ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,965 รายการ
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รับสมัครคัดเลือกเพื่อจ้างบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว ครั้งที่ 1/2567
ปราสาทยายเหงา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทอิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง ในแนวแกนทิศเหนือ - ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเป็นทางเข้า - ออกประตูเดียว มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ ผังขององค์ปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ปราสาทองค์กลาง คือปราสาทประธาน เหลือเพียงฐานและเรือนธาตุ ส่วนยอดพังทลาย ปราสาทหลังทิศใต้ มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าปราสาทประธาน ส่วนยอดเหนือเรือนธาตุ ทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกัน คงเหลือให้เห็น 3 ชั้น ส่วนบนยอดพังทลายหายไป ปลายกรอบของหน้าบัน สลักลวดลายเป็นรูปมกรคาบนาค 5 เศียร ส่วนองค์ด้านทิศเหนือเหลือเพียงฐาน
คุณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ โดยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร มอบเกียรติบัตร องค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี ๒๕๖๖ แก่ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดยมีนางวัญญาประคำทอง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนเป็นผู้รับมอบ
องค์กร คุณธรรมต้นแบบ คือ องค์กรที่พัฒนาคุณธรรม จนประสบผลสำเร็จ ทำให้องค์กรมีบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม บุคลากรในองค์กรมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีการรวบรวมจัดทำองค์ความรู้ ผลสำเร็จการดำเนินงาน เผยแพร่องค์ความรู้ และมีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับองค์กรอื่น
วันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมประชุมการเตรียมงานทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ หน่วยพิธีประตูสวนดอก ณ ห้องประชุมบัวเรศ คำทอง ชั้น ๕ สำนักงานมหาวิทยาลัย ๒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผุสดี นนทคำจันทร์ อาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้านิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ โดยมีผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยบรรณารักษ์ ให้การต้อนรับ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) เป็นประเพณีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ประชาชนสามารถเข้าร่วมทำบุญในวันเข้าอินทขิล ตรงกับวันที่จันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ หรือแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ (หรือเดือน ๘ เหนือ) โดยจัดประเพณีฯ ระหว่างวันที่ ๓ - ๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ และวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ หรือขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ (หรือเดือน ๙ เหนือ) เป็นวันทำบุญออกอินทขิล ซึ่งประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล จะกระทำพิธีสักการบูชาเป็นประจำทุกปี เรียกว่า “เดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก” ผู้เข้าร่วมงานประเพณีฯ ต่างเตรียมนำดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำพร้อมขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือสลุง เพื่อทำการสักการบูชา แล้วนำดอกไม้วางบน “ขัน” หรือพานดอกไม้จนครบเหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ หรือเรียกอีกอย่างว่า “ใส่ขันดอก” นั่นเอง
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
ธันวดี สุขประเสริฐ. เข้าอินทขิล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://rituals.sac.or.th/detail.php?id=18,%202559, ๒๕๕๙.
มิวเซียม สยาม. ประเพณีเข้าอินทขิล ตำนานอินทขิลและประเพณีบูชาอินทขิล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.museumthailand.com/en/3826/storytelling/ประเพณีเข้าอินทขิล/
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่. เพจวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/p/วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร-เชียงใหม่-Wat-Chedi-Luang-Chiang-Mai-100066349282997/?locale=th_TH
สนั่น ธรรมธิ. ประเพณีบูชาเสาอินทขีล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://accl.cmu.ac.th/Knowledge/details/2637, ๒๕๖๕.
งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) เป็นประเพณีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ประชาชนสามารถเข้าร่วมทำบุญในวันเข้าอินทขิล ตรงกับวันที่จันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ หรือแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ (หรือเดือน ๘ เหนือ) โดยจัดประเพณีฯ ระหว่างวันที่ ๓ - ๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ และวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ หรือขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ (หรือเดือน ๙ เหนือ) เป็นวันทำบุญออกอินทขิล ซึ่งประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล จะกระทำพิธีสักการบูชาเป็นประจำทุกปี เรียกว่า “เดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก” ผู้เข้าร่วมงานประเพณีฯ ต่างเตรียมนำดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำพร้อมขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือสลุง เพื่อทำการสักการบูชา แล้วนำดอกไม้วางบน “ขัน” หรือพานดอกไม้จนครบเหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ หรือเรียกอีกอย่างว่า “ใส่ขันดอก” นั่นเอง
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
ธันวดี สุขประเสริฐ. เข้าอินทขิล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://rituals.sac.or.th/detail.php?id=18,%202559, ๒๕๕๙.
มิวเซียม สยาม. ประเพณีเข้าอินทขิล ตำนานอินทขิลและประเพณีบูชาอินทขิล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.museumthailand.com/en/3826/storytelling/ประเพณีเข้าอินทขิล/
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่. เพจวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/p/วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร-เชียงใหม่-Wat-Chedi-Luang-Chiang-Mai-100066349282997/?locale=th_TH
สนั่น ธรรมธิ. ประเพณีบูชาเสาอินทขีล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, จาก: https://accl.cmu.ac.th/Knowledge/details/2637, ๒๕๖๕.
กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงละคร เรื่อง เลือดสุพรรณ ประกอบการบรรเลงและขับร้องเพลงไทย และเพลงไทยสากล โดยวงดุริยางค์ไทย และวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี นำแสดงโดยนาฏศิลปินรุ่นใหม่ อาทิ ปริญเมศร์ จูไหล รับบท มังราย นงลักษณ์ กลีบศรี รับบทดวงจันทร์ วัชรวัน ธนะพัฒน์ รับบทมังมหาสุรนาท กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา 80 บาท 60 บาท และ 40 บาท สอบถามรายละเอียดการจองบัตรได้ที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0 3553 5114 , 0 3553 5116 (วันเวลาราชการ) เฟสบุ๊ก เพจ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ LINE ID @840rbrjv
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญชมนิทรรศการถาวรโฉมใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย (บางส่วน) ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป เวลา 09.00 - 16.00 น. เปิดวันพุธ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยไม่เสียค่าเข้าชม (ฟรี)
พิเศษ !! เพื่อขอบคุณที่ทุกท่านยังคงคิดถึงและติดตามกัน ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จึงขอมอบของขวัญเป็นโปสการ์ดให้แก่ผู้ชมทุกท่าน 3 วัน 3 แบบไม่ซ้ำกัน เฉพาะผู้เข้าชมในวันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2567 เท่านั้น !!
ทั้งนี้ การเปิดให้เข้าชมครั้งนี้ จะเปิดเฉพาะส่วนจัดแสดงชั้นล่างที่มีการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว และส่วนอาคารศิลาจำหลัก เท่านั้น ในส่วนอาคารจัดแสดงชั้นบนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มีแผนการดำเนินงานปรับปรุงต่อไปในอนาคต (ปีงบประมาณ 2568) สามารถติดตามความคืบหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงได้ทางเฟชบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 นางสาวสรณ์สิริ สีหนาท หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณด้านข้างอาคารหอสมุด เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ ขอขอบคุณต้นไม้สวยๆจากหน่วยงานสถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาญจนบุรี