ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗
มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๖๗ คน
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เปิดโฉมใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย” วิทยากร นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา และนางเบญจวรรณ พลประเสริฐ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ภูพระ วัดศิลาอาสน์ ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
พระพุทธรูปที่ภูพระ เป็นศิลปะที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะท้องถิ่น คือ ทวารวดี ได้แก่ พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระขนงรูปปีกกา และศิลปะเขมรที่แพร่หลายเข้ามามาก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ได้แก่ แนวเส้นพระเกศา และเกตุมาลารูปกรวยคว่ำ สำหรับมงกุฎหรือกระบังหน้าที่ปรากฏบนพระพุทธรูปทรงเครื่องคล้ายกับที่พบจากพระพุทธรูปในศิลปะเขมรนครวัดหรือบายน ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 พระเจ้าองค์ตื้อ (พระตื้น ภาษาอีสานแปลว่า พระเจ้าองค์ใหญ่) องค์พระมีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม พระรัศมีเป็นรูปบัวตูมขนาดเล็ก พระเกศาเป็นเส้นยาว เรียงคล้ายเส้นผม พระขนงมีขนาดเล็กต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเล็กมองตรง พระนาสิกทรงสามเหลี่ยม พระโอษฐเล็ก พระกรรณยาว ครองจีวรห่มคลุม พระอังสายาว มีผ้าสังฆาฏิปลายตัดเป็นเส้นตรงยาวมาจรดพระนาภี ประทับนั้งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย ที่มีลักษณะพิเศษ คือ จะวางพระหัตถ์ซ้ายไว้บนพระเพลาแทนที่จะเป็นพระหัตถ์ขวาตามแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั่วไป
...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว
มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ...
สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง
ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
Tel : 044-471518 , 044-481024
E-Mail : fed_10@finrarts.go.th
Website : www.finearts.go.th/fad10
Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
เปิดจำหน่ายบัตรเข้าชม ปราสาทเมืองแขก ต. โคราช อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เร็ว ๆนี้
แนะนำหนังสือ เรื่อง บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่น ๆ
มูโอต์, อ็องรี. บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่น ๆ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.
บันทึกการเดินทางสำรวจราชอาณาจักรสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางของมูโอต์เป็นบันทึกส่วนตัวว่าด้วยการผจญภัยและประสบการณ์แปลกใหม่ยามอยู่ไกลบ้านไกลเมืองของผู้เขียน เป็นตัวอย่าง “หลักฐานชั้นต้น” ชิ้นสำคัญของงานเขียนในยุคอาณานิคมจากมุมมองของเจ้าอาณานิคม สะท้อนภาพความเป็นจริงของบ้านเมืองเมื่อ 150 ปีก่อน ตลอดจนความคิดเห็นต่อสังคม วิถีชีวิตท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐในสมัยนั้น
915.9
ม691บ
ห้องหนังสือทั่วไป 2
มรดกเมืองสระบุรี. นนทบุรี: ต้นฉบับ 2018, 2563.
ประมวลภาพมรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งของล้ำค่าของจังหวัดสระบุรี โดยรวบรวมจากหลากหลาย สถานที่ในจังหวัดสระบุรี ได้แก่ วัดต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์ และบ้านเรือนของประชาชนจากทุกอำเภอ ภาพที่นำมาจัดพิมพ์ บรรณาธิการได้จัดทำคำอธิบายไว้โดยสังเขป ภาพที่น่าสนใจ เช่น พระพุทธนวราชบพิตร พระคู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดสระบุรี ซึ่งประดิษฐานภายในห้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี จารึกพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และพระนามในพระบรมวงศานุวงศ์ต่าง ๆ ที่ได้โปรดให้จารึก ณ เชิงผาระหว่างพระพุทธไสยาสน์กับมณฑปพระพุทธฉาย วัดจันทบุรีและภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถหลังเก่า วาดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 3 รอยพระพุทธบาททองคำที่ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งพระพุทธบาท และภาพจิตรกรรมญี่ปุ่นเขียนกระจก เป็นต้น
959.316
ม192
ห้องหนังสือทั่วไป 2
โคะมุระซะกิ, มะยุมิ. คุยกับลูกด้วยวิธีชี้แนะดีกว่า. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2565.
หนังสือให้แนวคิดการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยวิธีชี้แนะ รวบรวมจากประสบการณ์ตรงของนักจิตวิทยาชาวญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองที่ประสบปัญหาในการเลี้ยงลูก เนื้อหาเน้นการสนทนาและยกตัวอย่างสถานการณ์ที่สร้างปัญหาระหว่างแม่ลูกอยู่เป็นประจำ พร้อมแนะแนวทางพูดคุยกับลูกเพื่อกำจัดปัญหาให้หมดไป ยกตัวอย่างวิธีการพูดที่ขัดขวางพัฒนาการของลูก และวิธีส่งเสริมให้ลูกเกิดพัฒนาการได้เป็นสองเท่า พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียดว่าแต่ละประโยคที่ผู้ปกครองพูดออกไปนั้นสื่อความหมายในทางจิตวิทยาอย่างไร หนังสือเล่มนี้แจกแจงเทคนิคการพูดไว้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหา และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
155.4
ค979ค
ห้องหนังสือทั่วไป 1
15 ครูภูมิปัญญาไทย ผู้อารักษ์พรรณพืช. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562.
หนังสือรวบรวมประวัติและองค์ความรู้จาก 15 ครูภูมิปัญญาไทย หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน ครูต้นแบบผู้สืบสานองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของแผ่นดินจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ซึ่งมีผลงานปรากฏเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากสังคม โดยได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาที่สืบสานแต่บรรพชนมาปรับประยุกต์ใช้เป็นฐานสำคัญของการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยให้ก้าวไกลสู่สากลในมิติที่หลากหลาย แบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ จำนวน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ
371.1
ส728
ห้องหนังสือทั่วไป 1
วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. ลายคำเมืองลำพูน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2566.
หนังสือบอกเล่าเรื่องราวของงานจิตรกรรมประเภทลายคำ ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมที่ใช้ตกแต่ง ศาสนสถานและศาสนวัตถุ โดดเด่นด้วยลวดลายสีทองบนพื้นแดงหรือดำ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความงดงาม สร้างศรัทธาในใจผู้คน และสร้างความกลมกลืนของตัวอาคาร ตลอดจนบอกเล่าคติความเชื่อและเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาผ่านลวดลายต่าง ๆ โดยหนังสือรวบรวมความรู้ ประวัติศาสตร์ของลายคำ เทคนิคการสร้างสรรค์ ชื่อเรียกลวดลาย พื้นที่ศึกษาลายคำในเมืองลำพูน ลายคำที่ปรากฏใน 36 วัดของเมืองลำพูน ลายคำประดับศาสนสถานและตกแต่งศาสนวัตถุในวัดเมืองลำพูน ตลอดจนการสร้างสรรค์ลายคำในปัจจุบัน
294.31872
ว212ล
ห้องหนังสือทั่วไป 1
มูลนิธิราชสกุลอาภากร. การบูรณะวิหารน้อย สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์ 1987, 2562.
หนังสือที่ระลึกเนื่องในการบูรณะวิหารน้อย สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับจัดพิธีการบำเพ็ญพระกุศลและบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสต่าง ๆ สำหรับทุกราชสกุลวงศ์ อาคารวิหารน้อยเป็นงานสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า โดดเด่นทั้งในด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบในเชิงกายภาพและความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ปรากฏในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย ประวัติสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประวัติเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ประวัติและการบูรณะวิหารน้อย พ.ศ. 2561 - 2562
294.31872
ก461
ห้องหนังสือทั่วไป 1