and 2,716 squares - metres of national monument area in the Royal Gazette, Volume 98, Part 63, page 1206, dated 28th April 1981.
ทีมนักโบราณคดีได้ทำการวิเคราะห์แนวโบราณถสถานในพื้นที่ขุดค้นระยะที่ 4 เรียบร้อยแล้ว พบแนวโบราณสถานทั้งสิ้น 11 แนว ที่สำคัญเช่นแนวฉนวนทางเดินอิฐ ที่มีความยาวหลายเมตร ฐานรากอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมจำนวน 4 หลัง แนวขอบพื้นปูศิลาด้านข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ บางแนวมีอายุเก่าไปถึงสมัยรัชกาลที่ 4 การขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ถือเป็นมิติการค้นพบครั้งใหม่และกุญเเจสำคัญ ที่ช่วยตอบคำถามการใช้พื้นที่และตำแหน่งสิ่งปลูกสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล บริเวณเขตพระราชฐานชั้นกลาง (หมู่พระมณเฑียร และที่ออกว่าราชการของพระอุปราช) ในช่วงก่อนการยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่ามีหลักฐานในอดีตหลงเหลือน้อยอย่างยิ่งข้อมูลจาก https://www.facebook.com/WangnaArchaeologicalProject2012
วันพุธที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ เข้าร่วมการประชุมแนวทางการพัฒนา โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบที่วัดพระนารายณ์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยมีนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในการประชุม
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 7 เชียงใหม่ และนายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจสอบวัดร้าง ในพื้นที่ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันอังคารที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วย นายชำนาญ กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน และนางสาวสุภาวดี อินทรประเสริฐ นักโบราณคดีชำนาญการ ลงพื้นที่ตรวจโบราณสถานเมืองเสมา และวัดพระนอนเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา