ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,401 รายการ

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เข้าร่วมประชุมหารือการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอเเนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของชาติด้านการท่องเที่ยว ในคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม เเละมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ณ สำนักศิลปะเเละวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


วันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๓๐ คน คุณครู ๖ คนจากโรงเรียนบ้านโนนศิลา ตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์  เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์  สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์  ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม




วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร           สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร และพระธรรมวชิรวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร ให้กองโบราณคดี โดย ดร.ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี และผู้เกี่ยวข้อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโบราณคดีของวัดจักรวรรดิราชาวาส พร้อมทั้งให้ข้อมูลปฐมภูมิด้านโบราณคดีและการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดจักรวรรดิฯ เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้นทางโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถาน และการปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดจักรวรรดิราชาวาส


ตามตำนานหากจะกล่าวถึงแม่กาเผือกหรือพญากาเผือก อาศัยทำรังอยู่บนต้นมะเดื่อบริเวณฝั่งแม่น้ำคงคา พร้อมกับฟักไข่จำนวน ๕ ฟอง ซึ่งตรงกับวันพระ อยู่มาวันหนึ่งแม่กาเผือกออกหาอาหารและบินหลงเข้ามาพบป่าอุดมสมบูรณ์ ทันใดนั้นได้เกิดพายุพัดฝนฟ้าคะนองกระหน่ำอย่างหนักทำให้ต้องพักอาศัยจนกว่าพายุสงบ ซึ่งแรงลมของพายุทำให้กิ่งมะเดื่อรังที่ฟักไข่ของแม่กาเผือกหักจนทำให้พัดพาเอาไข่ทั้งหมดไหลลงไปตามน้ำพัดพาไปคนละทิศคนละทาง ทางด้านแม่กาเผือกกลับมาที่รังไม่พบไข่ของตนเอง จึงออกตามหาไข่ทั่วทุกหนทุกแห่งกลับไม่พบ จึงคิดว่าลูกน้อยของตนเองได้จากแม่กาเผือกไปแล้ว จึงเกิดความโศกเศร้าเสียใจและตรอมใจตายลงไปในที่สุดด้วยอานิสงส์ในความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อลูกๆ ของตนเอง แม่กาเผือกจึงไปจุติอยู่บนแดนพรหมโลกชั้นสุทธาวาส นามว่า “ฆติกามหาพรหม” หลังจากนั้นไข่ทั้ง ๕ ฟอง ได้มีผู้พบเจอและนำไปเลี้ยงจนเติบโต กล่าวคือ ฟองที่ ๑ มีแม่ไก่เก็บไปเลี้ยง ฟองที่ ๒ มีแม่นาค (หรืองู) เก็บไปเลี้ยง ฟองที่ ๓ มีแม่เต่าเก็บไปเลี้ยง  ฟองที่ ๔ มีแม่โคเก็บไปเลี้ยง และฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง ไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์ผู้ชาย และมีความมุ่งมั่นว่าอยากออกบวชโดยทางฝ่ายแม่บุญธรรมทั้งหมดก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด จึงออกบำเพ็ญศีลภาวนาเป็นฤๅษีอยู่ตามป่าตามถิ่นฐานของตนเอง จากนั้นจึงออกเดินทางแสวงบุญจนมาพบกันที่ใต้ต้นนิโครธโดยบังเอิญ ซึ่งฤๅษีทั้งหมดต่างแปลกใจมีหน้าตาที่คล้ายกัน พร้อมสอบถามถึงประวัติความเป็นมาซึ่งกันและกัน  หลังจากทราบประวัติว่าเป็นลูกของแม่กาเผือกที่ผลัดหลงกันตั้งแต่ยังไม่ทันเกิดทำให้ฤๅษีหนุ่มทั้งห้าตัดสินใจตั้งสัจจาธิษฐานขอพบแม่กาเผือกจริงอีกครั้ง ซึ่งท้าวฆติกามหาพรหม รับรู้ด้วยญาณและจำแลงร่างเป็นแม่กาเผือก พร้อมกับเล่าประวัติความเป็นมาให้กับฤๅษีได้ฟังทั้งหมดทางฝั่งฤๅษีขอให้แม่กาเผือกยื่นเท้ามาให้พวกเขากราบไหว้เพื่อระลึกถึงบุญคุณ แล้วทางแม่กาเผือกจึงได้ประทานผ้าฝ้ายฟั่นเชือกเป็นรูปตีนกามีสามแฉกเป็นสัญลักษณ์อนุสรณ์ ฝ่ายฤๅษี จึงนำมาทำเป็นไส้ประทีปตีนกาและจุดบูชาทุกวันพระ เพื่อระลึกถึงพระคุณแม่กาเผือกอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับอธิษฐานปรารถนาสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัลป์นี้ ภายหลังจึงเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันลอยกระทง และเป็นส่วนหนึ่งของประเพณียี่เป็งที่สืบทอดต่อๆ กันมา เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : ธนากิต.  ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย.  กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, ๒๕๔๕. เว็บพลังจิต.  เปิดตำนาน"ลอยประทีปบูชาพญากาเผือก"ของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ตำนานสืบสานประเพณีลอยกระทง. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖,         จาก https://palungjit.org/threads/เปิดตำนาน-ลอยประทีปบูชาพญากาเผือก-ของพระพุทธเจ้า-๕-พระองค์-ตำนานสืบสานประเพณีลอยกระทง.626602/, ๒๕๖๐. เสฐียร โกเศศ.  ผีสางเทวดา.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, ๒๕๔๙. โฮงเฮียนฝ้ายหลวง.  การทำตีนกา ผางประทีป ไส้เทียน ฝ้ายตีนกา จากเส้นฝ้าย. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖,         จาก https://www.youtube.com/watch?v=b4aWgNjYHvg, ๒๕๖๕.


ตามตำนานหากจะกล่าวถึงแม่กาเผือกหรือพญากาเผือก อาศัยทำรังอยู่บนต้นมะเดื่อบริเวณฝั่งแม่น้ำคงคา พร้อมกับฟักไข่จำนวน ๕ ฟอง ซึ่งตรงกับวันพระ อยู่มาวันหนึ่งแม่กาเผือกออกหาอาหารและบินหลงเข้ามาพบป่าอุดมสมบูรณ์ ทันใดนั้นได้เกิดพายุพัดฝนฟ้าคะนองกระหน่ำอย่างหนักทำให้ต้องพักอาศัยจนกว่าพายุสงบ ซึ่งแรงลมของพายุทำให้กิ่งมะเดื่อรังที่ฟักไข่ของแม่กาเผือกหักจนทำให้พัดพาเอาไข่ทั้งหมดไหลลงไปตามน้ำพัดพาไปคนละทิศคนละทาง ทางด้านแม่กาเผือกกลับมาที่รังไม่พบไข่ของตนเอง จึงออกตามหาไข่ทั่วทุกหนทุกแห่งกลับไม่พบ จึงคิดว่าลูกน้อยของตนเองได้จากแม่กาเผือกไปแล้ว จึงเกิดความโศกเศร้าเสียใจและตรอมใจตายลงไปในที่สุดด้วยอานิสงส์ในความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อลูกๆ ของตนเอง แม่กาเผือกจึงไปจุติอยู่บนแดนพรหมโลกชั้นสุทธาวาส นามว่า “ฆติกามหาพรหม” หลังจากนั้นไข่ทั้ง ๕ ฟอง ได้มีผู้พบเจอและนำไปเลี้ยงจนเติบโต กล่าวคือ ฟองที่ ๑ มีแม่ไก่เก็บไปเลี้ยง ฟองที่ ๒ มีแม่นาค (หรืองู) เก็บไปเลี้ยง ฟองที่ ๓ มีแม่เต่าเก็บไปเลี้ยง  ฟองที่ ๔ มีแม่โคเก็บไปเลี้ยง และฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง ไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์ผู้ชาย และมีความมุ่งมั่นว่าอยากออกบวชโดยทางฝ่ายแม่บุญธรรมทั้งหมดก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด จึงออกบำเพ็ญศีลภาวนาเป็นฤๅษีอยู่ตามป่าตามถิ่นฐานของตนเอง จากนั้นจึงออกเดินทางแสวงบุญจนมาพบกันที่ใต้ต้นนิโครธโดยบังเอิญ ซึ่งฤๅษีทั้งหมดต่างแปลกใจมีหน้าตาที่คล้ายกัน พร้อมสอบถามถึงประวัติความเป็นมาซึ่งกันและกัน  หลังจากทราบประวัติว่าเป็นลูกของแม่กาเผือกที่ผลัดหลงกันตั้งแต่ยังไม่ทันเกิดทำให้ฤๅษีหนุ่มทั้งห้าตัดสินใจตั้งสัจจาธิษฐานขอพบแม่กาเผือกจริงอีกครั้ง ซึ่งท้าวฆติกามหาพรหม รับรู้ด้วยญาณและจำแลงร่างเป็นแม่กาเผือก พร้อมกับเล่าประวัติความเป็นมาให้กับฤๅษีได้ฟังทั้งหมดทางฝั่งฤๅษีขอให้แม่กาเผือกยื่นเท้ามาให้พวกเขากราบไหว้เพื่อระลึกถึงบุญคุณ แล้วทางแม่กาเผือกจึงได้ประทานผ้าฝ้ายฟั่นเชือกเป็นรูปตีนกามีสามแฉกเป็นสัญลักษณ์อนุสรณ์ ฝ่ายฤๅษี จึงนำมาทำเป็นไส้ประทีปตีนกาและจุดบูชาทุกวันพระ เพื่อระลึกถึงพระคุณแม่กาเผือกอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับอธิษฐานปรารถนาสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัลป์นี้ ภายหลังจึงเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันลอยกระทง และเป็นส่วนหนึ่งของประเพณียี่เป็งที่สืบทอดต่อๆ กันมา เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ แหล่งอ้างอิง : ธนากิต.  ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย.  กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, ๒๕๔๕. เว็บพลังจิต.  เปิดตำนาน"ลอยประทีปบูชาพญากาเผือก"ของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ตำนานสืบสานประเพณีลอยกระทง. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖,         จาก https://palungjit.org/threads/เปิดตำนาน-ลอยประทีปบูชาพญากาเผือก-ของพระพุทธเจ้า-๕-พระองค์-ตำนานสืบสานประเพณีลอยกระทง.626602/, ๒๕๖๐. เสฐียร โกเศศ.  ผีสางเทวดา.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, ๒๕๔๙. โฮงเฮียนฝ้ายหลวง.  การทำตีนกา ผางประทีป ไส้เทียน ฝ้ายตีนกา จากเส้นฝ้าย. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖,         จาก https://www.youtube.com/watch?v=b4aWgNjYHvg, ๒๕๖๕.


เมื่อวันที่ ๙-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ นางสาวนิตยา สาระรัตน์  นายช่างศิลปกรรมอาวุโส ลงพื้นที่โบราณสถานปราสาทพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และ โบราณสถานกู่เกษม ตำบลสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินการติดตั้งป้ายห้ามบันทึกภาพโดยใช้โดรนในเขตพื้นที่โบราณสถาน และดำเนินการติดตั้งป้าย (ห้ามนำสัตว์เข้าเขตโบราณสถาน) และตรวจสอบกรณีมีประชาชนนำวัวเข้ามาเลี้ยงในเขตพื้นที่โบราณสถานกู่บ้านแดง ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม


วันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ คณะกรรมการตรวจการส่งมอบงานจ้างเหมาบริการทำงานดูแลและทำความสะอาดโบราณสถานในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษได้แก่ โบราณสถานปราสาทปรางกู่ อำเภอปรางค์กู่ โบราณสถานปราสาททามจาน อำเภอปรางค์กู่ โบราณสถานปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย โบราณสถานปราสาทสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย และโบราณสถานปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน นำโดยนางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ นพรัตม์ เมธีวราธนานันท์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ตรวจสอบความสะอาด ความเรียบร้อยและให้คำแนะนำพนักงานดูแลโบราณสถานในการปฏิบัติงาน


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๑-๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๑๒๗ คน


กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต มีกำหนดจัดรายการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ของสำนักการสังคีต ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ มีดังนี้            - วันเสาร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. โครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี รายการ “เสาร์สนุก” ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙           - วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. การบรรเลงดนตรีไทยในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๖ ณ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร           - วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละคร เรื่องศกุนตลา ตอนรักบาปสาปทุรวาส การแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หอวชิราวุธานุสรณ์           - วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ การบรรเลงดนตรีไทยและสากล เนื่องในงานเปิดโบราณสถานยามค่ำคืน ณ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา           - วันศุกร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๐๐ น. การแสดงเนื่องในงานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๖ ณ วัดบูรพาภิราม จังหวัดร้อยเอ็ด                     + การบรรเลงดนตรีไทยประกอบพิธีสวดมนต์เย็น                     + รำสมโภชองค์กฐิน                     + โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระจักรีปราบกลียุค            - วันเสาร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. การบรรเลงดนตรีไทยในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๖ ณ วัดบูรพาภิราม จังหวัดร้อยเอ็ด            - วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ การบรรเลงและขับร้องวงดุริยางค์สากลเนื่องในงานวันลอยกระทง ณ วัดอรุณราชวราราม           ผู้สนใจสามารถไปร่วมชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ของสำนักการสังคีต ได้ ณ สถานที่จัดงานใกล้บ้านท่าน หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก เพจ : สำนักการสังคีต กรมศิลปากร