ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,401 รายการ

           สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี “เสาร์สนุก” ในวันเสาร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ              พบกับรายการแสดง ดังนี้             การบรรเลง Brass Quintet  โดย นายวรรณฉัตร  ศรีปาน นายศศิศ  จิตรรังสรรค์ นายนันทวัฒน์  วารนิช นายฐากูร  อัศวพิศิษฐ์ และนายมานิตย์  บูชาชนก            - Kerry Turner - Ricochet for Brass Quintet             - John Philip Sousa - Sousa Collection              การบรรเลง - ขับร้อง ดนตรีไทย            - สามขลุ่ย : เพลงแม่ศรีทรงเครื่อง โดย นายฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง และคณะ             - หลากลีลารำมะนาลำตัด โดย นายสุภร  อิ่มวงค์ และคณะ            การแสดงนาฏศิลป์ไทย            - พระรามตามกวาง โดย นายฉันทวัฒน์  ชูแหวน และนางสาวพิมพ์รัตน์  นะวะศิริ            - มัยราพณ์ทรงเครื่อง โดย นายบัญชา  สุริเจย์             - รจนาเสี่ยงพวงมาลัย โดยนางธีวรา  รัตนศึกษา และนายกฤษกร  สืบสายพรหม            - ปันหยีแต่งตัว โดย นางสาวมณีรัตน์  มุ่งดี   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


           วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับกรมศิลปากร แถลงข่าวผลการทลายแก๊งนักล่าสมบัติโบราณ พบโบราณวัตถุกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม, พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุปผาสุวรรณ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม และพ.ต.อ.เอกสิทธิ์ ปานสีทา ผู้กำกับการ ๔ กองบังคับการปราบปราม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร, นายสหวัฒน์ แน่นหนา อดีตอธิบดีกรมศิลปากร, นายชิณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ และนางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ กรมศิลปากร ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ณ กองบังคับการปราบปราม เบื้องต้นถูกแจ้งข้อหาว่าเป็นผู้เก็บได้ ซื้อโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ และเบียดบังเอาโบราณวัตถุเป็นของตนเอง และจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ มีทั้งภาชนะดินเผา เข็มสักโบราณ เงินเหรียญลักษณะเกือกม้า ๒ ชิ้น และมีตราประทับ เครื่องประดับโบราณ สะท้อนให้เห็นเส้นทางการค้า ระหว่างจีนตอนใต้และอินเดีย


วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 11.00 น.    นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดี และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ลงพื้นที่ตรวจรับฯ งวดงานที่ 2 โครงการบูรณะศาลเจ้าเกียนอันเกง (หลังที่ 1 ) เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีนายประพันธ์ กุเวฬรัตน์ นายช่างโยธาอาวุโส เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมงานโครงการฯ ดังกล่าว


วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 09.30 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดี และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ลงพื้นที่ตรวจรับฯ งวดงานที่ 1 โครงการบูรณะเขตพุทธาวาส วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร แขวงรองเมือง เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร โดยมีนายประพันธ์ กุเวฬรัตน์ นายช่างโยธาอาวุโส เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมงานโครงการฯ ดังกล่าว



วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายพงศ์ธันว์  สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดีและนายสมัคร  ทองสันท์  ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่สำรวจสภาพความชำรุดจิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดเครือวัลย์วรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร


วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ น.  นายฤทธิเดช  ทองจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี และคณะฯ  ลงพื้นที่สำรวจสภาพความชำรุดจิตรกรรม "บ้านโซวเฮงไถ่"  แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร


รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์


วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่ จัดกิจกรรมโครงการพิพิธภัณฑ์สัญจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ โดยบูรณาการร่วมกับโครงการจังหวัดสุรินทร์สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ และโครงการเหล่ากาชาดห่วงใยสร้างบ้านผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติ ๖๗ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ ณ โรงเรียนบ้านแสรออ ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วยการออกหน่วยบริการประชาชน จัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และกิจกรรมประดิษฐ์พวงมโหตร


บรรณานุกรมรายชื่อหนังสืออ้างอิงใหม่ ห้องค้นคว้า เดือน สิงหาคม  2566     หมวด 300  สังคมศาสตร์       สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.  รายงานและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน            เพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ประจำปี 2562.  กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ           การเลือกตั้ง, 2565.  ( อ 324.2593 ค121ร ฉ.01- ฉ.02 ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.  รายงานประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการ          การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.  กรุงเทพฯ: สำนักติดตามและประเมินผลการ         อาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2564.  ( อ 373.246061593 ค         121ร ฉ.01-ฉ.02 )     หมวด 400  ภาษา     วิเชียร ตันตระเสนีย์.  พจนานุกรม มาเลย์ – ไทย ฉบับปรับปรุง.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ:         สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.  ( อ 499.28395911 ว559พ ) เกแกชิ, ลาสโล.  พจนานุกรม 2 ภาษา ไทย – ฮังกาเรียน ฮังกาเรียน – ไทย.  กรุงเทพฯ:         อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2546.  ( อ 495.91394511 ก743พ )         หมวด 500  วิทยาศาสตร์     ราชันย์ ภู่มา.  สารานุกรมพืชในประเทศไทย(ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ          รัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา.          กรุงเทพฯ: สำนักหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยาน         แห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2559.  ( อ         580.3 ร431ส )         หมวด 700  ศิลปะและนันทนาการ     สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.  สารานุกรมนาฏกรรมโขน.  กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตย           สภา, 2565.  ( อ 792.503 ร421ส ฉ.02 )     หมวด 800  วรรณคดี     มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ           พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  ประวัติวรรณคดีไทย ฉบับมูลนิธิ            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ภาค ก ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทย.   กรุงเทพฯ:           มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา,  2565.  ( อ 895.91 ส243ป ) -----.  ประวัติวรรณคดีไทย ฉบับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ภาค ข วรรณคดี            ไทยประเภทต่างๆ เล่ม 1.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา,  2565.  (           อ 895.91 ส243ป ล.01 ) -----.  ประวัติวรรณคดีไทย ฉบับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ภาค ข วรรณคดี            ไทยประเภทต่างๆ เล่ม 2.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา,  2565.  (           อ 895.91 ส243ป ล.02 )     หมวด  900  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์     ดินาร์ บุญธรรม.  พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง, 2554.  ( อ 923.1593 ภ671ด )           @@@@@@@@@@@@@@@              


คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สังกัด : สำนักพิพิธภัณฑสถ่านแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ที่ตั้ง : ภายในพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จัดสร้าง : พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๖ พิธีเปิด : วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ น. โดยองค์ประธาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเปิดให้บริการ : วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ ภารกิจหน้าที่ :            กรมศิลปากรจัดสร้างอาคารคลังกลางโบราณวัตถุหลังใหม่ เพื่อกำหนดหน้าที่ให้เป็นคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินงานโดยกลุ่มทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและสารสนเทศ สังกัดสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้              ๑. ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และบริการด้านโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสังกัดกรมศิลปากร ดูแลรักษาโบราณวัตถุให้อยู่ในสภาพปลอดภัย พร้อมให้บริการหมุนเวียนไปจัดแสดงในนิทรรศการถาวร หรือนิทรรศการพิเศษในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ตลอดจนสนับสนุนโครงการความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ และประชาสัมพันธ์คุณค่ามรดกศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากร และประเทศไทย            ๒. เป็นต้นแบบมาตรฐานสากลการบริหารจัดการคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในการดูแลรักษาโบราณวัตถุให้มีความยั่งยืนและปลอดภัย            ๓. ให้บริการศึกษาค้นคว้าโบราณวัตถุฯ (Study Collection) จากฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทั้งที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และทางแพลตฟอร์มออนไลน์ บริการภาพถ่ายโบราณวัตถุ และบริการการศึกษาชิ้นงานโบราณวัตถุในพื้นที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แก่นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชน ตามระเบียบวิธีการที่กรมศิลปากรกำหนด             ๔. เก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ (แก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ.๒๕๓๕)  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  อาคาร :             อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอย ๓๐,๐๐๐ ตารางเมตร ความสูง ๔ ชั้น รูปทรงอาคารเป็นทรงไทยประยุกต์ นำเส้นสายฐานบัวในงานสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใช้เป็นกรอบด้านนอกของอาคาร เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทยด้วยวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ แต่ยังคงไว้ซึ่งการระบายอากาศที่ดี สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร และเหมาะสมกับสถานที่ตั้งที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในอาคารเลือกใช้วัสดุประเภทเหล็ก คอนกรีต อลูมิเนียมและกระจกเป็นหลัก ไม่ใช้วัสดุประเภทไม้เพื่อลดโอกาสที่จะมีแมลงเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งอาจทำลายโบราณวัตถุที่จัดเก็บอยู่ภายใน ห้องคลังโบราณวัตถุ :             ปัจจุบันกรมศิลปากรดำเนินการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเดิมและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ รวมจำนวน ๑๑๓,๘๔๙ รายการ เข้าเก็บรักษาตามประเภทวัสดุ ภายในอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งใหม่ รวมพื้นที่ใช้สอย ๒๖,๑๔๐ ตารางเมตร จำแนกห้องคลังตามประเภทวัสดุ รวม ๑๐ ห้องคลัง ดังนี้            ๑. คลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทหินและปูนปั้น            ด้วยปัจจัยของขนาดและน้ำหนักของโบราณวัตถุประเภทหินและปูนปั้น ห้องคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทหินและปูนปั้น จึงกำหนดไว้ที่ชั้น ๑ รวมพื้นที่ ๓,๐๐๐ ตารางเมตร             ๒. คลังโบราณวัตถุฯ ประเภทดินเผาและแก้ว            วัสดุโบราณวัตถุดินเผาและแก้วเป็นอนินทรีย์วัตถุที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงจัดวางในห้องคลังบนชั้น ๒ ฝั่งตะวันออก พื้นที่ ๒,๕๐๐ ตารางเมตร แยกเป็น ๒ ห้องย่อย ประกอบด้วย ห้องคลังเครื่องปั้นดินเผา ๑ จัดเก็บเครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จัดวางเป็นกลุ่มตามแหล่งที่มาและกลุ่มวัตถุเอกลักษณ์พิเศษ ห้องคลังเครื่องปั้นดินเผา ๒ จัดเก็บเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี ถึงสมัยรัตนโกสินทร์             ๓. คลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทโลหะ            คลังโบราณวัตถุฯ ประเภทโลหะอยู่บนชั้น ๒ ฝั่งตะวันตกมีพื้นที่ ๔,๑๐๐ ตารางเมตร แบ่งเก็บโบราณวัตถุตามหน้าที่ใช้สอบใน ๓ ห้องย่อย ได้แก่                ห้องคลังโลหะ ๑ ประกอบด้วยโบราณวัตถุเนื่องในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป ศาสนสถานจำลอง รอยพระพุทธบาท พระศรีอารยเมตรัย พระสาวก พระพิมพ์ เป็นต้น                ห้องคลังโลหะ ๒ ประกอบด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ ได้แก่ อาวุธ เงินตรา วิทยุ โทรศัพท์ ภาชนะ กล้องส่องทางไกล กล้องถ่ายภาพยนตร์ กล้องถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องทำบัญชี เครื่องคิดเลข เครื่องบดยาสมุนไพร เป็นต้น                ห้องคลังโลหะ ๓ ประกอบด้วยโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาความเชื่ออื่นๆ ได้แก่ เทวรูป พระโพธิสัตว์ เทพเจ้า แม่โพสพ แม่ซื้อ บุคคล รูปสัตว์ และเครื่องดนตรี เป็นต้น            ๔. คลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทไม้            โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทไม้ จัดเก็บในห้องคลังชั้น ๓ ขนาด ๓,๖๐๐ ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทอินทรียวัตถุโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็น ๒ ห้องย่อยคือ                ห้องคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ไม้ ๑ จัดเก็บงานประณีตศิลป์ แบ่งกลุ่มจัดวางตามหน้าที่ใช้งาน ได้แก่ เครื่องเรือน ชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรม และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน                 ห้องคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ไม้ ๒ จัดเก็บศาสนวัตถุ แบ่งกลุ่มจัดวางตามหน้าที่ใช้สอย ได้แก่ รูปเคารพในศาสนา และเครื่องใช้ในพิธีกรรม             ๕. คลังโบราณวัตถุฯ ประเภทอินทรีย์วัตถุอื่นๆ            โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทอินทรียวัตถุที่มีความอ่อนไหวสูงต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ความร้อน จัดเก็บตามประเภทในห้องคลังชั้น ๓ พื้นที่รวม ๓,๐๐๐ ตารางเมตร แบ่งกลุ่มวัตถุออกเป็น ๒ ห้องย่อย คือห้องคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทผ้า กระดาษ กระดูก งา เขาสัตว์ และห้องคลังโบราณวัตถุศิลปวัตถุประเภทหนังสัตว์     โบราณวัตถุ :             จำนวนโบราณวัตถุ ๑๑๓,๘๔๙ รายการ ที่จัดเก็บภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มีที่มาจากการดำเนินงานปกป้องมรดกศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย             ๑. โบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเดิม ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร              ๒. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีและขุดแต่งโบราณสถานของกรมศิลปากร             ๓. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากการรับมอบ รับบริจาค และจัดซื้อจากหน่วยงานและภาคประชาชน             ๔. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากคดีลักลอบค้าโดยผิดกฎหมาย             ๕. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย             ๖. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ นำส่งมาเก็บรักษาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่าง ๆ   การบริการ คลังเพื่อการศึกษา Study Collection :            ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลกได้พัฒนางานบริการทางวิชาการ โดยออกแบบและบริหารจัดการคลังพิพิธภัณฑ์ให้สามารถให้บริการในรูปแบบ “คลังเพื่อการศึกษา” แก่นักวิชาการ นักศึกษาที่สนใจศึกษาวัตถุพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ ทั้งโดยการศึกษาวัตถุ และสอบค้น จากฐานข้อมูลโบราณวัตถุศิลปวัตถุบนแพลตฟอร์มออนไลน์             คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงจัดการให้บริการศึกษาค้นคว้าโบราณวัตถุ เป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับแรก คือบริการการศึกษาค้นคว้าในห้องฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ห้องสมุด และแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งผู้ศึกษาสามารถเข้าใช้บริการได้ในพื้นที่บริการทั่วไป ระดับที่ ๒ คือการศึกษาโบราณวัตถุ ซึ่งต้องแจ้งขออนุญาตเข้าศึกษาในพื้นที่ชั้นใน โดยการดูแลของเจ้าหน้าที่             ๑. พื้นที่ให้บริการระดับแรก                  ๑.๑ ห้องสมุดเฉพาะด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑ์วิทยา                 ๑.๒ ห้องสืบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ                    ผู้ศึกษาสามารถเข้าใช้บริการคอมพิวเตอร์สอบค้นโบราณวัตถุ จากฐานข้อมูลโบราณวัตถุ   ศิลปวัตถุ โดยมีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือในการค้นคว้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทั้งที่อยู่ในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และประสานขอข้อมูลโบราณวัตถุที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ทั้งนี้ผู้ศึกษายังสามารถเข้าศึกษาฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทางช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์  findantique.finearts.go.th  สำหรับผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่นสืบค้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จะต้องลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกทาง https://findantiue.finearts.go.th  กำหนดรหัสผ่านส่วนตัว และยืนยันรหัสผ่านส่วนตัวแล้วจึงสามารถเข้าสืบค้นฐานข้อมูลทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ                 ๑.๓ บริการสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุ โดยมีค่าธรรมเนียมตามระเบียบกรมศิลปากร                คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีภาพถ่ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุจัดเก็บไว้จำนวนมากกว่าหนึ่งแสนรูป พร้อมให้บริการไฟล์ภาพถ่ายเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้ โดยผู้ศึกษาไม่ต้องถ่ายภาพโบราณวัตถุด้วยตนเอง ผู้สนใจสามารถยื่นคำร้องได้ที่ห้องสอบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ หรือสืบค้นด้วยตนเองทางช่องทางเว็บไซต์ findantique.finearts.go.th แล้วยื่นคำร้องขอสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ registraonm@gmail.com หรือเว็บเพจ facebook.com/nationalmuseumstorage            ๒. พื้นที่ให้บริการระดับที่ ๒                 ๒.๑ บริการศึกษาโบราณวัตถุ                 คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้บริการศึกษาโบราณวัตถุแก่ผู้ยื่นคำร้องขอเข้าศึกษาโบราณวัตถุ ในพื้นที่ควบคุมชั้นใน ตามขั้นตอนและระเบียบวิธีที่กรมศิลปากรกำหนด ดังนี้                 - สืบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเลือกรายการโบราณวัตถุที่ต้องการศึกษา                  - กรอกคำร้องขอเข้าศึกษาโบราณวัตถุ โดยระบุรายละเอียดโบราณวัตถุ เช่น ชื่อโบราณวัตถุ เลขทะเบียน ชนิด จำนวน ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วยื่นคำร้องขอเข้าศึกษาโบราณวัตถุต่อผู้ช่วยภัณฑารักษ์                 - เมื่อได้รับอนุญาต จะได้เข้าใช้บริการในห้องศึกษาโบราณวัตถุในพื้นที่ควบคุม โดยการอำนวยความสะดวกของผู้ช่วยภัณฑารักษ์                 - เมื่อศึกษาโบราณวัตถุเสร็จสิ้น ผู้ช่วยภัณฑารักษ์จะตรวจสอบสภาพโบราณวัตถุว่าไม่มีการทำลายหรือทำให้โบราณวัตถุชำรุดเสื่อมสภาพ จากนั้นลงนามส่งคืนโบราณวัตถุกลับห้องคลังพิพิธภัณฑ์                กรณียื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ จะได้รับการนัดหมายวันเวลาเข้าศึกษาโบราณวัตถุจากเจ้าหน้าที่                  ๒.๒ บริการศึกษา ดูงาน และการอบรมต่างๆ                  องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการคลังพิพิธภัณฑ์ สามารถส่งหนังสือแจ้งขออนุญาตเข้าศึกษาดูงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน เพื่อจัดเตรียมเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติยังให้บริการห้องประชุมขนาด ๔๐ ที่นั่ง โดยมีขั้นตอนการขอใช้บริการดังนี้                   - ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แจ้งขออนุญาตเข้าศึกษาดูงาน หรือขอใช้พื้นที่ฝึกอบรม โดยระบุชื่อหน่วยงานหรือโครงการที่จะอบรม วัน เวลา จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน หรือรายละเอียดการฝึกอบรม หมายเลขติดต่อ ตลอดจนความต้องการวิทยากร โดยขอให้แจ้งขออนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน                     - กรณีขออนุญาตใช้พื้นที่จัดการฝึกอบรม จะมีค่าธรรมเนียมตามระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการขออนุญาตใช้สถานที่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2548            ๓. ระบบให้บริการคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง  Virtual Smart Museum  กรมศิลปากรออกแบบจัดทำสื่อ “คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง” เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาผู้สนใจได้ “สร้างประสบการณ์เสมือนจริง” เสมือนได้เข้ามาภายในพื้นที่ควบคุมของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ด้วยระบบ Virtual Reality คือ การจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงของห้องคลังโบราณวัตถุต่างๆ ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ ผู้ใช้สื่อสามารถรับรู้จากการมองเห็น การได้ยินผ่านจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลสามมิติ นอกจากนี้ยังนำเสนอภาพโบราณวัตถุชิ้นสำคัญแบบ 360 องศา ที่ผู้ชมสามารถขยายภาพชมรายละเอียดได้โดยสะดวก             ๔. ระบบให้บริการ FADiscovery            กรมศิลปากรได้พัฒนาระบบนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผ่านแอพพลิเคชั่น FADiscovery โดยเชื่อมโยงความสนใจของผู้เข้าชมเข้ากับข้อมูลองค์ความรู้ผ่านฐานข้อมูลองค์ความรู้ของกรมศิลปากร ระบบ FADiscovery จะจัดเก็บข้อมูลความต้องการของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติผ่านกำไลข้อมืออัจฉริยะ (Wristband) หรือแอพพลิเคชั่นผ่านโทรศัพท์มือถือ ระบบจะจดจำเส้นทาง บันทึกความชื่นชอบ ความสนใจในการเข้าชม แล้วแยกความสนใจออกเป็นประเภท เช่น  ห้องจัดแสดง โบราณวัตถุ แล้วประมวลผลในทันที เพื่อให้ได้ทราบความสนใจพิเศษ แล้วระบบจะส่งข้อมูลความรู้ที่สนใจกลับไปยังผู้เข้าชมทันทีแบบรายบุคคล (Individual Experience) เช่น ระบบประมวลผลพบว่าผู้เข้าชมสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย ระบบจะสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลกรมศิลปากร แล้วส่งข้อมูลกลับไปยังผู้เข้าชมคนนั้นทันที 


ธงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย หรือ ชาติไทย ที่บ่งบอก ถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความ เป็นไทยซึ่งมีความหมายแสดงความเป็นเอกราช อธิปไตยของชาติ รวมทั้งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ธงชาติไทย จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับความเคารพอย่างสูง และยังมีความสำคัญทางจิตใจ ที่แสดงถึงความรักชาติ ความรู้สึกที่มีร่วมกันของคนในชาติ นอกจากนั้นยังเป็นเสมือน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจลบหลู่ และสามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจของคนในชาติเพื่อจะได้ดำรงไว้ ซึ่งความเป็นปึกแผ่น ของประเทศไทยให้ยั่งยืน ตลอดไปชั่วกาลนาน เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยมฉะบับที่ ๖ เรื่อง ทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ. (๒๔๘๒, ๑๐ ธันวาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ ๕๖ หน้า ๒๖๕๓-๒๖๕๔. พระราชบัญญัติ ธง พุทธศักราช ๒๔๗๙. (๒๔๗๙, ๖ ธันวาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ ๕๓ หน้า ๘๖๗. พระราชบัญญัติ ธง พ.ศ. ๒๔๒๒.  (๒๕๒๒, ๓๐ เมษายน).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๖๗.  หน้า ๒. พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย.  ต้นฉบับ MV เพลงชาติไทยแรกในรัชกาลที่ ๑๐ (เวอร์ชั่นออกอากาศจริงพร้อมคำบรรยายแทนเสียง) โดยรัฐบาล (4K). [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖, จาก https://www.youtube.com/watch?v=6gOr72J_7wk, ๒๕๖๓. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.  คู่มือ ธงไตรรงค์ ธำรงไทย.  กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๓.


ธงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย หรือ ชาติไทย ที่บ่งบอก ถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความ เป็นไทยซึ่งมีความหมายแสดงความเป็นเอกราช อธิปไตยของชาติ รวมทั้งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ธงชาติไทย จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับความเคารพอย่างสูง และยังมีความสำคัญทางจิตใจ ที่แสดงถึงความรักชาติ ความรู้สึกที่มีร่วมกันของคนในชาติ นอกจากนั้นยังเป็นเสมือน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจลบหลู่ และสามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจของคนในชาติเพื่อจะได้ดำรงไว้ ซึ่งความเป็นปึกแผ่น ของประเทศไทยให้ยั่งยืน ตลอดไปชั่วกาลนาน เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยมฉะบับที่ ๖ เรื่อง ทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ. (๒๔๘๒, ๑๐ ธันวาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ ๕๖ หน้า ๒๖๕๓-๒๖๕๔. พระราชบัญญัติ ธง พุทธศักราช ๒๔๗๙. (๒๔๗๙, ๖ ธันวาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ ๕๓ หน้า ๘๖๗. พระราชบัญญัติ ธง พ.ศ. ๒๔๒๒.  (๒๕๒๒, ๓๐ เมษายน).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๖๗.  หน้า ๒. พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย.  ต้นฉบับ MV เพลงชาติไทยแรกในรัชกาลที่ ๑๐ (เวอร์ชั่นออกอากาศจริงพร้อมคำบรรยายแทนเสียง) โดยรัฐบาล (4K). [ออนไลน์].         สืบค้นเมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖, จาก https://www.youtube.com/watch?v=6gOr72J_7wk, ๒๕๖๓. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.  คู่มือ ธงไตรรงค์ ธำรงไทย.  กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๓.


วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านลุมพุกหนองกุง ตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ นางสาวอภิญญา สุขใหญ่ และนางศรีสุดา สีสด พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม