ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,965 รายการ
ปราสาทนาแค อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย ปราสาท 3 หลัง ตั้งเรียงกันแนวทิศเหนือ- ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยมีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ก่อด้วยหินทรายปราสาทประธานก่อด้วยหินทรายพบชิ้นส่วนหน้าบันหินทรายแกะสลักลวดลาย ถัดออกไปด้านทิศตะวันออก มีบรรณาลัย 1 หลังก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลาย มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตก ส่วนด้านทิศตะวันออกของบรรณาลัยทำเป็นประตูหลอก โบราณสถานทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ก่อด้วยหินทรายเหลือเพียงให้เห็นเป็นบางส่วน ซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทำเป็นปีกออกไปทั้ง 2 ข้าง ทางด้านเหนือและใต้อยู่ในสภาพพังทลายเหลือให้เห็นเพียงปีกซุ้มประตูด้านทิศใต้ ที่มีการเจาะช่องหน้าต่าง มีร่องรอยของสระน้ำล้อมรอบศาสนสถาน
แนะนำ e-book#ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและล้านนา เวียงไชยปราการหนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสจัดงานผูกพทธสีมา ตัดลูกนิมิต และสมโภชพระบรมธาตุสันติเจดีย์ ณ วัดสันติวนาราม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำผลงานเขียนของพระมหา ดร.สุขพัฒน์ อนนท์จารย์ และอาจารย์ทิว วิชัยขัทคะ มาจัดพิมพ์ในเล่มเดียวกัน เนื้อหาในส่วนแรกกล่าวถึงประวัติวัดสันติวนาราม พระบรมธาตุสันติเจดีย์ ส่วนต่อมาจะเป็นเรื่องของประวัติการสร้างพระพุทธรูป ความเชื่อการเคารพรูป ลักษณะพุทธศิลป์ ที่มาของปางพระพุทธรูป ความเป็นมาของพระพุทธรูปในประเทศไทย หลักเกณฑ์การวัดขนาดพระพุทธรูป อานิสงส์การจัดสร้างพระพุทธรูป เป็นต้น ท้ายเล่ม รวมบทความเกี่ยวกับล้านนา และบทวิเคราะห์เรื่อง เวียงไชยปราการ สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดหรือคลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านในรูปแบบ e-book ได้ค่ะhttps://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/17823-ประวัติการสร้างพระพุทธรูป-และล้านนา-เวียงไชยปราการ
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “Golden boy มรดกล้ำค่าทางศิลปวัฒนธรรม” วิทยากร นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
แนะนำหนังสือ #ห้องหนังสือเยาวชน การ์ตูนเรื่อง #พระอภัยมณีโดยนายวรุตม์ หาญสุวรรณพิสิฐ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนะนำ e-book#อุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือหิน แหล่งโบราณคดีภูซางแหล่งโบราณคดีภูซาง เป็นแหล่งหินที่มีต้นกำเนิดจากกระบวนการเกิดของภูเขาไฟ ทำให้หินบริเวณนี้มีสภาพที่เหมาะสมในการนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งโบราณคดีภูซางเป็นกรณีของแหล่งผลิตเครื่องมือหินที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก ทั้งความสมบูรณ์ทางโบราณคดี และพื้นที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่ เนื่องจากแหล่งผลิตเครื่องมือหินแหล่งนั้น ส่วนใหญ่จะถูกรบกวนจากกิจกรรมของคนปัจจุบันแทบจะหมดสิ้นแล้ว โดยหนังสือเล่มนี้เป็นการเผยแพร่งานวิชาการที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี โดยสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน กรมศิลปากร เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดน่าน ภูซาง ลักษณะทางธรณีสัณฐาน การศึกษาทางโบราณคดีแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือหินภูซาง วัฒนธรรมของมนุษย์เจ้าของแหล่งผลิตเครื่องมือหิน เป็นต้นสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดหรือคลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านในรูปแบบ e-book ได้ค่ะhttps://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/19180-อุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือหินแหล่งโบราณคดีภูซาง
แนะนำหนังสือ #ห้องหนังสือเยาวชน โดยนายดลย์ เย็นสถิตย์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนังสือเกี่ยวกับ #กำแพงเมืองเชียงใหม่สามารถสแกนคิวอาร์โค้ด หรือคลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านในรูปแบบ e-book การขุดค้นศึกษา และบูรณะกำแพงเมืองเชียงใหม่https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/15672-การขุดค้นศึกษา-และบูรณะกำแพงเมืองเชียงใหม่
กำแพงเมืองเชียงใหม่https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/15767-กำแพงเมืองเชียงใหม่
แนะนำหนังสือ #ห้องหนังสือเยาวชน โดยนางสาวพิชญ์สินี เดี่ยวตระกูล นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และคณะ เข้าเยี่ยมชมสถานที่สำหรับจัดนิทรรศการ และให้ข้อเสนอแนะงานบูรณาการหน่วยงานภายในกระทรวงวัฒนธรรม ตามภารกิจของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่