ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,922 รายการ




วันที่ 19 กันยายน 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาให้การต้อนรับคณะครู และน้อง ๆ นักเรียน จากโรงเรียนวัดโคกโก อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาสจำนวน 135 คน


ขอเชิญร่วมกิจกรรม "ปลาดุ๊กดิ๊ก งานประดิษฐ์จากกระดาษ Moving Paper Fish" - ในโครงการ KIDsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี -อุปกรณ์ฟรี -สอนฟรี -แล้วพบกันนะคะ


วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ “รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี” ประเภทนวัตกรรมบริการ ผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ให้แก่หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศ ซึ่งผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการ ที่มีการพัฒนาการให้บริการด้วยการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการนำแนวคิด องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจ ถือได้ว่าเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง


วันเสาร์ที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสิรินธร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๒๐ คน คุณครู ๓๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีพนักงานพิพิธภัณฑ์ทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๑,๑๒๒ คน


วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น.นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านจารพัด ตำบลจารพัด อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๗๕ คน คุณครู ๑๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาวัฒนธรรม และพนักงานประจำห้องทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม



            นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 “รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี” ประเภทนวัตกรรมบริการ ผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี             สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ให้แก่หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศ ซึ่งผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการ ที่มีการพัฒนาการให้บริการด้วยการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการนำแนวคิด องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจ ถือได้ว่าเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง            AR Smart heritage เป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้ได้กับโทรศัพท์ Smart Phone และ Tablet บนระบบ Android และ iOS ซึ่งกรมศิลปากร โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมได้พัฒนาขึ้น เพื่อสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ในการท่องเที่ยวโบราณสถานผ่านสื่อเทคโนโลยีระบบ AR หรือ Augmented Reality ภายใต้แนวความคิดเรื่องการย้อนรอยความรุ่งเรืองในอดีต สู่ความภาคภูมิใจในปัจจุบัน โดยนำรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานมาผสานเข้ากับโบราณสถานในสถานที่จริง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้จินตนาการถึงความรุ่งเรือง ความงดงามของสถาปัตยกรรมไทยและความยิ่งใหญ่แห่งมรดกโลกของไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมีรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถาน รวมทั้งสิ้น 36 แห่ง ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับการชมโบราณสถานในรูปแบบใหม่ได้อย่างเต็มอิ่มและมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าและคุณค่า ให้แก่แหล่งโบราณสถาน กระตุ้นให้นักท่องเที่ยว ผู้เข้าชมโบราณสถานเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติม เข้าใจในรูปแบบของโบราณสถานและสถาปัตยกรรมไทยมากยิ่งขึ้น



             เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์   A Passage to Wisdom” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “มองอนาคตของพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษหน้า” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ในวาระครบรอบ 150 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง    มิวเซียม ณ หอคองคอเดีย และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2417  “พิพิธภัณฑ์ไทย” จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติ ที่สะท้อนภาพชาวสยามในการศึกษาหาความรู้ในกิจการต่าง ๆ และร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองสู่ความ “ซิวิไลซ์” ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงเป็นโอกาสพิเศษที่คนพิพิธภัณฑ์ และผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์สร้างสรรค์จากพิพิธภัณฑ์ผ่านมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันแห่งองค์ความรู้สำหรับประชาชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืน      กิจกรรม “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์  A Passage to Wisdom” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึง 20.00 น. ประกอบด้วย               1. การเสวนาและการบรรยายจากผู้บริหารองค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ของไทย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์ที่จะมาร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ สู่สาธารณชน อาทิ การเสวนาเรื่อง “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์: A Passage to Wisdom” การบรรยายเรื่อง “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” การบรรยายเรื่อง   “20 ปี พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครหรือรับชมผ่าน LIVE ทาง Facebook และ Youtube : Office of National Museums, Thailand 2. การจัดแสดงนิทรรศการพิเศษกับวัตถุสะสมชิ้นพิเศษจากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย 24 แห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน พิพิธบางลำพู กรมธนารักษ์ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด               3. การออกร้านกิจกรรมพิเศษและการจำหน่ายของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายอีก 20 แห่ง  อาทิ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย  4. ตลาดสินค้าสร้างสรรค์ประเภทอาร์ตทอย                 นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังจัดให้มีกิจกรรม Museum Talk ยามค่ำ และเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night Museum พร้อมทั้งนำชมพิพิธภัณฑ์ในหัวข้อ "เปิดกรุพิศวง : ปริศนาที่มาโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ Cabinets of Curiosities" ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ ณ จุดลงทะเบียนศาลาลงสรง ตั้งแต่เวลา 17.00 น. (ไม่รับลงทะเบียนล่วงหน้า)              ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทาง Facebook : Thai Museum Day https://www.facebook.com/thaimuseumday และ Facebook : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร https://www.facebook.com/eduNMB



            สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้ชื่นชอบงานอาร์ตทอย ร่วมลุ้นสุ่มกาชาปองชุดพิเศษ “ร้อยพิพิธ”จัดทำโดย มือกระบี่ มาในธีม Cabinet of Curiosity เฉลิมฉลอง 150 ปี กิจการพิพิธภัณฑ์ไทย มีทั้งหมด 9 แบบ พร้อมการ์ด วันละ 120 จุ่ม ราคาจุ่มละ 100 บาท เท่านั้น หากท่านใดจุ่มถึง 9 ตัว แบบใดก็ได้ สามารถแลกซื้อกล่องมินิมิวเซียม ในราคา 299 บาท แต่ถ้าแยกซื้อต่างหาก จำหน่ายในราคา 399 บาท เริ่มจุ่มเวลา 10.00 น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 และบริเวณด้านหน้ามิวเซียมชอป วันที่ 22 กันยายน 2567


Messenger