ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ

คนก่อนประวัติศาสตร์เค้าปั่นด้ายกันยังไงเชิญพบกับผลงานของนางสาวปิยะภัทร ราชวัตรนักศึกษาฝึกสหกิจสาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนครพนม


นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากรจัดกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย “แต่งไทย ชมวัดไชยฯ ยามราตรี” เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการแต่งชุดไทยเที่ยวชมโบราณสถาน โดยเป็นภาพถ่ายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถ่ายทอดสาระ คุณค่า ความงามของการแต่งกายด้วยชุดไทยยุคต่างๆ ในพื้นที่โบราณสถานวัดไชยวัฒนารามยามค่ำคืน ซึ่งเป็นกิจกรรมในงาน "ราตรีนี้...ที่วัดไชยวัฒนาราม"   มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวนมาก และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร ได้พิจารณาตัดสินผลงานภาพถ่ายเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 มีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้  1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท ได้แก่ ภาพ "ท่องราตรี ที่วัดไชยวัฒนาราม งดงามดั่งมีมนต์ขลัง" โดย นางสาวจิรา ชุมศรี                 2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท ได้แก่ ภาพ "ราตรีศรีโสภา" โดย นายพรพรต สหกิจ                  3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท ได้แก่ ภาพ "พ.ศ. 2310" โดย นายนาวี ผาจันทร์                  4. รางวัลพิเศษภาพถ่ายวัยเกษียณสำราญ เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท ได้แก่ ภาพ "แสงเทียน ณ วัดไชย" โดย นางโสภา ทองอ่อน                  ผู้ได้รับรางวัลสามารถติดต่อเพื่อขอรับรางวัลได้ที่ สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3524 2501 และ 0 3524 2448


นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “กรมศิลปากร” เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ ตลอดระยะเวลา ๑๑๓ ปี กรมศิลปากรได้ทำหน้าที่ดูแล ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริม สืบทอด สร้างสรรค์ และเผยแพร่องค์ความรู้ในงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานนาฏศิลป์และดนตรี งานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ งานด้านภาษา เอกสาร และหนังสือ งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย รวมไปถึงงานสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมศิลปากร.ปัจจุบันกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานภาครัฐ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีที่ทำการของหน่วยงานส่วนกลางตั้งอยู่ที่อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ และยังมีหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ คือ สำนักการสังคีต ตั้งอยู่บริเวณถนนราชินี สำนักหอสมุดแห่งชาติและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณถนนสามเสน และสำนักช่างสิบหมู่ ตั้งอยู่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๕ จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังมีสำนักศิลปากรที่ ๑ - ๑๒ ดูแลในส่วนภูมิภาค





ชื่อเรื่อง                     ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ 2 หลักสูตรนักธรรมชั้นมัชฌิมะผู้แต่ง                       สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.3076 ว151ธสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์พระจันทรปีที่พิมพ์                    2472ลักษณะวัสดุ               150 หน้า หัวเรื่อง                     พระพุทธศาสนา – หัวข้อธรรมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกการเรียงลำดับธรรมในหมวดหนึ่งๆ ได้เรียงไว้ตามลำดับอักษรเป็นพื้น เว้นแต่ที่เนืองถึงกัน เช่น มรรค 4 ผล 4 ใช้เป็นหลักสูตรประโยคนักธรรมชั้นมัชฌิมะในศกนี้  


จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411.  พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช. พระนคร: โรงพิมพ์          โสภณพิพรรฒธนากร, 2475.พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานไปยังพระองค์เจ้าปัทมราช พระเจ้าลูกเธอในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ           ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ วันประสูติของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ            เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บุคคลสำคัญของโลกในฐานะ “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงบทความเรื่อง บันทึกเรื่องราวเสด็จประพาสต้น : จดหมายนายทรงอานุภาพ ร.ศ. 123 ขึ้นมา           บันทึกเรื่องราวเสด็จประพาสต้น : จดหมายนายทรงอานุภาพ ร.ศ. 123           จดหมายนายทรงอานุภาพ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นบันทึกเรื่องราวการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2447 หรือ ร.ศ. 123 ซึ่งการประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสภาพบ้านเมือง ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรอย่างใกล้ชิด ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ และประเทศชาติให้มีความก้าวหน้า ไม่ล้าหลัง ในช่วงเวลาที่ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังเผยแผ่ขยายอำนาจ ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องพยายามดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อป้องกันการคุกคามของชาติมหาอำนาจ และยกระดับการดำเนินชีวิตของราษฎรให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ เป็นประจำโดยเฉพาะหัวเมืองภาคใต้และหัวเมืองประเทศราชทางใต้ เพื่อตรวจราชการ สร้างความสนิทสนมกับข้าราชการท้องถิ่น และสร้างความจงรักภักดีให้เกิดกับพระองค์             ตามหลักฐานและเอกสารเรียกการประพาสครั้งนี้ว่า “การเสด็จประพาสต้น”ซึ่งวัตถุประสงค์การเสด็จนอกจากเสด็จเพื่อทอดพระเนตรสภาพบ้านเมืองและราษฎร  ก็เสด็จเพื่อเป็นการพักผ่อนพระราชอิริยาบถของพระองค์เองอีกด้วย ซึ่งการเสด็จประพาสครั้งนี้มีความพิเศษ คือ พระองค์เสด็จประพาสตามหัวเมืองอย่างสามัญชน โดยไม่โปรดให้มีท้องตราแจ้งต่อหัวเมืองเพื่อให้หัวเมืองเตรียมการรับเสด็จอย่างเป็นทางการ แต่ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน ปะปนไปกับราษฎร มิให้ผู้ใดรู้จักและทราบล่วงหน้าและทรงประทับค้างแรมที่ใดก็แล้วแต่พระราชประสงค์             การเสด็จประพาสต้นนั้นมีประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง และการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรได้อย่างมาก ซึ่งพระองค์ทรงโปรดการเสด็จประพาสในลักษณะนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเสด็จประพาสในลักษณะนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใกล้ชิด รับรู้ และเข้าใจสภาพสังคม ความทุกข์สุขในชีวิตประจำวันของราษฎรมากยิ่งกว่าการเสด็จประพาสแบบทางการแล้ว  ยังทรงสำราญพระราชอิริยาบถและมีพระพลานามัยดีขึ้นจากการเสด็จประพาสครั้งนี้ ตลอดจนได้เห็นการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในท้องถิ่นอย่างแท้จริงอีกด้วย            คำว่า “ประพาสต้น” นั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า มีที่มาจากชื่อเรือที่ทรงซื้อไว้ใช้ในกระบวนเสด็จประพาส เนื่องด้วยเส้นทางการเสด็จประพาสส่วนใหญ่เป็นการเสด็จประพาสทางแม่น้ำ ลำคลองเป็นหลัก โดยในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาดประทุน 4 แจวลำหนึ่งเพื่อบรรทุกเครื่องครัว โดยมีพระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ) ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงศักดิ์นายเวร เป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า “เรือตาอ้น” เมื่อเรียกเร็วๆ ก็จะออกเสียงเป็น “เรือต้น” อีกทั้งคำว่า “ต้น” ยังอนุโลมใช้เรียกเครื่องแต่งพระองค์อย่างลำลองในคราวเสด็จประพาสว่า “ทรงเครื่องต้น” อีกด้วย             โดยเส้นทางการเสด็จประพาสต้นครั้งนั้น เริ่มเดินทางจากสะพานน้ำหน้าพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 ผ่านหัวเมืองต่าง ๆ ตามลำดับ เช่น เมืองนนทบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับจากบางปะอินโดยรถไฟ และถึงพระบรมมหาราชวังกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2447 รวมใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 25 วัน           ความใน “จดหมายนายทรงอานุภาพ” ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระราชหัตถเลขาถึง “พ่อประดิษฐ์” ซึ่งเรียบเรียงเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงขณะเสด็จประพาสต้นตั้งแต่เริ่มต้นจนจบตามลำดับ มีทั้งหมด 8 ฉบับ สรุปความได้ดังต่อไปนี้           จดหมายฉบับที่ ๑ : เล่าถึงเหตุที่จะเสด็จประพาสต้น นอกจากจะเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การเสด็จประพาสครั้งนี้ก็เพื่อการพักผ่อนพระอิริยาบถและพักรักษาพระองค์           จดหมายฉบับที่ 2 : จุดเริ่มต้นการเสด็จประพาสต้น โดยเริ่มเล่าเรื่องจากการเสด็จจากบางปะอินล่องลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา เสด็จประทับวัดปรไมยิกาวาศ แล้วเสด็จประพาสสวนกระท้อนแถบแม่น้ำอ้อมเมืองนนทบุรี เวลาเย็นเสด็จประทับแรมที่หน้าวัดเขมา เช้าของอีกวันเสด็จจากวัดเขมาล่องลงมาเข้าคลองบางกอกใหญ่และคลองภาษีเจริญ ระหว่างทางขึ้นบกเดินเที่ยวเล่นที่บ้านกระทุ่นแบน ตกเย็นประทับแรมหน้าวัดหนองแขม หลังจากเสด็จจากวัดหนองแขมเข้าคลองดำเนินสะดวก หยุดกระบวนประทับแรมที่หน้าวัดโชติทายการาม พรางเสด็จเรือเล็กประพาสทุ่งที่น้ำท่วมเพื่อพบปะสมาคมกับราษฎรตามท้องที่           จดหมายฉบับที่ : ๓ เล่าเรื่องเสด็จหลังจากเสด็จจากวัดโชติทายการามไปเมืองราชบุรี ทรงรับสั่งให้เตรียมรถไฟพิเศษเพื่อเสด็จไปประพาสเมืองเพชรบุรี โดยประสงค์ว่าการประพาสเมืองเพชรบุรีครั้งนี้จะไม่มีใครทราบ เนื่องจากต้องการทอดพระเนตรบ้านเมืองในเวลาปกติ แต่ผิดคาดเมื่อมีข้าราชการบางคนทราบถึงการเสด็จครั้งนี้ หลังจากเสด็จจากเมืองเพชรบุรีก็เสด็จกลับประทับแรมที่เมืองราชบุรี ทอดพระเนตรแห่บวชนาคบุตรพระแสนท้องฟ้า            เนื้อหาในจดหมายฉบับนี้ได้มีการอธิบายถึงที่มาของคำว่า “ประพาสต้น” อีกด้วย การเสด็จประพาสต้นเป็นไปอย่างทุกทีที่พระองค์ทรงหยุดแวะตามที่ต่าง ๆ ระหว่างทางเพื่อเยี่ยมชมวิถีชีวิตของราษฎร ซึ่งพาหนะการเสด็จนั้นสลับสับเปลี่ยนอยู่บ้างตามวาระ จากเรือสู่รถไฟ จากรถไฟสู่เรือ โดยวัตถุประสงค์ยังคงเดิมที่ต้องการปกปิดตัวตน ซึ่งมีหลุดบ้างเนียนบ้างตามประสา           จดหมายฉบับที่ 4 : เนื้อหาภายในจดหมายยังคงเต็มไปด้วยความสนุกของการเสด็จประพาส เนื่องด้วยความไม่เป็นทางการของการเสด็จ ทำให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นชวนให้มีความสุข สนุกมากกว่าการเสด็จประพาสในลักษณะปกติ สำหรับเหตุการณ์ที่สำคัญในจดหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากคนที่ตามเสด็จต้องแบ่งหน้าที่ตามความถนัดเพื่อเตรียมการทำอาหาร ซึ่งการรวมตัวทำอาหารเลี้ยงกันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเป็นอย่างมาก        สำหรับเส้นทางการเสด็จประพาสเริ่มจากเสด็จตลาดที่เมืองราชบุรี และแวะซื้อเสบียงอาหารที่ปากคลองวัดประดู่ ระหว่างทางเสด็จทอดพระเนตรละครชาตรีบ้านตาหมอสี เวลาเย็นก็หาจุดที่จะเสด็จแวะทำครัว เสด็จตามแม่น้ำลำคลอง จบวันก็เสด็จกลับมาประทับแรมเมืองสมุทรสงคราม และเสด็จทอดพระเนตรที่ว่าการเมืองสมุทรสงคราม           จดหมายฉบับที่ 5 : เล่าเรื่องการเสด็จประพาสไปยังเมืองเพชรบุรี โดยเริ่มเสด็จประทับเรือฉลอมไปทอดพระเนตรละมุที่ปากอ่าวแม่กลองเตรียมเสบียงอาหาร เมื่อถึงปากน้ำเมืองเพชรบุรี เสด็จเรือกลไฟไปประทับแรมที่จวนเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ซึ่งการเสด็จประพาสต้นเมืองเพชรบุรีการที่จะหลีกเลี่ยงหรือพบปะราษฎรอย่างสามัญชนนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากชาวเพชรบุรีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความผูกพันกว่าที่ไหน ๆ หลังจากได้เสด็จจากบางทะลุทางทะเลมาเข้าบ้านแหลมแล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับแรมเมืองเพชรบุรี ณ พระนครคีรี และเสด็จประพาสวัดต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรี จบด้วยการเสด็จไปประทับแรมที่บ้านแหลม           จดหมายฉบับที่ 6 : การเสด็จประพาสเป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากเสด็จจากบ้านแหลมโดยทางทะเลถึงเมืองสมุทรสาคร จากเมืองสมุทรสาครก็เสด็จไปประทับแรมที่งิ้วราย หลังจากนั้นก็เสด็จโดยรถไฟพิเศษเพื่อเสด็จประพาส ณ พระปฐมเจดีย์ ล่องเรือเสด็จประพาสวัดพระประโทน  ออกจากพระประโทนเสด็จประทับเสวยเย็นที่บ้านพระยาเวียงไนย และเสด็จกลับมาประทับแรมที่งิ้วราย            จดหมายฉบับนี้ได้เล่าเรื่องการเสด็จประพาสหลาย ๆ แห่งโดยทางชลมารค ทั้งเสด็จประพาสคลองภาษี เสด็จประทับแรมบ้านสองพี่น้อง เสด็จประพาสคลองสองพี่น้อง เสด็จประทับแรมที่วัดบางบัวทอง จนถึงเมืองสุพรรณบุรี แล้วเสด็จทอดพระเนตรที่ว่าการเมือง วัดมหาธาตุ หลักเมือง วัดป่าเลไลย เวลาบ่ายเสด็จกลับมาประทับแรมที่บางปลาม้า จบด้วยการเสด็จจากบางปลาม้าเพื่อเสด็จประทับแรมที่บ้านผักไห่           จดหมายฉบับที่ ๗ : จดหมายฉบับนี้เป็นจดหมายฉบับสุดท้ายที่เล่าเรื่องราวการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ โดยเริ่มเล่าเรื่องการเสด็จจากบ้านผักไห่ไปทางคลองบางโผงเผง โดยมีเหตุการณ์สำคัญ คือ เกิดความเข้าใจผิดในเส้นทางการเสด็จ เป็นเหตุให้เกิดความลำบากแก่การประพาสเป็นอย่างมาก หลังจากเหตุการณ์คลี่คลาย เสด็จคลองบางหลวงอ้ายเอียง แวะทำครัวที่บ้านนายช้างอำแดงพลับ เมื่อออกจากบ้านนายช้างอำแดงพลับเสด็จจนถึงบางปะอิน และเสด็จรถไฟพิเศษเพื่อกลับกรุงเทพฯ เป็นอันจบการเสด็จประพาสต้น           จดหมายฉบับที่ 8 : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้พรรณนาถึงผลในการเสด็จประพาสต้น และยังได้กล่าวถึงการเสด็จประพาสหลังจากครั้งนี้อีกว่า จะไม่ได้สุขสำราญและเป็นกันเองเหมือนเมื่อครั้งที่เสด็จประพาสต้น (เมื่อปี พ.ศ. 2447 หรือ ร.ศ. 123) อีกแล้ว โดยอธิบายเหตุผลไว้ว่า ราษฎรรู้แล้วว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการเสด็จอย่างสามัญชน และหลังจากนี้หากมีใครแปลกหน้าเป็นผู้ดีชาวบางกอก ก็คิดและเข้าใจว่านั่นคือพระเจ้าอยู่หัว แม้แต่เรือพระที่นั่งหากเห็นว่ามีความแตกต่างจากปกติ ไม่ได้มาจากท้องถิ่นแถวนั้น ก็คิดไปก่อนว่านั่นคือพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมองว่าการเสด็จประพาสต้น การประพาสอย่างสามัญชนคนธรรมดาจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว     เอกสารสำหรับการค้นคว้า       1. ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง.“การศึกษาแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาประเทศ จากพระราชหัตถเลขาในการเสด็จประพาสหัวเมือง (พ.ศ. 2415 – 2452)”,ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์,  ( บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550)       2. กรมศิลปากร.  (2565).  จดหมายนายทรงอานุภาพ เล่าเรื่องประพาสต้น เมื่อ ร.ศ. 123.  กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.       3. วัชรญาณ. “จดหมายนายทรงอานุภาพ เล่าเรื่องประพาสต้น”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://vajirayana.org/จดหมายนายทรงอานุภาพ-เล่าเรื่องประพาสต้น        4. หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. จดหมายเหตุ เรื่องเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 ครั้งแรกและครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.



ชื่อเรื่อง :  พุทธธรรมสมาคม สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ข้อบังคับพุทธธรรมสมาคมผู้แต่ง : พุทธธรรมสมาคม สาขาจังหวัดเชียงใหม่ปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๙สถานที่พิมพ์ :  เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อุปะติพงษ์จำนวนหน้า : ๒๐ หน้าเนื้อหา : หนังสือพุทธธรรมสมาคม สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ข้อบังคับพุทธธรรมสมาคม ฉบับนี้เป็นฉบับแก้ไขใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๙ มีเนื้อหาประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของสมาคม คาถาและเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงาน สมาชิกและหน้าที่สมาชิก ผู้อุปถัมภ์ การเข้าสู่และออกจากสมาชิก ค่าบำรุง รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ การเงิน การลงมติ การประชุม และการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๘๑๖เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๓๓หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗







โครงการจัดการความรู้ เรื่อง รูปแบบ ลวดลายประดับ และวัสดุก่อสร้างของพระปรางค์สมัยอยุธยา ประจำปีงบประมาณ 2557 โดย กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา


Messenger