ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,000 รายการ
นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน ลงพื้นที่ตรวจโบราณสถาน ระหว่างวันที่ ๑-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
- อุโบสถวัดศรีสุภณ ตำบลดอนตะหนิน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
- โนนกู่(บ้านเก่าน้อย) และใบเสมา ตำบลบ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
- สิมวัดอิสาณ ตำบลบ้านเพชร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
- ดอนแท่น ตำบลบ้านเพชร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
- สิมวัดบริบูรณ์ ตำบลโอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
- สิมวัดศรีสะอาด ตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
กรมศิลปากร จัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลองในโอกาสครบรอบ ๑๑๒ ปี
แห่งการสถาปนากรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๖๖
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา และหน่วยงานในสังกัด ได้นำเหรียญพระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ แบบ มาให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเช่าบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยทุกท่านสามารถเช่าบูชาได้ที่
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
* เหรียญบรอนซ์นอกขัดเงา บูชาเหรียญละ ๑๙๙.-บาท
* เหรียญโลหะสัมฤทธิ์ขัดเงา บูชาเหรียญละ ๑๙๙.-บาท
* เหรียญทองแดงรมซาติน บูชาเหรียญละ ๑๙๙.-บาท
การดำเนินงานปรับระดับพื้นภายในและจัดเรียงเสริมศิลาแลง บริเวณฐานปราสาทประธานปรางค์กู่ชัยภูมิ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ ๒๑-๒๓ มกราคม ๒๕๖๗
- ดำเนินการวัดขนาดพื้นที่ ช่องว่างที่จะดำเนินการเสริมศิลาแลง
- ดำเนินการหาหินศิลาแลงให้ได้ขนาดที่ใกล้เคียงกับพื้นที่มากที่สุด (โดยใช้ศิลาแลงที่เหลือจากการบูรณะปรางค์กู่ชัยภูมิ เมื่อ ปี ๒๕๔๒)
- ดำเนินการสกัดศิลาแลงให้ได้ขนาดที่ลงตัวพอดีกับพื้นที่ว่างของฐานปราสาทประธาน
- ดำเนินการปรับระดับพื้นภายในปราสาทประธานปรางค์กู่ชัยภูมิ
- ดำเนินการนำศิลาแลงวางเรียงตามช่องว่าง
- บดอัดหินศิลาแลงให้ละเอียดบรรจุลงตามร่องระหว่างหินแต่ละก้อน แล้วเทน้ำเพื่ออัดแน่นหินศิลาแลงเพิ่มความมั่นคงให้ชั้นฐาน
นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านสื่อดิจิทัล ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2567โดยค้นหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Ebook) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.finearts.go.th/chiangmai.../categorie/dept-ebook
ทั้งนี้ หอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่ มีหนังสือดีที่น่าสนใจให้เลือกอ่านได้ตามความต้องการ 2 ประเภท คือ หนังสือหายากและหนังสือท้องถิ่น จำนวน 290 เล่ม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอ่าน Ebook แล้ว สามารถสแกน QR code หรือ คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ https://forms.gle/UjVhAZsC6LdkyJw19
วันที่ 23 - 27 มกราคม 2567 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค และงานบริการ ที่ห้องศาสตร์พระราชา ห้องกรมศิลปากรและหนังสือหายาก นางสาวทับทิม พันธ์จำปา และนางสาวศศิรินทร์ มีทรัพย์มั่น นักศึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ฝึกปฏิบัติงานเทคนิด และงานบริการ ระหว่างวันที่ 23 - 27 มกราคม 2567 โดยนางกรองแก้ว เปเหล่าดา บรรณารักษ์ชำนาญการ เป็นผู้ฝึกสอน การฝึกงาน ได้ฝึกปฏิบัติงานบริการห้องศาสตร์พระราชา ห้องกรมศิลปากรและหนังสือหายาก ฝึกปฏิบัติการจัดทำบรรณิทัศน์ และการจัดทำรายการบรรณานุกรมแนะนำหนังสือใหม่ จัดชั้นหนังสือแนะนำหน้าห้องศาสตร์พระราชา
วันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค และงานบริการ ที่ห้องโสตทัศนวัสดุ นางสาวทับทิม พันธ์จำปา และนางสาวศศิรินทร์ มีทรัพย์มั่น นักศึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ฝึกปฏิบัติงานเทคนิด และงานบริการ ห้องโสตทัศนวัสดุ ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยนายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ เป็นผู้ฝึกสอน การฝึกงาน ได้ฝึกปฏิบัติงานบริการ ห้องโสตทัศนวัสดุ ฝึกปฏิบัติการการลงทะเบียนสื่อโสตฯ การวิเคราะห์เลขหมู่ การทำบัตรรายการ
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๗พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "แว" ดินเผา โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "แว" ดินเผา จำนวน ๓ รายการ ซึ่งนายมนัส โอภากุล มอบให้เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๓ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับแว (spindle whorl) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย จากนั้นนำไปทอเป็นผืนผ้า ในประเทศไทยพบว่า มีการใช้แวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ แวมีลักษณะทรงวงกลมหรือทรงคล้ายกรวยตัดหรือรูปลูกคิด เจาะรู้ตรงกลาง ส่วนใหญ่ทำจากดินเผา โดยจะใช้เป็นตัวถ่วงน้ำหนักเส้นใย โดยมีเนื้อหานิทรรศการที่น่าสนใจ ประกอบด้วย ความหมายและที่มาของแว รูปทรงของแว หน้าที่และการใช้งานของแว แวที่พบจากดินเผาต่าง ๆ
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "แว" ดินเผา ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี