ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๘๖ คน


วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๐ คน คุณครู ๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๐ คน คุณครู ๕ คน เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทตาควาย ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ โรงเรียนบ้านแกใหญ่ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๘๔ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๐ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ตำบลตาเมียง และโบราณสถานปราสาทตาควาย ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเมืองโบราณโนนเมือง ประจำเดือนมิถุนายน 2567 รวมทั้งหมด 271 คน ดังนี้* ชาวไทย                    ชาย 88 คน หญิง 80 คน รวมเป็น  168 คน* ชาวต่างชาติ               ขาย 5 คน หญิง 6 คน รวมเป็น 11 คน* นักเรียน/นักศึกษา        ชาย 22 คน หญิง 18 รวมเป็น 40 คน * นักบวช                     ชาย 12 คน หญิง 0 คน รวมเป็น 12 คน* แขกราชการ                ชาย 8 คน หญิง 0 คน รวมเป็น 8 คน* ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)     ชาย 14 คน หญิง 18 คน รวมเป็น 32 คน


             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ "ศิลปะความหวัง" โดยกลุ่ม Hope 6 ซี่งประกอบไปด้วยสมาชิกกลุ่ม 4 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.สกนธ์ ภู่งามดี, นาวาโท กฤศ จินดารัตน์, สงกรานต์ เอี่ยมรอด และสถาพร เครือวัลย์ เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 3 – 31 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารนิทรรศการ 6  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งเเต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวันพุธ - อาทิตย์ (ปิดให้บริการวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)              นิทรรศการ "ศิลปะความหวัง" โดย กลุ่ม Hope 6 จะทำให้ผู้เข้าชมผลงานได้สัมผัสถึงความหมายของการมีความหวัง โดยประกอบไปด้วยผลงานประเภทจิตรกรรมและประติมากรรมกว่า 50 ชิ้น ที่แตกต่างกันทั้งในด้านเทคนิค และกระบวนการสร้างสรรค์งาน ทว่าโดดเด่นและสะท้อนเอกลักษณ์ของศิลปินเจ้าของผลงานได้เป็นอย่างดี นิทรรศการ "ศิลปะความหวัง" ถ่ายทอดความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ ผ่านผลงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะตนของศิลปินทั้ง 4 ท่าน (รศ.ดร.สกนธ์ ภู่งามดี, นาวาโท กฤศ จินดารัตน์, สงกรานต์ เอี่ยมรอด และสถาพร เครือวัลย์) ทั้งนี้ มีพิธีเปิดนิทรรศการวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 16.00 น. โดยได้รับเกียรติจากคุณเยาวณี นิรันดร เป็นประธานในพิธี            อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี “Hope” by Hope 6  Exhibition dates 3rd - 31th July 2024 : 9 AM. - 4 PM. Closed on Monday - Tuesday and National holidays. At Building 6, The National Gallery of Thailand Opening Reception 18th July 2024 : 4 PM.


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๔  มีพระนามลำลองว่าทูลกระหม่อมบริพัตร ทั้งนี้ทางกองทัพเรือ ได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันบริพัตร” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระองค์ท่าน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระปรีชาสามารถในงานดนตรี พระองค์เป็นราชาแห่งดนตรีไทยและเพลงไทย พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ เป็นต้น ทรงได้รับการขนานพระนามเป็น “พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม” เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กรรณิการ์ ตันประเสริฐ.  จดหมายเหตุวังไกลกังวล สมัยรัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๘. กองทัพเรือ.  พระประวัติ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=YISxxFRzaLM, ๒๕๖๕. คณะทำงานการจัดการความรู้ กองดุริยางค์ทหารเรือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ.  ฐานข้อมูลเพลงพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.           [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.rtnsm.com/nms-military/index.html โบร่ำโบราณ.  ภาพวงดนตรีวังบางขุนพรหม.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.facebook.com/103533367701231/photos/a.105451777509390/258702022184364/?type=3 ภาพเก่าเล่าใหม่.  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,           จาก: https://www.facebook.com/111141453749361/photos/a.111164763747030/338635230999981/?type=3, ๒๕๖๔. วรชาติ มีชูบท.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี (๑).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,           จาก: https://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_63.htm สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,           จาก: http://rama5.flexiplan.co.th/en/gallery/search?cat_id=145 อินทุรัตนา, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า.  สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : กำสรวลสุรางค์ เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=NppqWjHtlHs, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูลกระหม่อมบริพัตร : แขกสาย เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=e0CFkHi5i1E, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : แขกสาหร่าย เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6k40lMErjHE, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูลกระหม่อมบริพัตร : ครวญหา เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6ZMrSkn-bGg, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูลกระหม่อมบริพัตร : เพลงอาเฮีย เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=ElrVzQwTp9k, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : สุรางค์จำเรียง เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=45OIVqw771w, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : อาถรรพ์ เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=Re9PECeFxIE, ๒๕๖๗.


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๔  มีพระนามลำลองว่าทูลกระหม่อมบริพัตร ทั้งนี้ทางกองทัพเรือ ได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันบริพัตร” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระองค์ท่าน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระปรีชาสามารถในงานดนตรี พระองค์เป็นราชาแห่งดนตรีไทยและเพลงไทย พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ เป็นต้น ทรงได้รับการขนานพระนามเป็น “พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม” เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กรรณิการ์ ตันประเสริฐ.  จดหมายเหตุวังไกลกังวล สมัยรัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๘. กองทัพเรือ.  พระประวัติ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=YISxxFRzaLM, ๒๕๖๕. คณะทำงานการจัดการความรู้ กองดุริยางค์ทหารเรือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ.  ฐานข้อมูลเพลงพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.          [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.rtnsm.com/nms-military/index.html โบร่ำโบราณ.  ภาพวงดนตรีวังบางขุนพรหม.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,        จาก: https://www.facebook.com/103533367701231/photos/a.105451777509390/258702022184364/?type=3 ภาพเก่าเล่าใหม่.  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,           จาก: https://www.facebook.com/111141453749361/photos/a.111164763747030/338635230999981/?type=3, ๒๕๖๔. วรชาติ มีชูบท.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี (๑).  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: https://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_63.htm สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,          จาก: http://rama5.flexiplan.co.th/en/gallery/search?cat_id=145 อินทุรัตนา, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า.  สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : กำสรวลสุรางค์ เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=NppqWjHtlHs, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูลกระหม่อมบริพัตร : แขกสาย เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=e0CFkHi5i1E, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : แขกสาหร่าย เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6k40lMErjHE, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูลกระหม่อมบริพัตร : ครวญหา เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6ZMrSkn-bGg, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูลกระหม่อมบริพัตร : เพลงอาเฮีย เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=ElrVzQwTp9k, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : สุรางค์จำเรียง เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=45OIVqw771w, ๒๕๖๗. Music of Prince Paribatra.  เพลงพระนิพนธ์ทูนกระหม่อมบริพัตร : อาถรรพ์ เถา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=Re9PECeFxIE, ๒๕๖๗.


          วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวเมษา ครุปิติ ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี รับมอบหนังสือเรื่องสั้น นวนิยาย 1 ชุด เขียนโดยอาจารย์วัธนา บุญยัง ซึ่งเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง โดยมีผู้แทนศิษย์เก่า ม.6/2 โรงเรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา คือ ดร.สุธิดา สุวรรณรังสี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนิติวิทยาศาสตร์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนพัต ธรรมเจริญพงศ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี เป็นตัวแทนผู้ส่งมอบ


วันที่ 26 มิถุนายน 2567 หน่วยงานได้จัดฉายภาพยนตร์ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี โครงการฉายภาพยนตร์วันสำคัญ ในวันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน เพื่อเป็นการส่งเสริมวรรณกรรมอมตะผลงานของสุนทรภู่ เป็นภาพยนตร์การ์ตูนจากนิทานคำกลอนวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณีตอน สุดสาครผจญภัย พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องประวัติสุนทรภู่ โดย ผอ.เมษา ครุปิติ ผอ.หอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี ได้กล่าวต้อนรับและกล่าววัตถุประสงค์ในการจัดโครงการแก่ครูและนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 1 ชั้นประถมศึกษาปีทั่ 4 (ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3) จำนวน 77 คน ที่มาร่วมชมภาพยนตร์ในวันสุนทรภู่ และชมวีดิทัศน์นำชมหอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี การจัดฉายภาพยนตร์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ให้ความสนใจมาใช้บริการห้องโสตทัศนวัสดุและคอมพิวเตอร์มากขึ้น 2.เพื่อส่งเสริมความรู้นอกสถานศึกษา ให้นักเรียน ได้สนใจ และได้รู้จักวันสำคัญเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นกวีเอก 4 แผ่นดิน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ “ยูเนสโก” ( UNESCO) ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2559 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ได้รู้จักประวัติของบรมครูสุนทรภู่ ได้รู้จัก วรรณกรรม วรรณคดีไทย อันทรง คุณค่าและเป็นอมตะของสุนทรภู่ ที่เป็นนิทานคำกลอนวรรณคดีไทย เรื่อง “พระอภัยมณี ตอนสุดสาครผจญภัย” ในรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูน 4. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ได้รักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการนำเสนอเพลง “สรรเสริญพระบารมี” ปิดท้ายภาพยนตร์ เพื่อแสดงความเคารพ 5. เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำหอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี ให้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย


สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้  เล่ม 5.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ: โครงการ          สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2553.  188 หน้า.  ภาพประกอบ.  80 บาท.      เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ความหมาย  ประโยชน์ หลักการ  แหล่งท่องเที่ยว ศักยภาพของประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนารูปแบบของการท่องเที่ยวนี้  เรื่องสัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน  สัตว์ในป่าชายเลนจัดสรรหน้าที่และบทบาทกันอย่างไรการเสื่อมของป่าชายเลน การอนุรักษ์ฟื้นฟูและปลูกป่าชายเลน  เรื่องสวนพฤกษศาสตร์  ความหมาย  ประโยชน์ ความสำคัญ องค์ประกอบหลัก การปลูกพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร              039.95911              พ978ส              ล.5                     (ห้องศาสตร์พระราชา)


กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.  น้ำอภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 วันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562.  นนทบุรี: ต้นฉบับ (2018), 2562.  256 หน้า.  ภาพประกอบ. สาระในเล่มเป็นงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช2562 พิธีทำน้ำอภิเษก ได้รวบรวมภาพถ่ายแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ประวัติความเป็นมาของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ขั้นตอนต่างๆในการดำเนินพิธีพลีกรรมตักน้ำ พิธีทำน้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษก พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษก  พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ วิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม  ริ้วขบวนเชิญน้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษกจากกระทรวงมหาดไทยไปยังวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามและจากวิหารหลวงไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 390.22 ส145น ฉ.2              (ห้องศาสตร์พระราชา)




Messenger