ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,933 รายการ

            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญร่วมฟัง Special Talk Show "นิทรรศการ '200 Years Journey Through Thai Modern Art History จากหลายมุมมอง” ในวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567 เวลา 9.30 - 11:00 น. ณ อาคารนิทรรศการถาวรชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ผ่านมุมมองของ Art Standers ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ 1. คุณนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2. คุณพิริยะ วัชจิตพันธ์ The Art Auction Center 3. ผศ.ดร.สิทธิธรรม โรหิตะสุข นักวิชาการ อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4. คุณสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2560 5. คุณวิลาสินี ทองศรี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : The National Gallery of Thailand 


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับความสนุกในรูปแบบต่าง ๆ  ในหัวข้อ "นววินายักยาตรา" ซึ่งเป็นกิจกรรมเนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันที่ ๗ - ๘ กันยายน และ ๑๑ - ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ สำหรับกิจกรรมที่ ๒ ในงานนี้ได้แก่ กิจกรรม "ตามรอยนววินายัก" เกมล่าหาตราประทับและสะสมสติ๊กเกอร์พระคเณศทั้ง ๙ โดยมีขั้นตอนการร่วมกิจกรรม ดังนี้              - ซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตร              - รับพาสปอร์ตได้ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท               - ไม่จำกัดจำนวนต่อคน              - เก็บตราประทับและสติ๊กเกอร์ที่ระลึกตามลายแทง              - เก็บสะสมให้ครบภายในวันที่ ๑๕ กันยายน เท่านั้น              - เมื่อเก็บครบทั้ง ๙ องค์แล้วนำพาสปอร์ตไปรับของรางวัล              - ค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม ชุดละ ๑๐๐ บาท              ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรม "นววินายักยาตรา" ณ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร สามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท เริ่มวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๗ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทาง Facebook Page : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 


             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การบรรยายทางวิชาการออนไลน์ ประจำปี ๒๕๖๗ ภายใต้โครงการจัดกิจกรรมเสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ วันที่ ๒๘ - ๒๙ สิงหาคม และ ๖ กันยายน ๒๕๖๗ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum (https://www.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum) พบกับการบรรยายที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๗  - เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “บ่อสามแสน แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองกำแพงเพชร” โดย นางสาวเมลดา มณีโชติ นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย - เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “ศิลาแลงแกร่ง แหล่งตัดศิลาแลงเมืองกำแพงเพชร” โดย นางสาวจินต์จุฑา เขนย นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย - เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. การบรรยาย เรื่อง “บันทึกจากรุ่นสู่รุ่น : สายตระกูลพระยากำแพงเพชร” โดย นางสาวนพรัตน์ รามสูต กุลทายาทเจ้าเมืองกำแพงเพชร วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๗  - เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “เครือข่ายการค้าโบราณ : กำแพงเพชร” โดย นายมนตรี ธนภัทรพรชัย ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย - เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “เครื่องถ้วยลายครามที่พบจากวัดอาวาสใหญ่” โดย นางสาวพรรณลักษณ์ พันธ์วนิชดำรง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย วันศุกร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๗  - เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “ฟิล์มกระจก มรดกความทรงจำแห่งโลก” โดย นางภาวิดา สมวงศ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มอนุรักษ์เอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  - เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “คุณค่าและการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุประเภทภาพถ่าย” โดย นางสาวอุไรวรรณ แสงทอง หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ - เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. การบรรยาย เรื่อง “บันทึกความทรงจำ : ภาพถ่ายแห่งเมืองกำแพงเพชร” โดย นางสาวเบญจวรรณ จันทราช หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย             ทั้งนี้ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐ หรือทางกล่องข้อความ เพจเฟซบุ๊ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum 


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ปิดให้บริการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2567 (หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย) เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เมืองน่าน ส่งผลให้เส้นทางโดยรอบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มีน้ำท่วมขังเป็นวงกว้าง  - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขออภัยมา ณ ที่นี้ -


             นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา โดยลงพื้นที่ตรวจสภาพปัจจุบันของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และร่วมประชุมติดตามการเสนอขึ้นทะเบียนวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก ร่วมกับกรมศิลปากร จังหวัดนครศรีธรรมราช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง              นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการประกาศรายชื่อในบัญชีชั่วคราวของมรดกโลก (Tentative List) เมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชได้วางแผนจะส่งร่างเอกสารฯ (Nomination Dossier) ฉบับสมบูรณ์ เพื่อขอรับการประเมินเบื้องต้น (Preliminary Assessment - PA) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร เป็นที่ปรึกษาแนะนำในการจัดทำเอกสารฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามมาตรฐานที่ศูนย์มรดกโลกกำหนด และจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ราวช่วงกลางเดือนกันยายน 2567 ทั้งนี้ การนำเสนอคุณค่าความสำคัญโดดเด่นระดับสากล (Outstanding Universal Value – OUV) ของวัดพระมหาธาตุฯ คือ เป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมที่แสดงถึงการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมจากการติดต่อทางทะเลในคาบสมุทรที่ต่อเนื่อง หลากหลาย และยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลายาวนานกว่า 1,500 ปี ซึ่งสะท้อนผ่านมรดกวัฒนธรรมทางศาสนาของวัดพระมหาธาตุฯ ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประเพณีวัฒนธรรม ปรากฏหลักฐานที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์พระบรมธาตุเจดีย์              นอกจากนี้ ยังได้ติดตามการเสนอขึ้นทะเบียนเมืองเก่าสงขลาเป็นมรดกโลก ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณารับรองการบรรจุแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะนี้จังหวัดสงขลาอยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารข้อมูลการเสนอแหล่งที่บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2570              “ภาคใต้ ยังไม่มีแหล่งมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก แต่มีแหล่งที่ได้รับการบรรจุรายชื่อในบัญชีชั่วคราวถึง  2 แหล่ง ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดันและสนับสนุนให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ตามนโยบาย 1 ภาค 1 มรดกโลก” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว 


“สุดาวรรณ” ห่วงสถานการณ์น้ำท่วมขังโบราณสถานน่าน พะเยา เชียงราย -กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานแพร่ มอบ สป.วธ. - กรมศิลปากรติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมตั้งศูนย์ประสานงาน ผลกระทบจากน้ำท่วมผ่านสายด่วนวัฒนธรรม 1765             นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด กรมศิลปากรรายงานว่าจากกรณีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง น้ำหลากท่วมทุ่งในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน พะเยาและเชียงราย ขณะนี้กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้ลงพื้นที่และประสานงานกับเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ได้รับรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งมีโบราณสถานคือ วิหารที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังน้ำท่วมขึ้นถึงภายในวิหาร แต่ยังไม่ถึงภาพจิตรกรรมซึ่งสูงกว่าระดับน้ำท่วมประมาณ 50 ซม ดังนั้น ภาพจิตรกรรม จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำท่วม 2.วัดภูมินทร์ อำเภอ เมือง จังหวัดน่าน โบราณสถานคือวิหารจตุรมุขที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ปู่ม่านย่าม่าน) ปัจจุบันน้ำยังท่วมไม่ถึงด้านบนวิหาร เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารที่มีฐานสูงและบันไดสูงไปถึงพื้นด้านบนวิหารน้ำจึงท่วมเพียงบันไดเท่านั้น และ 3.พิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ปัจจุบันน้ำยังไม่ท่วมเข้ามาในพื้นที่เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่สูงที่สุดของเมืองน่าน เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอดเวลาและให้นำรถยนต์เข้ามาจอดภายในได้ในช่วงนี้เพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินประชาชน            ขณะที่จังหวัดพระเยามีโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบคือ เมืองโบราณเวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำอิง น้ำจึงล้นฝั่งท่วมทั้งเมืองโบราณสถานจึงมีน้ำท่วมขังหลายแห่งแต่ไม่พบความเสียหายของตัวอาคาร ส่วนที่จังหวัดเชียงราย โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ คือวัดเสาหิน เป็น วิหารและเจดีย์ขนาดใหญ่ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่รอบอาคารแต่ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายของตัวอาคาร           นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า กรมศิลปากร ได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 2.รับฟังข้อมูลจากอาสาสมัครฯ ของกรมศิลปากรที่อยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.หลังจากน้ำลดให้เข้าพื้นที่สำรวจตรวจสอบสภาพและความเสียหายโดยด่วน โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน 4.วางมาตรการลดความเสี่ยงของโบราณสถานในช่วงฤดูฝนนี้ หากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องครั้งต่อไป เช่น ปกป้องน้ำไม่ให้ท่วมเข้าไปในอาคารโบราณสถานอีก หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และ 5.หากพบความเสียหายต่ออาคารโบราณสถานให้รีบแจ้งกรมศิลปากรเพื่อดำเนินการฉุกเฉินเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม รู้สึกเป็นห่วงและขอเป็นกำลังใจให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคน จึงได้ สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้สายด่วนวัฒนธรรม 1765 ในการรับแจ้งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลหน่วยงานในสังกัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน รวมไปถึงแหล่งโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อสรุปข้อมูลสำหรับลงพื้นที่สำรวจและตรวจสอบสภาพความเสียหายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย รวมถึงจัดทำแผนช่วยเหลือเบื้องต้น และบูรณะซ่อมแซมในอนาคตต่อไป


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๘๑๕ คน


วันพุธที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒ ห้อง โรงเรียนสุรวิทยาคาร อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๒๐ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายนพรัศม์ เมธีวราธนานันท์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ นางสาวอภิญญา สุขใหญ่ นางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๓๐ น.นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านเสาธงชัย ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑๑๕ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง นายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม



สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้  เล่ม11.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2554.  188 หน้า.  ภาพประกอบ.  80 บาท.      ให้ข้อมูลในเรื่อง เครื่องถม บอกความหมาย ประวัติ  การทำเครื่องถมในสมัยรัตนโกสินทร์    เรื่องเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องถ้วยบอกความหมาย การแบ่งประเภทของเครื่องปั้นดินเผา  วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ขั้นตอนในการผลิต  และแหล่งที่ขึ้นชื่อของเครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย  เรื่องเครื่องจักสานได้บอกความหมาย กำเนิดและวิวัฒนาการของเครื่องจักสาน  การพัฒนากรรมวิธีทำเครื่องจักสาน ทั้งของภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้  คุณค่าประโยชน์ของเครื่องจักสาน               039.95911              พ978ส              ล.11        (ห้องศาสตร์พระราชา)



สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้  เล่ม 12.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2553.  188 หน้า.  ภาพประกอบ.  80 บาท.           เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องช้าง  ม้า  และวัวควาย  ดั้งเดิมสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่า มีขนาดใหญ่  แต่มนุษย์สามารถนำมาฝึกใช้งานเป็นประโยชน์ได้หลายอย่างจนกลายเป็นสัตว์เลี้ยง  รายละเอียดมาพร้อมด้วยเรื่องราวการกำเนิด  วิวัฒนาการ  ลักษณะรูปร่าง  นิสัย  การเลี้ยงดู ของช้าง ม้า วัว ควาย  เมื่อได้อ่านเนื้อหาทั้งเล่มนี้แล้วทำให้ได้เรียนรู้และเข้าใจในสัตว์เลี้ยงเหล่านี้อย่างละเอียดมากขึ้น         039.95911         ส678         ล.12        (ห้องศาสตร์พระราชา)


สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้  เล่ม 13.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2554.  188 หน้า.  ภาพประกอบ.  80 บาท.         ข้อมูลในเล่มให้ความรู้เรื่อง บัว  เฟิร์น  และกล้วยไม้  เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  มีประวัติความเป็นมา  การปลูก  การขยายพันธุ์  อุปกรณ์และวัสดุหลักในการปลูก  การบำรุงรักษา  การใช้ประโยชน์  และเรื่องการอนุรักษ์ของบัว  เฟิร์น  และกล้วยไม้  อ่านรายละเอียดของไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มนี้ภายในหนังสือเล่มนี้พร้อมภาพที่สวยงามน่าชื่นชม         039.95911         ส678         ล.13        (ห้องศาสตร์พระราชา)


สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้  เล่ม 14.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับ             เยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2553.  188 หน้า.  ภาพประกอบ.  80 บาท.           มีเนื้อหาประกอบด้วยเรื่อง  อากาศยานความหมายและประเภทของอากาศยาน  องค์ประกอบ  การพัฒนา  ท่าอากาศยานและกิจการบินในประเทศไทย    เรื่องรถไฟให้ความหมายประวัติของรถไฟ  ส่วนประกอบที่สำคัญของการเดินรถไฟ  รถไฟฟ้า  รถไฟความเร็วสูง  รถไฟฟ้าแม่เหล็ก  การบริหารงานของการรถไฟไทย  เรื่องรถยนต์ให้ข้อมูลประวัติความเป็นมาของรถยนต์  ประเภทรถยนต์  เชื้อเพลิง  รถยนต์ในประเทศไทย   รภยนต์กับพลังงานทดแทนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  039.95911         ส678         ล.14        (ห้องศาสตร์พระราชา)


Messenger