ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ

สาระสังเขป               : บันทึกการจาริกไปอินเดีย-ลังกา ภาคที่สอง ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน-วันที่ 30 เมษายน 2508ผู้แต่ง                       : พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร)โรงพิมพ์                   : มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                   : 2509ภาษา                       : ไทยรูปแบบ                     : PDFเลขทะเบียน              : น. 32 บ. 4835 จบเลขหมู่                     :  915.4                                  พ 328 จ


เตาเผาสังคโลกเป็นอย่างไร? เตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกที่พบจากเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิดคือ เตาประทุน เป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวนอน ลักษณะเตามีรูปร่างรี พื้นเรียบแบน ก่อหลังคาโค้งบรรจบกันคล้ายประทุนเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อ “เตาประทุน” มักวางตัวลาดเอียงจากส่วนหน้าขึ้นไปยังส่วนท้ายประมาณ ๑๐ - ๓๐ องศา ส่วนประกอบของเตาประทุนแบ่งเป็น ห้องใส่ไฟ อยู่ส่วนหน้าในระดับต่ำที่สุด ตอนหน้ามีช่องใส่ไฟเจาะเป็นช่องโค้งรูปเกือกม้า ถัดมาเป็น ห้องบรรจุภาชนะ อยู่บริเวณตอนกลางเตา เป็นส่วนที่กว้างที่สุดและลาดเทจากส่วนหน้าเตาไปยังปล่องไฟ บนพื้นมักโรยทรายหนาประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร เพื่อใช้ฝังกี๋ท่อสำหรับรองรับภาชนะ และ ปล่องไฟ เป็นส่วนสุดท้ายของเตามีรูปร่างกลม ส่วนเตาตะกรับเป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวดิ่ง ลักษณะเตามีรูปร่างกลม ส่วนประกอบของเตาตะกรับมีอยู่ ๒ ส่วนคือ ห้องบรรจุภาชนะ อยู่ตอนบนสุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เมตร ใช้วางภาชนะที่จะเผาแล้วใช้เศษภาชนะดินเผาวางสุมทับด้านบนอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ความร้อนไหลผ่านกลุ่มภาชนะได้ช้าลงและ ห้องใส่ไฟ เป็นบริเวณใส่เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นสู่ด้านบนมักมีช่องใส่เชื้อเพลิงยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อใส่เชื้อเพลิงได้สะดวกและกันความร้อนในเตาให้ไหลสู่ด้านบนได้มากขึ้น ระหว่างห้องบรรจุภาชนะและปล่องไฟจะมีแผ่นดินเหนียวกลมหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ - ๑๐ เซนติเมตร จำนวนมากคั่นอยู่ เรียกว่า “แผ่นตะกรับ” ทำหน้าที่ให้ความร้อนไหลผ่านจากด้านล่างสู่ห้องบรรจุภาชนะด้านบนมักวางอยู่บนค้ำยันที่ทำจากดินเหนียวอยู่เบื้องล่างภายในพื้นที่ห้องใส่ไฟ เตาเผาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


เลขทะเบียน : นพ.บ.27/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.7 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 14 (152-160) ผูก 3หัวเรื่อง : ธมฺมปาลชาตก (ธรรมบาล) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.46/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 28 (282-294) ผูก 13หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          เรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง โดยการประกอบเครื่องไม้เป็นส่วน ๆ เช่น ทำฝา ทำหน้าจั่วให้เสร็จก่อน แล้วจึงเตรียมโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เช่น เสา รอด พื้น โครงหลังคา เสร็จแล้วจึงนำส่วนประกอบทั้งหมดเหล่านั้นมาประกอบกันเป็นเรือน .          เรือนเครื่องสับ หรือเรือนหลังคาจั่ว เป็นเรือนใต้ถุนสูง พื้นยกสูงจนเดินรอดได้ ใช้เป็นที่พักผ่อน หรือเลี้ยงสัตว์ เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ฝาเรือนเป็นไม้จริง ส่วนมากเป็นไม้สัก ทำเป็นแผง มีหลายแบบ เช่น ฝาปะกน หรือฝาปะกนลูกฟัก ฝาสำหรวด ฝามักสอบเข้าเล็กน้อย หน้าต่างเปิดเข้าด้านใน หลังคาจั่วลาดชัน มุงด้วยจาก กระเบื้อง หรือสังกะสี มีไม้ปิดเครื่องมุงด้านสกัดเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียก “ป้านลม” (ปั้นลม)           เรือนเครื่องสับมีทั้งแบบที่สร้างเป็นเรือนเดี่ยว ประกอบด้วยเรือนนอน ครัว ระเบียง และชาน หรือสร้างเป็นเรือนหมู่ มีเรือนนอนมากกว่าหนึ่งหลัง มีชานเชื่อมถึงกัน มีเรือนครัว หอนั่ง หรือหอนก เรือนหมู่ เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขยาย หรือเรือนคหบดี หรือผู้มีฐานะทางสังคมสูง          ปัจจุบัน เรือนไทยภาคกลางแบบดั้งเดิมเหลือน้อย แม้มีการสร้างเรือนไทยสำหรับผู้ต้องการสร้างบ้านใหม่ในสมัยปัจจุบัน แต่รูปแบบนั้นเปลี่ยนไปจากแบบแผนเดิม ภาพจาก รูปตัด เรือนทับขวัญ ที่มา ศาสตราจารย์ น.อ. สมภพ ภิรมย์ ร.น.,ราชบัณฑิต, ๒๕๓๘ *หมายเหตุ ภาพจากการ scan จากหนังสือตัวอักษรจึงไม่ชัด ผู้เรียบเรียงจึงได้เขียนด้วยลายมือทับเพื่อความชัดเจนของตัวอักษร สรุปและเรียบเรียง : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ที่มาข้อมูล : รวบรวม เรียบเรียง และสรุปจาก - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน” หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 1 พ.ค. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum


องค์ความรู้ เรื่อง สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี ตอนที่ ๕ โบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณอู่ทอง : เจดีย์หมายเลข ๙ จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง



โคมคำ.  อาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9  เหรียญทรงผนวช 2508 มงคลรำลึก-วัดบวรนิเวศ.  มติชนสุดสัปดาห์. 37 , (1889) :70 ;28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน  2559.                 ภายในเล่ม เป็นห้วงแห่งโศกาดรูฯ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมถวายความอาลัยต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ   ผู้เขียนจึงได้นำเสนอเหรียญแห่งประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 9 เหรียญล้ำค่าประจำรัชกาล ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช นั่งขัดสมาธิ ด้านบนพระบรมรูปเขียนคำว่า " ทรงผนวช 2499 "ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระมหาเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "เสด็จฯสมโภชพระเจดีย์ทองวัดบวรนิเวศ 29 สิงห์ 2508 "  ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า "   ในมงคลสมัยพระชนมายุเสมอพระราชบิดา "   "เหรียญทรงผนวช "แยกได้เป็น 2 บล็อก คือ บร็อกธรรมดา (บร็อกปกติ) และบร็อกนิยม (มีรอยเว้าที่ขอบเหรียญตรงหูห่วง)  


วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา(ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานบูรณะเสริมความมั่นคงกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืออุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (งวดที่๑)ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา


นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.   สาส์นสมเด็จ (ภาค 5).  พระนคร : กรมศิลปากร, 2498.                  หนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาค 5 นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพเมื่อทรงวางจากภาระทางราชการการเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นี้ เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในหมู่นักศึกษา โบราณคดี ศิลปและวรรณคดี และการปกครอง สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ภาคนี้เป็น ภาค 5



ชื่อเรื่อง                     ไตรภูมิพระร่วง ของพระญาลิไทยพิมพ์ครั้งที่                  2ผู้แต่ง                        -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   พระพุทธศาสนาเลขหมู่                      294.3123 ต944ตลสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                    2507ลักษณะวัสดุ               344 หน้า หัวเรื่อง                     ไตรภูมิพระร่วงภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกไตรภูมิพระร่วงนี้ นับเป็นหนังสือเก่าครั้งกรุงสุโขทัย คาดว่าเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัย สุโขทัย ผู้ทรงพระนามว่า พระญาลิไทยได้แต่งขึ้นไว้เมื่อปีระกา ศักราชได้ 23 ปี ต้นฉบับหอพระสมุดวชิรญาณได้มาจากเมืองเพชรบุรี เป็นหนังสือ 10 ผูก เมื่ออตรวจดูเห็นได้ว่า หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่เข้าใจและที่เป็นศัพท์ อันเคยพบแต่ในศิลาจารึกครั้งสุโขทัยหลายศัพท์ น่าเชื่อว่าหนังสือไตรภูมินี้ ฉบับเดิมจะได้แต่งครั้งสุโขทัย


แบบฟอร์ม 2 การจัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการและระยะเวลาให้บริการรายกระบวนงาน กระบวนงานลำดับที่ .......... ชื่อกระบวนงาน......การบริการข้อมูล............................................... หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ.......กลุ่มโบราณคดี.. สำนักศิลปากรที่ ๑๒ ...นครราชสีมา..................................................... ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล...นายสมเดช ลีลามโนธรรม........    .................... หมายเลขโทรศัพท์.....๐๔๔-๔๗๑๕๑๘........................ จำนวนขั้นตอนให้บริการทั้งหมด.......................ขั้นตอน รอบระยะเวลามาตรฐานที่ให้บริการคือ…....วัน/ชั่วโมง/นาที ข้อมูลผู้รับบริการและระยะเวลาให้บริการจริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 (1) ลำดับที่ (2) ผู้รับบริการ   (3) เวลาเริ่มต้นให้บริการ (4) เวลาสิ้นสุดให้บริการ (5)= (4)-(3) ระยะเวลาให้บริการจริง (6) ผลเปรียบเทียบกับระยะเวลามาตรฐาน   นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ๕ ม.ค. ๕๗ ๑๐.๐๐ น. ๕ ม.ค.๕๗ ๑๐.๓๐ น. ๑ วัน บ้านเกาะ   นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ ๑๔.๐๐.น ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ ๑๔.๓๐.น ๑ วัน บ้านส่วย   นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗ ๑๓.๓๐ น. ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗ ๑๔.๐๐ น. ๑ วัน แสลงพัน   นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ๓ ก.พ. ๒๕๕๗ ๑๐.๐๐ น. ๓ ก.พ. ๒๕๕๗ ๑๑.๐๐ น. ๑ วัน วัดปรางทอง   นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ๑๒ ก.พ. ๕๗ ๙.๓๐ น ๑๒ ก.พ. ๕๗ ๑๐.๐๐ น. ๑ วัน ปราสาทพนมวัน   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ๒๘ ก.พ. ๕๗ ๑๓.๓๐ น. ๒๘ ก.พ. ๕๗ ๑๕.๐๐ น. ๑ วัน โบราณสถานในเขตอำเภอสูงเนิน                 หมายเหตุ คอลัมน์ (2)  ผู้รับบริการ หมายถึง ประชาชน หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน คอลัมน์ (6)  ให้กรอกผลการเปรียบเทียบระยะเวลาให้บริการจริงกับระยะเวลามาตรฐานด้วยตัวเลขดังนี้  1 แทน ผู้รับบริการได้รับบริการตามรอบระยะเวลามาตรฐาน  0 แทน  ผู้รับบริการได้รับบริการเกินกว่ารอบระยะเวลามาตรฐาน


ชื่อเรื่อง : ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1 ชื่อผู้แต่ง : สำนักนายกรัฐมนตรี ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี จำนวนหน้า : 207 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องราวที่มีปรากฏอยู่ในเอกสารและสถานที่ต่าง ๆ ในรูปแบบจดหมายเหตุ เช่น จดหมายเหตุว่าด้วยการเจริญทางพระราชไมตรี ทางการค้า ทางพระพุทธศาสนา ทางตำราราชเสวกราชประเพณี เป็นต้น และนำจดหมายเหตุเหล่านี้มาจัดพิมพ์ตามลำดับศักราชและรัชสมัย เริ่มตั้งแต่จดหมายเหตุที่จารึกไว้ ณ พระเจดีย์ศรีสองรัก จังหวัดเลย เป็นเรื่องราวระหว่างสมเด็จพระมหาจักพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยากับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุตกระทำสัตยสาบานเป็นราชพันธมิตรต่อกัน จนถึงเรื่องจดหมายเหตุการพระบรมศพ เป็นเรื่องสุดท้าย โดยหนังสือเล่มนี้พิมพ์จำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีของชาวไทยสมัยอยุธยา


อ่านหนังสือไทยเล่มปลายชั้นปีที่ 1


Messenger