ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,988 รายการ
สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแนวทาง ความคิดเห็น การกำหนดเฉดสีอาคาร ในการดำเนินงานอนุรักษ์รื้อฟื้นอาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ฯ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวัดแพร่ (บ้านเขียว) โดยสามารถแสดงความคิดเห็นใน Facebook Page : สวนรุกขชาติเชตวัน Cheatawan Arboretum ตามลิ้งนี้ https://www.facebook.com/share/p/soWMpieoTWDV982h/?mibextid=ZbWKwL
ทุกความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนรัตนบุรี ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๐ คน คุณครู ๒ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๑,๖๕๐ คน
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย วิทยากร นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล ผู้อำนวยการกลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ, นางสาวทรายทอง ทองเกษม นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มบริหารเอกสาร และนางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนิทรรศการพิเศษ ”เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม“ นำเสนอสุดยอดเอกสารสำคัญในความดูแลของกรมศิลปากรฉบับจริง ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน บอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่- “จารจารึกบันทึกสยาม” ภาพรัฐจารีตถึงรัฐสมัยใหม่ก่อนปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕- “แผนภูมิของแผ่นดิน” การจัดทำแผนที่ยุคต่างๆ และสัญลักษณ์ของเมือง- “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” เรื่องกระบวนการยุติธรรมและการต่างประเทศ- “เมื่อแรกมีการพิมพ์” การเข้ามาของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก- “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” การออกแบบก่อสร้างอาคารสมัยใหม่- “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำภายในนิทรรศการจัดแสดงต้นฉบับเอกสารสำคัญ อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงจีนว่าด้วยตอบก้อง ต้นฉบับหนังสือสมุดไทยดำเรื่องสามก๊ก คัมภีร์อัลกุรอานโบราณ บทละครพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ราชกิจจานุเบกษาฉบับแรก แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปรษณียบัตรเสด็จประพาสยุโรป และอีกมากมายที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์ – อังคาร)ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนิทรรศการพิเศษ ”เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม“ นำเสนอสุดยอดเอกสารสำคัญในความดูแลของกรมศิลปากรฉบับจริง ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน บอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่- “จารจารึกบันทึกสยาม” ภาพรัฐจารีตถึงรัฐสมัยใหม่ก่อนปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕- “แผนภูมิของแผ่นดิน” การจัดทำแผนที่ยุคต่างๆ และสัญลักษณ์ของเมือง- “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” เรื่องกระบวนการยุติธรรมและการต่างประเทศ- “เมื่อแรกมีการพิมพ์” การเข้ามาของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก- “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” การออกแบบก่อสร้างอาคารสมัยใหม่- “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำภายในนิทรรศการจัดแสดงต้นฉบับเอกสารสำคัญ อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงจีนว่าด้วยตอบก้อง ต้นฉบับหนังสือสมุดไทยดำเรื่องสามก๊ก คัมภีร์อัลกุรอานโบราณ บทละครพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ราชกิจจานุเบกษาฉบับแรก แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปรษณียบัตรเสด็จประพาสยุโรป และอีกมากมายที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์ – อังคาร)ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยกองโบราณคดี ได้ดำเนิน “โครงการศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร และพัฒนาการชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและความร่วมมือในการดำเนินงานจาก “มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา”
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การดำเนินงานในระยะแรก จะเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพื้นที่โบราณสถานหรือเขตพุทธาวาสของวัดจักรวรรดิราชาวาส ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – 12 เมษายน 2567 ซึ่งทางวัดจักรวรรดิได้ขอให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินงานโบราณคดี เพื่อนำข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีไปใช้ในการออกแบบบูรณะโบราณสถานและการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในพื้นที่โบราณสถานวัดจักรวรรดิราชาวาส เพื่อรักษาศาสนสมบัติและมรดกวัฒนธรรมให้ยั่งยืน โดยรูปแบบการดำเนินงานทางโบราณคดีของโครงการ จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง เปิดโอกาสให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาร่วมสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้นักโบราณคดีรุ่นใหม่ได้เข้ามาฝึกฝนและเรียนรู้ประสบการณ์จริงในการทำงานภาคสนามทางโบราณคดี ส่วนการสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ มุ่งเน้นศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนประวัติศาสตร์เมืองบางกอก โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลย่านสำเพ็ง เยาวราช และตลาดน้อย เพื่อเป็นทุนทางวัฒนธรรมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณภาพของสังคมในย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน
วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือวัดสามปลื้ม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร มีประวัติว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับชุมชนบางกอกและสำเพ็งมายาวนาน มีปูชนียวัตถุสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์หลายประการ เช่น วิหารพระนาก พระอุโบสถ พระวิหารกลาง พระปรางค์และมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รวมถึงรูปเหมือนพระพุฒาจารย์มา หรือท่านเจ้ามา และรูปเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นต้น
บรรเจิด สิคะเนติ. ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560: หลักนิติธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565. 102 หน้า. 46 บาท.
เนื้อหาประกอบด้วย บทคัดย่อ Abstract การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ข้อ คือ หลักนิติธรรมในมิติระหว่างประเทศ หลักนิติธรรมในฐานะเป็นหลักการพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม ในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศและรัฐธรรมนูญของไทย เรื่องแนวคิดในการบัญญัติหลักนิติธรรมในระบบกฎหมายไทย
340.1
บ153ป
ฉ.01-ฉ.02
ห้องค้นคว้า เดือน มี.ค.67
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. รายงานประจำปี 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2566. 118 หน้า. ภาพประกอบ.
หนังสือรายงานผลการดำเนินในรอบปี2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเนื้อหาประกอบด้วย สารรัฐมนตรี สารปลัดกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เครื่องหมายราชการและคำอธิบาย หน้าที่และอำนาจ โครงสร้างกระทรวง บทนำ และผลงานอว.ประจำปีงบประมาณ 2565 ยุทธศาสตร์อว.และแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 แนะนำหน่วยงานในสังกัด
อ
354.5930688
ก528ก
ห้องค้นคว้า เดือน มี.ค.67
Pharmacognostic Specification of Thai Crude Drugs Bangkok: Institute of Health Research, Chulalongkorn University, 2013. 403 p.
ill.
เป็นหนังสือภาษาอังกฤษที่รวบรวมสมุนไพรไทย กว่า 50 ชนิด จัดเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ภายในเล่ม ประกอบด้วย PREFACE PROCEDURES ข้อมูลประกอบสมุนไพรได้แก่ ชื่อสมุนไพร(ภาษาไทย) ชื่อเรียกปกติ ชื่ออื่นๆ ชื่อวิทยาศาสตร์ ตระกูล พบได้ ส่วนที่ประโยชน์ สมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ ภาพขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ และ ภาพขยายเนื้อเยื่อ การทดสอบทางเคมี พร้อมภาพประกอบ เช่น Acorus calamus(ว่านน้ำ) เป็นต้น
R
615.321
p536
V.02 C.01- C.02
ห้องค้นคว้า เดือน มี.ค.67
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นิทรรศการพิเศษ ”เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม“ นำเสนอสุดยอดเอกสารสำคัญในความดูแลของกรมศิลปากรฉบับจริง ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน บอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่
- “จารจารึกบันทึกสยาม” ภาพรัฐจารีตถึงรัฐสมัยใหม่ก่อนปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕
- “แผนภูมิของแผ่นดิน” การจัดทำแผนที่ยุคต่างๆ และสัญลักษณ์ของเมือง
- “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” เรื่องกระบวนการยุติธรรมและการต่างประเทศ
- “เมื่อแรกมีการพิมพ์” การเข้ามาของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก
- “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” การออกแบบก่อสร้างอาคารสมัยใหม่
- “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำ
ภายในนิทรรศการจัดแสดงต้นฉบับเอกสารสำคัญ อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงจีนว่าด้วยตอบก้อง ต้นฉบับหนังสือสมุดไทยดำเรื่องสามก๊ก คัมภีร์อัลกุรอานโบราณ บทละครพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ราชกิจจานุเบกษาฉบับแรก แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปรษณียบัตรเสด็จประพาสยุโรป และอีกมากมายที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย
เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์ – อังคาร) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Fackbook : กลุ่มเผยแพร่ฯกรมศิลปากร