ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,910 รายการ







     พระธาตุเชิงชุมจำลอง       สูง ๕๙ เซนติเมตร       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕       พระธาตุเชิงชุมจำลองหล่อด้วยโลหะเงิน ประดับยอดด้วยฉัตรทองคำ จังหวัดสกลนครจำลองถวายเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙      ที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้านมีจารึกข้อความด้วยอักษรต่างกัน ๔ อักษร  ได้แก่ อักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย โดยมีเนื้อความเดียวกันคือ “รูปธาตุเชิงชุม  จังหวัดสกลนคร  จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙” น่าสังเกตว่าช่างที่ทำได้ใส่ใจในรายละเอียด อาทิ  ฉัตรทองคำ ๗ ชั้น มีการประดับขันรองต้นฉัตรชั้นล่างสุด ตามธรรมเนียมล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุองค์จริง  หรือในส่วนของหน้าบันซุ้มทางเข้าคูหาภายในพระธาตุ มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษาที่ดูแล้วก็ชวนให้นึกถึงลายปูนปั้นที่หน้าบันพระธาตุเชิงชุมองค์จริงเช่นกัน      อนึ่งการถวายรูปปูชนียสถานจำลองด้วยเงินเป็นที่ระลึกนี้ มีแบบอย่างมาแล้ว  โดย คณะกรมการเมืองสกลนคร เคยถวาย พระธาตุนารายณ์เจงเวงจำลอง แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙      จารึกที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้าน จารึกด้วยอักษรต่างกัน ๔ อักษร ได้แก่ อักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย โดยมีเนื้อความเดียวกันคือ “รูปธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙” ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙      รายละเอียดของหน้าบันซุ้มทางเข้าคูหาภายในพระธาตุเชิงชุมจำลอง มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษา      รายละเอียดฉัตรทองคำ ๗ ชั้น ของพระธาตุเชิงชุมจำลอง มีการประดับขันรองต้นฉัตรชั้นล่างสุด ตามธรรมเนียมล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุองค์จริง     พระธาตุเชิงชุม (ถ่ายพ.ศ. ๒๕๕๒) เป็นพระธาตุก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปจำนวน ๖ ชั้น ที่มุมของฐานล่างสุดประดับด้วยเสากลม บริเวณกึ่งกลางฐานล่างทำซุ้มประตูทรงหอปราสาท ๓ ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆังและองค์ระฆังทรงสี่เหลี่ยมต่อด้วยบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับยอดทรงบัวเหลี่ยม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเจดีย์ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานมีฐานป่องตอนกลางโค้งเว้าชะลูดขึ้นไปเป็นคอให้กับส่วนบนที่บานออก และประดับส่วนบนสุดด้วยฉัตรทอง ๗ ชั้น      ฉัตรพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งนำลงมาจากยอดพระธาตุพนมคราวยกฉัตรทองคำใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตบูร วัดพระธาตุพนม จะสังเกตเห็นธรรมเนียมการประดับขันหลายเหลี่ยมรองรับฉัตรชั้นล่างสุด


เลขทะเบียน : นพ.บ.117/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  22 หน้า ; 4.8 x 57 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 65 (204-208) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ภิกฺขุปาติโมกฺข (พระปาฎิโมกข์แปล)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.147/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.126/2กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๒ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 234 หน้า สาระสังเขป : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชพิธีเดือน ๕ จนถึงเดือน ๘ พระราชพิธีเดือน ๕ ว่าด้วยเรื่องก่อกองทราย บายศรี สรงน้ำพระ เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๖ ว่าด้วยฤกษ์แรกนา พิธีแรกนาหัวเมือง พระราชพิธีวิศาขบูชา เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๗ พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท การพระราชกุศลสลากภัต เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๘ พระราชพิธีเข้าพรรษา การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา เรื่องสวดมหาชาติคำหลวง เป็นต้น


ผู้แต่ง             วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยา ชื่อเรื่อง           พระมหาสมณานุศาสน์ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๖ จำนวนหน้า      ๗๒  หน้า              เป็นหนังสือที่รวมเรื่องราวเกี่ยวกับกฎและการปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับพระสงฆ์ ได้แก่ ฐานันดรของพระ   กิจของสมณะ ผู้ใหญ่หูเบา ธรรมเนียมการถวายเทศน์ ธรรมเนียมการบวชนาคหลวง การเขียนชื่อและตั้งชื่อวัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบัญชีรายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๑๖ อีกด้วย


     มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓ วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ      พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอรพัทธ์ประไพ จักรพันธุ์ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓      เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ และสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๓      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสู่ขอพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธประไพ พระราชทานอภิเษกสมรสให้เป็นพระชายาในพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ นับเป็นคู่สมรสพระราชทานคู่แรกที่ได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์      พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๗๓ สิริพระชันษา ๕๐ ปี      พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ


ชื่อเรื่อง                                ทานานิสํสกถา(ฉลองทาน) สพ.บ.                                  399/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสานเส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุมพล กุลมาตย์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ 


Messenger