ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,999 รายการ
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะครู และน้อง ๆ นักเรียน โรงเรียนศาสนวิทยานุสรณ์ จังหวัดปัตตานี จำนวน 53 คน
วันพฤหัสบดีที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น.นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๑๕ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางสาวอภิญญา สุขใหญ่ พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันศุกร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ โรงเรียนบ้านสระทอง ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๘๗ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ นางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
แนวเพลงสตริงของไทยในสมัยก่อน เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง แต่จะมีที่มาจากเพลงเพลงป็อป และใช้เครื่องดนตรีประเภทสายเล่นประกอบเพลงเป็นหลัก แนวเพลงทั้งหมดจะได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
เพลงแดดออก ได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลง Banana Boat หรือ Day-O อัลบั้ม Calypso ซึ่งขับร้องโดย แฮรี เบลาฟอนเต (Harry Belafonte) ในปี ค.ศ. ๑๙๕๖ จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดแนวเพลงสตริงเพลงแรกๆ
เพลงแดดออกแต่งเนื้อร้องโดย ครูสุรพล โทณวณิก และขับร้องโดย มีศักดิ์ นาครัตน์ เป็นหนึ่งในวงดนตรีจากคณะสามศักดิ์ เป็นแนวเพลงที่สนุกสนานและได้รับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก
ในปัจจุบันเพลงสตริง มักจะบรรเลงโดยวงดนตรีสากลมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ รวมถึงคำศัพท์ที่ใช้จะเป็นภาษาที่นิยมในปัจจุบัน เพลงสตริงจึงเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละเวลา และแต่ละโอกาสเฉพาะนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเพลงสตริงเป็นไปตามกระแสที่นิยมอย่างรวดเร็ว…
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
บริษัท เอ็มจีเอ จำกัด. อะไรจะขะไหนหนาด. [เทปคาสเซ็ท]. กรุงเทพฯ : ห้องอัดเสียงทอง, ๒๕๓๒.
มีศักดิ์ นาครัตน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://th-th.facebook.com/MeeSakNakaRat/
Harry Belafonte. Banana Boat (Day-O). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=DYYkJ0kwNss, ๒๕๕๙,
Harry Belafonte Television and Video Archive. Harry Belafonte - Day-O (The Banana Boat Song) (Live). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=H5dpBWlRANE, ๒๕๖๔.
เพลงครูสุรพล โทณะวณิก. แดดออก - มีศักดิ์ นาครัตน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=pA00x98Ls_Y , ๒๕๖๒.
แนวเพลงสตริงของไทยในสมัยก่อน เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง แต่จะมีที่มาจากเพลงเพลงป็อป และใช้เครื่องดนตรีประเภทสายเล่นประกอบเพลงเป็นหลัก แนวเพลงทั้งหมดจะได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
เพลงแดดออก ได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลง Banana Boat หรือ Day-O อัลบั้ม Calypso ซึ่งขับร้องโดย แฮรี เบลาฟอนเต (Harry Belafonte) ในปี ค.ศ. ๑๙๕๖ จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดแนวเพลงสตริงเพลงแรกๆ
เพลงแดดออกแต่งเนื้อร้องโดย ครูสุรพล โทณวณิก และขับร้องโดย มีศักดิ์ นาครัตน์ เป็นหนึ่งในวงดนตรีจากคณะสามศักดิ์ เป็นแนวเพลงที่สนุกสนานและได้รับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก
ในปัจจุบันเพลงสตริง มักจะบรรเลงโดยวงดนตรีสากลมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ รวมถึงคำศัพท์ที่ใช้จะเป็นภาษาที่นิยมในปัจจุบัน เพลงสตริงจึงเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละเวลา และแต่ละโอกาสเฉพาะนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเพลงสตริงเป็นไปตามกระแสที่นิยมอย่างรวดเร็ว…
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
บริษัท เอ็มจีเอ จำกัด. อะไรจะขะไหนหนาด. [เทปคาสเซ็ท]. กรุงเทพฯ : ห้องอัดเสียงทอง, ๒๕๓๒.
มีศักดิ์ นาครัตน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://th-th.facebook.com/MeeSakNakaRat/
Harry Belafonte. Banana Boat (Day-O). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=DYYkJ0kwNss, ๒๕๕๙,
Harry Belafonte Television and Video Archive. Harry Belafonte - Day-O (The Banana Boat Song) (Live). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=H5dpBWlRANE, ๒๕๖๔.
เพลงครูสุรพล โทณะวณิก. แดดออก - มีศักดิ์ นาครัตน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=pA00x98Ls_Y , ๒๕๖๒.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดรับสมัครอบรมศิลปะภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 41 ประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2567 โดยกำหนดจัดอบรมศิลปะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ใน 4 ทักษะ ได้แก่ การวาดการ์ตูน การสร้างงานประติมากรรม การวาดสีน้ำ และการวาดเส้น มีระยะเวลาอบรม ระหว่างวันที่ 17 – 28 เมษายน 2 567 (วันพุธ - วันอาทิตย์, หยุดวันจันทร์ – วันอังคาร)
คอร์สเรียนสำหรับเด็ก ระดับชั้น ป.1 - ป.3 (รับจำนวน 20 คน/ คอร์ส)
- Cartoon & Comics ทักษะการวาดการ์ตูน (รอบเช้า 09.00 – 12.00 น.) โดย ครูจิว ดินหิน รักพงษ์อโศก
- Art & Creative Cartoon ศิลปะและการวาดการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ (รอบบ่าย 13.00 – 16.00) โดย ครูกอล์ฟ สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ
คอร์สเรียนสำหรับเด็ก ระดับชั้น ป.4 - ป.6 (รับจำนวน 20 คน/ คอร์ส)
- Sculpting for Beginners การสร้างงานประติมากรรมจากรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน (รอบเช้า 09.00 – 12.00 น.)
โดย ครูชิน ภาสกร ดงอำมาตย์
- Art & Creative Cartoon ศิลปะและการวาดการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ (รอบเช้า 09.00 – 12.00 น.)
โดย ครูลี่ ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร
- Watercolor for kids ทักษะการวาดสีน้ำ (รอบบ่าย 13.00 – 16.00) โดย ครูเล็ก ณรงค์เดช ศุขสายชล
- Art & Creative Cartoon ศิลปะและการวาดการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ (รอบบ่าย 13.00 – 16.00) โดย ครูเบศร์ ภูเบศร์ สินอำพล
คอร์สเรียนสำหรับระดับชั้น ม.1 – บุคคลทั่วไป (รับจำนวน 20 คน/ คอร์ส)
- Drawing ทักษะการวาดลายเส้น (รอบเช้า 09.00 – 12.00 น.) โดย ครูบี อัจจิมา เจริญจิตร
- Watercolor ทักษะการวาดสีน้ำ (รอบบ่าย 13.00 – 16.00) โดย ครูเก๋ พัชรินทร์ อนวัชประยูร
การรับสมัคร
สมัครและชำระค่าลงทะเบียนได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (*ไม่รับโอนเงิน ไม่รับสมัคร หรือรับจองทางออนไลน์ใดๆ ทั้งสิ้น)
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร
1. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เข้ารับการอบรม
3. ค่าลงทะเบียนคนละ 1,900 บาท ต่อคอร์ส (รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมแล้ว)
ทั้งนี้ แนะนำให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่สนใจตรวจสอบตารางเรียนให้ดีก่อนทำการสมัคร หากยืนยันการสมัครแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคอร์สเรียนได้ และขอสงวนสิทธิ์การคืนเงินทุกกรณี** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายวิชาการ โทร. 02 282 8525 หรือทาง Facebook: The National Gallery of Thailand
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรดำเนินโครงการส่งเสริม Soft Power ด้านการท่องเที่ยว ในมิติทางวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโบราณสถาน ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดกิจกรรม “ศิลปากรสัญจร” ครั้งที่ 1 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการตอบรับที่ดี จึงจัดกิจกรรมศิลปากรสัญจร ต่อเนื่อง ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” เชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำเข้าสมทบกองทุนโบราณคดีเพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2567 เยือนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๒ แห่ง ได้แก่ เมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เริ่มต้นด้วยการสักการะพระพุทธสิหิงค์ และชมห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทวารวดีและศิลปะอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จากนั้นเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ชมวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และแต่งชุดไทยชมวัดไชยวัฒนารามยามเย็น พร้อมชมการแสดงโขนสุดวิจิตรครั้งประวัติศาสตร์ โขนประกอบแสงสี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สัจจะพาลี โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต รุ่งเช้าร่วมกิจกรรมตักบาตร ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร และออกเดินทางไปจังหวัดเพชรบูรณ์ ชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย โดยมีวิทยากรมากประสบการณ์ รวมทั้งนักโบราณคดีที่ได้ทำงานในแต่ละพื้นที่เป็นมัคคุเทศก์ร่วมให้ความรู้และความเป็นมาของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ในราคา 5,800 บาท (รวมค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเข้าชม ชุดตักบาตรพระสงฆ์ และค่าบริการชุดไทย) รับจำนวนจำกัด 80 คนเท่านั้น
ผู้สนใจจองเข้าร่วมกิจกรรมศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาภรณ์ ปัญญารัมย์ โทร 0 2164 2501 - 2 ต่อ 6008 และ 6010 หรือ โทร. 09 2634 8583
พระพุทธสิหิงค์
ห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
วัดมหาธาตุ
วัดราชบูรณะ
วัดไชยวัฒนารามยามเย็น
การแสดงโขนประกอบแสงสี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สัจจะพาลี
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร
โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ลงพื้นที่ดำเนินงานติดตั้งป้ายคำบรรยายโบราณวัตถุ (จำนวน ๑๘ ป้าย) พร้อมทั้งทดลองต่อประกอบโบราณวัตถุ (ใบเสมา) ณ อุโบสถเก่าวัดโพธิ์ย้อย อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และน้อง ๆ นักศึกษา วิทยาลัยชุมชนสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 11 คน
วันเสาร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักศึกษาชั้นปีที่ ๓-๔ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๗๐ รูป เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม