ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

อันตรคาถาในพระธรรมปทัฏฐกถา. พระนคร : โรงพิมพ์พานิชศุภผล, 2469.               อันตรคาถาในพระธรรมปทัฏฐกถา นี้ เป็นหนังสือคู่กับหนังสือธรรมสมบัติ หมวด 12 ของพระธรรมปาโมกข์ แจ่ม มีเนื้อหาของคาถาสำหรับเรื่องที่พระศาสดาทรงปรารภ







ชื่อเรื่อง : เวียงท่ากาน 1 ผู้แต่ง : กองโบราณคดี กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2534 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์


เอกสารจดหมายเหตุ กับการสำรวจทางโบราณคดีใต้น้ำ : กรณี"เรือล่มที่เกาะมัน"   เอกสารจดหมายเหตุ เป็นเอกสารสำคัญระดับปฐมภูมิ ที่น่าเชื่อถือได้จนสามารถใช้เป็นหลักฐานในฐานะ"พยาน"ได้เป็นอย่างดี   ใน พ.ศ.2546 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ได้รับมอบเอกสารสำคัญ พร้อมกับกรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารโบราณสถาน"ศาลารัฐบาลมณฑลจันทบุรี"จากจังหวัดจันทบุรี ให้เป็นสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี   เอกสารสำคัญดังกล่าวจำนวนกว่าล้านหน้าได้รับการประเมินตามมาตรฐานงานจดหมายเหตุแล้วมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์สมควรได้รับการคัดเลือกเป็น"เอกสารจดหมายเหตุ" อายุของเอกสารชุดนี้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.2449 ถึง พ.ศ.2522   ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานต่อเนื่องกัน ดังนั้นเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์จึงได้รับการบันทึกไว้ ยกตัวอย่างเอกสารเรื่อง"เรือล่มที่เกาะมัน" เป็นเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับแหล่งขุดค้นใต้น้ำของกองโบราณคดีใต้น้ำ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า เพราะเกี่ยวข้องกับเรือเมล์ที่จมอยู่บริเวณหน้าเกาะมันนอก*จังหวัดระยอง   จากเอกสารจดหมายเหตุระบุว่า ใน พ.ศ.2464 มีเรือกลไฟของบริษัทฝรั่งเศสชื่อ "แฟรนซิสกาเนียร์" หรือมีชื่อเรียกของลูกเรือว่า"เรือสิงห์โตเฮง /ชิงตงเฮง/โมโฮ"ซึ่งเป็นเรือเมล์บรรทุกคนและสินค้า ขึ้นล่องทางชายทะเลตะวันออก ระหว่างกรุงเทพฯถึงเกาะกง(เมืองปัจจันตคีรีเขตต์)เขตแดนของฝรั่งเศส   ระหว่างขากลับถึงบริเวณเกาะมัน จังหวัดระยอง เกิดพายุและคลื่นใหญ่ในทะเล ผู้ประสบภัย(พ่อครัวทำอาหารบนเรือ)เล่าว่า...เรือเมล์เที่ยวนี้เพียบมากกว่าทุกเที่ยว ...มีสินค้าเยอะมาก...บรรทุกอ้อยถึง4,000 ลำ...เรือเมล์แล่นพ้นจากเขาแหลมสิงห์ก็ถูกคลื่นและพายุบ้าง...เรือก็ตะแคงซ้ายมือบ้างแล้ว แต่ยังแล่นได้ต่อ... ...ห่างไกลจากเขาแหลมสิงห์มาก ที่ตรงนั้นจะเรียกว่าอะไรนั้นไม่รู้จักให้เกิดพายุจัดคลื่นใหญ่ เรือได้ตะแคง...   ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้สั่งการให้นายอำเภอแหลมสิงห์ สอบสวนเหตุการณ์ที่เรืออับปาง มีรายงานว่า...เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2464 เรือแฟรนซิสกาเนียร์ ได้ออกจากปากน้ำจันทบุรี เวลาประมาณเที่ยงคืน ครั้นเวลา 2 ก.ท.(ตี 2 :ผู้เขียน)เรือจมเพราะเหตุบรรทุกสินค้าเพียบ เมื่อเรือเดินไปถึงหน้าเกาะมันได้ถูกคลื่นแลลมจัด น้ำเข้าตอนท้ายไม่สามารถจะสูบเอาน้ำออกให้หมดได้ เรือจึงอับปางลงในเวลาประมาณ 40 นาที ไม่ได้โดนโสโครกอย่างใด... ซึ่งตรงกับคำให้การของพยานหลายคนที่รอดตายได้ให้ปากคำกับตำรวจที่ดำเนินการสอบสวนในเรื่องนี้   จากเหตุการณ์เรือล่มในครั้งนี้ มีผู้โดยสารมากับเรือประมาณ 55 คน พบผู้ที่พ้นภัยแห่งเรืออับปาง 20 คน... ...เมื่อเวลาผ่านไปเป็นร้อยปี กระแสข่าวลือเรื่องเรือลำนี้จากปากของชาวบ้านระแวกนั้นกลายเป็น"เรือผีสิง"และขอให้กองโบราณคดีใต้น้ำไปช่วยตรวจสอบ   จึงเป็นที่มาของการสืบเสาะหาข้อเท็จจริงจากเอกสารจดหมายเหตุของนักโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการกู้คืนของเรือดังกล่าวเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป   ส่วนข้อสันนิษฐานถึงขนาดของเรือ ไม่มีระบุในเอกสาร และไม่มีรูปภาพ แต่เรือลำนี้เฉพาะกัปตันและคนงานที่อยู่เรือมีถึง 33 คน   ******************* *เกาะมัน มี 3 เกาะ ได้แก่ เกาะมันนอก เกาะมันใน และเกาะมันกลาง   ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี   เอกสารอ้างอิง -หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี.(13)มท2.3.1/145 เอกสารกระทรวงมหาดไทยชุดมณฑลจันทบุรี.เรื่องเรือล่มที่เกาะมัน จังหวัดระยอง(พ.ศ2464) -หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี.(13)มท2.3.1/146 เอกสารกระทรวงมหาดไทยชุดมณฑลจันทบุรี.เรื่องเรือเมล์แฟรนซีศกาเบียร์ของบริษัทฝรั่งเศสล่มที่น่าเกาะมัน เขตร์จังหวัดระยอง(พ.ศ2464)



ผู้แต่ง : ลิลิตตำรานพรัตน์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิญ หังสสูต)               หนังสือตำรานพรัตน์นี้ เป็นตำราแก้ว 9 ประการ ประกอบด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย แสดงกำเนิดและลักษณะของนพรัตน์ ลักษณะบางประการอันให้คุณและโทษแก่เจ้าของตามคติซึ่งเชื่อกันมาแต่โบราณ และกล่าวกันถึงค่าของรันตเหล่านี้ด้วย


          เหรียญกษาปณ์โรมัน “จักรพรรดิวิคโตรินุส” พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           เหรียญทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปจักรพรรดิซีซาร์ มาร์คุส พิอาโวนิอุส วิกโตรินุส (Emperor Caesar Marcus Piavonius Victorinus) เห็นพระพักตร์ด้านขวาของพระองค์ ทรงมงกุฎ และเสื้อเกราะ มีตัวอักษรภาษาละตินล้อมรอบอยู่ริมขอบเหรียญว่า “IMP C VICTORINVS P F AVG ย่อมาจาก Imperator Caesar Victorinus Pius Felix Augustus แปลว่า จักรพรรดิซีซาร์ วิคโตรินุส ศรัทธา ความสุข ด้านหลังเป็นรูปเทพีซาลัส (Salus) เทพีแห่งสุขภาพและความสุขของยุคโรมัน ทรงสวมชุดแบบโรมันที่เรียกว่า ชุดสโทลา (Stola) และคลุมผ้า ที่เรียกว่า ปัลลา (Palla) ผินพระพักตร์ไปทางซ้าย ทรงป้อนอาหารงูของเทพแอสคูราปิอุส (Aesculapius) ผู้เป็นพระบิดาและเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาโรค ทรงจับงูด้วยพระหัตถ์ขวา และถือชามใส่อาหารด้วยพระหัตถ์ซ้าย มีตัวอักษรภาษาละติน ล้อมรอบรูปเทพีซาลัส โดยรอบเหรียญว่า SALVS AVG ซึ่งนักวิชาการต่างประเทศตีความว่าเป็นคำย่อมาจาก Salus Augusti แปลว่า “Health of the Emperor”           จักรพรรดิวิคโตรินุส ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกัลลิค (The Gallic Empire or The Gallic Roman Empire) ซึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโรมันในระหว่างปี พ.ศ. ๘๐๓ – ๘๑๗ ทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๔ สันนิษฐานว่าเหรียญนี้ผลิตขึ้นที่โรงกษาปณ์ในเมืองโคโลญจ์ ประเทศเยอรมัน ราว พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๓ (ประมาณ ๑,๗๕๐ ปีมาแล้ว)           ทั้งนี้เหรียญกษาปณ์โรมันรูปจักรพรรดิวิคโตรินุสนี้ ไม่ได้พบจากการขุดค้นทางโบราณคดี โดยผู้มอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง แจ้งว่า พบจากเมืองโบราณอู่ทอง ทำให้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า เหรียญดังกล่าวอาจเป็นของที่นำเข้ามาในสมัยหลัง โดยพ่อค้าชาวยุโรป สมัยอยุธยา แต่หากเหรียญที่พบถูกนำเข้ามาตั้งแต่ช่วงเวลาที่มีการผลิตขึ้นใช้ คือ ระหว่างปี พ.ศ. ๘๑๒ – ๘๑๓ ก็ถือเป็นหลักฐานสำคัญ ที่แสดงว่าพื้นที่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่อยู่ไกลออกไปทางตะวันตก โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมัน ศูนย์กลางสำคัญของโลกยุคโบราณ โดยตรงหรือผ่านพ่อค้าชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่นอินเดีย และเปอร์เชีย มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ หรือกว่า ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว .............................................................................ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง............................................................................เอกสารอ้างอิงคริสเตียน ลองเดส. “เหรียญโรมันพบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. ศิลปากร ปีที่ ๓๖ เล่ม ๑, ๒๕๒๕ อ้างถึงใน อรุณศักดิ์ กิ่งมณี และคณะ. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. อมรา ศรีสุชาติ. (๒๕๖๐). “ปฐมบทแห่งการศึกษาค้นคว้าเรื่องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมบนเส้นทางการค้าทางทะเล”. ใน เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “สุวรรณภูมิ : การเชื่อมโยงการค้าโลก”. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. Nick Wells. Victorinus [Online], 1 September 2020. Available from www.academia. edu/2091876/Victorinus Seth William Stevenson, Frederic W. Madden, C. Roach Smith. A dictionary of Roman coins, Republican and Imperial [Online], 1 September 2020. Available from archive. org/details/dictionaryofroma00stev/mode/2up How to identify roman coins [Online], 1 September 2020. Available from www.all-your-coins. com/en/blog/antique/romaines/comment-identifier-les-monnaies-romaines




          กำแพงเพชรเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งปรากฏชุมชนโบราณที่มีการสร้างคูน้ำคันดิน และโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในสมัยทวารวดี โดยจากการดำเนินงานทางโบราณคดีพบเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ๒ แห่ง ได้แก่ เมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณบ้านคลองเมือง           เมืองไตรตรึงษ์ บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง และเป็นเส้นทางคมนาคมในอดีตระหว่างหัวเมืองภาคเหนือกับชุมชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมมุมมน ขนาดกว้าง ๘๐๐ เมตร ยาว ๘๔๐ เมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำคันดิน ๓ ชั้น จากการขุดค้นภายในเมืองพบหลักฐานโบราณวัตถุที่มีอายุร่วมสมัยในสมัยทวารวดี อาทิ ตะกรันจากการถลุงโลหะ ลูกปัด ตะเกียงดินเผา ฯลฯ           เมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนสำคัญบนแม่น้ำปิงสืบเนื่องถึงสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๑) เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าระหว่างตะวันออกไปยังตะวันตก และจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือ ได้พบหลักฐานที่สำคัญ คือ โบราณสถานสถาปัตยกรรมสุโขทัยบริเวณกลางเมือง เช่น เจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูม (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) วัดเจดีย์เจ็ดยอด เจดีย์ทรงระฆัง วัดพระปรางค์ เป็นต้น           เมืองโบราณบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร เป็นชุมชนโบราณร่วมวัฒนธรรมทวารวดีอีกแห่งหนึ่งในกำแพงเพชร ลักษณะผังเมืองมีรูปทรงไม่แน่นอนล้อมรอบด้วยคูน้ำคันดินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๕๐ – ๔๐๐ เมตร ภายในเมืองพบโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ ขวานหินขัดแบบมีบ่า ตะกรันจากการถลุงโลหะ แวดินเผา ฯลฯ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานการอยู่อาศัยในช่วงสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๓) เช่น ฐานเจดีย์อิฐ ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบสุโขทัย (เครื่องสังคโลก) ชนิดเคลือบและไม่เคลือบ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พุทธศตวรรษที่ ๒๒) เป็นต้น -------------------------------------------ที่มาของข้อมูล: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร -------------------------------------------บรรณานุกรม ศิลปากร, กรม. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๗.


จากสาเหตุการย้ายศูนย์กลางเมืองเนื่องจากภาวะน้ำท่วมนั้น แม้จะไม่ได้ทำให้เวียงกุมกามล่มสลาย หากแต่เป็นการลดบทบาทของการเป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองของเวียงกุมกามลงภายหลังการย้ายเมืองหลวงไปจากเวียงกุมกาม เวียงกุมกามยังคงมีการตั้งถิ่นฐานอย่างเดิม หากแต่คงบทบาทเพียงเป็นเมืองบริวารที่ทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ให้กับเมืองเชียงใหม่ตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาให้กับอาณาจักร และสถานที่พักผ่อนของบรมวงศานุวงศ์ดังนั้นจึงอาจสันนิษฐานได้ว่าน้ำท่วมเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ร่วมกับปัจจัยในการที่จะทำให้เวียงกุมกามล่มสลาย กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เวียงกุมกามล่มสลายเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน การทิ้งร้างไปของเมืองไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ณ ช่วงเวลาหนึ่งหากแต่ใช้ระยะยาวนานก่อนที่เมืองจะถูกทิ้งร้างไป         ปัจจัยประการแรก คือ การเปลี่ยนแปลงอำนาจบทบาทและฐานะของเมืองเป็นเพียงเมืองหน้าด่านของเชียงใหม่และในที่สุดเป็นเพียงชุมชนชานเมืองหลวงเพื่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา          ประการต่อมา คือการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของแม่น้ำปิง ทำให้เวียงกุมกามไม่มีศักยภาพทางการสัญจรและการค้าเพียงพอที่จะยังคงฐานะความสำคัญอีกต่อไป เนื่องด้วยแม่น้ำปิงไหลผ่านที่ราบโล่งซึ่งลาดต่ำ ส่งผลให้น้ำปิงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินได้ ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่กล่าวว่าแม่น้ำปิงเคยเปลี่ยนทางเดินอย่างน้อย ๓ ครั้งด้วยกัน          ประการสุดท้าย คือ ภัยจากสงคราม ที่เวียงกุมกามมักถูกโจมตีและมีการตั้งทัพของกลุ่มผู้รุกราน มีการกวาดต้อนคนล้านนาไปเป็นเชลยที่เมืองพม่า ตลอดจนการมีสงครามอย่างต่อเนื่องในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงทำให้เวียงกุมกามไม่มีเวลาที่จะฟื้นฟูสภาพบ้านเมืองและถูกทิ้งร้าง ผุพังไปตามกาลเวลา และภายหลังการทิ้งร้างของเมืองได้เกิดน้ำท่วมบนพื้นที่ของเวียงกุมกามหลายครั้งทำให้ เวียงกุมกามทั้งหมดถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินราว ๑.๕ - ๒.๐ เมตร  อ้างอิง : เมืองเชียงใหม่ ศิลปะ สถาปัตยกรรมและความเชื่อ โครงการรวบรวมผลงานวิชาการ ลำดับที่ ๑ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ชื่อเรื่อง                           เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ.                                  195/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 55.1 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


วัดนี้ปรากฏเรื่องราวในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ซึ่งนายเทียนเล่าทูลถวายว่าเขาได้อ่านในคัมภีร์ที่โดนไฟไหม้ไปแล้วว่าวัดนี้สร้างโดยพระนางพสุจเทวี ชายาพระร่วง และเป็นธิดาพระเจ้ากรุงจีน แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏของวัดนี้ แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอยุธยาแล้ว ได้แก่  - วิหาร ที่เป็นผนังทึบ เจาะช่องแสง - ลวดลายปูนปั้น ที่งามประณีต แสดงถึงฝีมือช่างชั้นครูในสมัยอยุธยา - เจดีย์ประธาน ทรงระฆังหรือทรงกลม ที่มีซุ้มพระ ๔ ทิศ - อุโบสถ ที่ตั้งอยู่ในแกนหลัก ลวดลายปูนปั้นที่ร่วมสมัยกันนั้น ได้แก่ ลายปูนปั้นบนผนังวิหารวัดยายตา ส่วนเจดีย์ทรงระฆังนั้น นอกจากจะมีซุ้มพระทั้ง ๔ ทิศแล้ว ที่ฐานยังเคยประดับช้างล้อมอีกด้วย ทางทิศตะวันตกของวัด คือ เขตสังฆาวาส หรือ หมู่กุฏิสงฆ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างจากไม้ ปัจจุบันจึงไม่เหลือร่องรอยปรากฏอยู่เลย นอกเขตแนวกำแพงรั้วแท่งสี่เหลี่ยมตั้งเป็นแนวชิดกัน เครดิตภาพ : คุณบัณฑิต ทองอร่าม


Messenger