ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

ชื่อวัตถุ โถใส่น้ำอบ ทะเบียน ๒๗/๔๖๗/๒๕๓๒ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ เครื่องเคลือบ ประวัติที่มา เป็นมรดกตกทอดมาจากยาย (นางถิน ประทีป ณ ถลาง) สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางภูเก็ต “โถใส่น้ำอบ” โถลายครามพร้อมฝา ส่วนปากและลำตัวของโถมีสีพื้นเป็นสีขาวและเขียนลายสีน้ำเงินใต้เคลือบ ฝาและลำตัวโถตกแต่งด้วยลายดอกไม้และลายก้านขน ลำตัวมีหู ๔ หู โถลายคราม เป็นที่นิยมในกลุ่มคนซึ่งอยู่อาศัยในแถบประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับคนพื้นพื้นเมืองว่า “บาบ๋า” “โถลายคราม”เป็นเครื่องถ้วยจีนซึ่งมีราคาที่ถูกกว่าเครื่องถ้วยลงยาสีบนเคลือบ เนื่องจากเครื่องถ้วยลายครามมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากมากเท่าเครื่องถ้วยแบบลงยาสีบนเคลือบ มีกรรมวิธีการผลิต คือ การขึ้นรูปเครื่องถ้วยและน้ำไปเผาครั้งแรก เรียกว่า “เผาดิบ” จากนั้นตกแต่งลวดลายด้วยการเขียนลายสีน้ำเงินโดยใช้ออกไซด์ของแร่โคบอลต์ แล้วจึงนำไปชุบน้ำเคลือบและเผาซ้ำอีกครั้ง ลวดลายที่นิยมตกแต่งบนตัวภาชนะ เช่น ลายผีเสื้อ แมลง และลายดอกไม้ ๔ ฤดู คือ ดอกเหมย ดอกโบตั๋น ดอกบัว และดอกเบญจมาส “โถลายคราม” ใบนี้เป็นมรดกตกทอดของนางถินประทีป ณ ถลาง ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ของภูเก็ต โถใบนี้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมของขาวภูเก็ตในอดีต ซึ่งนิยมนำเข้าเครื่องถ้วยจีนมาเก็บไว้ในบ้านเรือนของตน ซึ่งคงเป็นช่วงเวลาที่มีชาวจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่บนเกาะภูเก็ต ซึ่งตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) เอกสารอ้างอิง - ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และนิสิต มโนตั้งวนพันธุ์. “เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา,” วารสารนักบริหาร ๓๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓):, ๖๒– ๖๗.


วันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๙ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม







หนังสือเรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตนั้นรวมทั้งสิ้น 5 เรื่อง คือ1. ประเพณีทำบุญ2. ประเพณีเลี้ยงลูก3. ประเพณีบวชนาค4. ประเพณีแต่งงาน5. ประเพณีทำศพ




ชื่อเรื่อง : เจ้าเจ็ดตน กับ พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง และเมืองลำพูนไชย ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ



เลขทะเบียน : นพ.บ.53/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51.3 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 34 (344-352) ผูก 8หัวเรื่อง :  จตุกฺกนิบาต --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ชุดตรวจศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองบัญชาการกองทัพไทย (ศปม.บก.ทท.) ได้เข้าตรวจติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนคลาย การบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกัน ระงับยับยั้งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมและเน้นย้ำการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดต่อไป


ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 8 ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 388 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร  ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 8 เริ่มจากตอน หนุมานออกรบแต่ผู้เดียว หนุมานและองคตถวายกล่องดวงใจ พระรามแผลงศรต้องทศกัณฐ์ นางสีดาขอลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ งานพระเมรุทศกัณฐ์ พระรามยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตง นางมณโฑประสูติไพนาสุริยวงศ์ จนถึงตอนไพนาสุริยวงศ์คิดจะไปหาท้าวจักรวรรดิ


ว่าด้วย ตำรายาเกร็ด อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น แก้คางแข็ง, แก้สะอึก, แก้สเลด, แก้แสบทั้งตัว, แก้อีดำอีแดง, แก้มัว ฯลฯ


Messenger