ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,965 รายการ
รพินทรนาถ ฐากูร. ปรัชญานิพนธ์ สาธนา. กรุงเทพฯ: ภารตะ, 2554.
หนังสือจัดพิมพ์เนื่องในวาระฉลอง 150 ปีชาตกาล เมธีแห่งปราชญ์รพินทรนารถ ฐากูร โดยอาจารย์ระวี ภาวิไล ได้แปลถอดความจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ “The Realisation of Life” ผู้เขียนได้แสดงโลกทัศน์และชีวทัศน์ของท่านตามแนวปรัชญาฮินดูไว้อย่างละเอียดพิศดารในปรัชญานิพนธ์ สาธนา นี้ แม้งานชิ้นนี้จะเป็นร้อยแก้วแต่ก็มีลีลางดงามอันแสดงถึงวิญญาณกวีของผู้รจนา “สาธนา” จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นกุญแจไขไปสู่ความเข้าใจกวีนิพนธ์ “คีตาญชลี” ซึ่งเป็นงานชิ้นสำคัญที่ทำให้ท่านรพินทรนารถได้รับรางวัลโนเบล รวมถึงงานนิพนธ์อื่นๆ และในขณะเดียวกันงานชิ้นนี้ก็เป็นแบบฉบับแสดงโลกทัศน์และชีวทัศน์ของปราชญ์ฮินดูปัจจุบันทั่วไปด้วย
181
ร144ป
ห้องหนังสือทั่วไป 1
นวลศิริ ไวทยานุวัตติ, มนัส จรรยงค์, ผู้แต่งรวม. ณ เส้นขอบฟ้า สามี...ภรรยา. กรุงเทพฯ: ณ เพชร, 2553.
หนังสือบอกเล่าเรื่องราวชีวประวัติของพระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) และคุณหญิงสุรพันธเสนี (นิ่ง บุนนาค) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แยกปกหน้าหลัง ด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวของพระยาสุรพันธเสนี รวบรวมเนื้อหาจากหนังสือเรื่องสามี บันทึกความทรงจำในอดีตของของพันเอกพระยาสุรพันธเสนี เพื่อใช้เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของตัวท่าน ซึ่ง “มนัส จรรยงค์” ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ ส่วนปกอีกด้าน เป็นเรื่องราวของ “คุณหญิงสุรพันธเสนี” ซึ่งหลานสาว “นวลศิริ ไวทยานุวัตติ” เขียนเรียบเรียงขึ้นจากบันทึกและการสนทนากับคุณยาย นอกจากเนื้อหาจะกล่าวถึงอัตชีวประวัติของบุคคลทั้งสองท่าน ยังได้บันทึกถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น ตลอดจนเรื่องราวความรัก บางแง่มุมของชีวิต เหตุการณ์ สถานที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพของประวัติศาสตร์ ณ ช่วงเวลานั้นได้อย่างชัดเจน
923.5593
น347ณ
ห้องหนังสือทั่วไป 2
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. วัดร้างในบางกอก. กรุงเทพฯ: มติชน, 2559.
วัดร้างในบางกอก เป็นหนังสือรวมงานค้นคว้าวิจัยของประภัสสร์ ชูวิเชียร ที่ได้จากการสำรวจวัดร้างในเขตกรุงเทพฯ โดยรวมทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศได้ให้คำอธิบายไว้ในคำนำเสนอของหนังสือว่าวัดร้างในชื่อหนังสือวัดร้างในบางกอกนี้มีอย่างน้อย 2 ความหมาย ได้แก่ วัดในชุมชนดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 ที่เคยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดร้าง และวัดเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 หรือบางวัดอยู่ปลายอยุธยา ซึ่งล้วนเคยเป็นศูนย์กลางของชุมชน หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหาด้วยการเล่าเรื่องอย่างง่ายๆ เข้าถึงกับคนทุกกลุ่ม ทุกชนชั้น พร้อมภาพประกอบและแผนที่ตั้งของวัด
294.3135
ป338ว
ห้องหนังสือทั่วไป 1
มังเกล, อัลเบร์โต. โลกในมือนักอ่าน. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป, 2564.
โลกในมือนักอ่าน โดย อัลเบร์โต มังเกล ร้อยเรียงประวัติศาสตร์การอ่านกว่า 6,000 ปีที่ดำเนินผ่านบทสนทนาระหว่างถ้อยคำ ผู้คน และชีวิต นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มถอดความหมายผ่านดวงตา ละเลียดสุนทรียะแห่งการอ่านตามลำพัง เสพมนตร์ขลังของการอ่านออกเสียง ต่อยอดสู่การอ่านเพื่อทำนายอนาคต การกำเนิดหอสมุดยุคโบราณโดยนักบัญญัติจักรวาล ตลอดจนการพลิกแพลงโวหารผ่านงานแปลอันรุ่มรวย ผู้แปลได้จัดทำดัชนีไว้ในบันทึกท้ายบท พร้อมเครดิตของภาพประกอบไว้ท้ายเล่ม
028
ม312ล
ห้องหนังสือทั่วไป 1
นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พงศาวดารไทใหญ่. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2561.
หนังสือให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับไทใหญ่ มีข้อมูลที่น่าสนใจโดยเฉพาะยุคต้นของการเป็นอาณาจักรของคนไทใหญ่ และเรื่องราวปลีกย่อยเกี่ยวกับเมืองของคนไทใหญ่ รวมถึงเนื้อหาด้านประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวไทใหญ่ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ทรงพระนิพนธ์ถึงได้อย่างน่าสนใจ การจัดพิมพ์ครั้งนี้สำนักพิมพ์ศรีปัญญาได้ใช้ต้นฉบับในการพิมพ์ขององค์การค้าคุรุสภามาเปรียบเทียบกับฉบับพิมพ์ครั้งในแรก ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาที่สมบูรณ์เข้าไปใหม่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และได้มีการแก้ไขคำบางคำที่เป็นที่รับรู้กันในปัจจุบันให้เป็นคำที่สื่อในปัจจุบันแล้วเข้าใจได้ทันที โดยไม่ทำให้ผู้อ่านสับสน
306.089593
น234พ
ห้องหนังสือทั่วไป 1
จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2562.
บทวิเคราะห์ทางนิรุกติศาสตร์ และภาษาศาสตร์สังคม ว่าด้วยความเป็นมาของชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม เนื้อหาประกอบด้วย 3 ภาค ได้แก่ พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ ชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม และข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม เป็นผลงานค้นคว้าที่โดดเด่นเล่มหนึ่งของ จิตร ภูมิศักดิ์ และเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
495.912
จ433ค
ห้องหนังสือทั่วไป 1
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมเฉลิมฉลองกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567 Museums for Education and Research พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย พบกับเวทีการบรรยายและเสวนา โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งผู้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้ พร้อมเบื้องหลังแนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในฐานะผู้ให้บริการทางการศึกษาและวิจัยอย่างแท้จริง จัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 – 12.30 น. สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และ Youtube : Office of National Museums, Thailand
กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย, สมาชิก ICOM Thailand, ผู้ปฏิบัติงานและครีเอเตอร์ด้านพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นิทรรศการ และหอศิลป์, ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์, นักวิชาการศึกษา นักเรียน นักศึกษา โดยมีหัวข้อการบรรยายและการเสวนาที่น่าสนใจ ดังนี้
- “นโยบายการศึกษาและวิจัยของกรมศิลปากร”โดย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
- “มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023” โดย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- “Weaving Connections Lessons on Museum Education Outreach From National Taiwan Museum” โดย Ms. Hui-Shin FANG (Phaedra) Education Department, NTM} Ms. Emily Hsu-Wen YUAN/ Education Department., NTM, Ms. Chao-Ling KUO/ Exhibition Planning Dep., NTM, Ms. Busabong Chaiyanan/ NTM International Docent พบกับภัณฑารักษ์ คณะทำงานจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไต้หวัน ที่มาร่วมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑสากลในปีนี้กับหัวข้อ “เชื่อมต่อทอสัมพันธ์ : ถอดบทเรียนในการเผยแพร่ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไต้หวัน” นำเสนอวิธีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ อย่างไร ให้สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างทั่วถึง
- “พื้นที่ให้เล่า : เล่าเรื่องประวัติศาสตร์อย่างไรให้น่าสนใจ” โดย นางสาวมนสิชา รุ่งชวาลนนท์ เจ้าของ Facebook Page “พื้นที่ให้เล่า” ซึ่งจะมานำเสนอวิธีการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วัตถุสิ่งของ และพิพิธภัณฑ์ นำมาตีความเล่าเรื่อง จับประเด็นเชื่อมโยงระหว่างอดีตและปัจจุบันในมิติต่างๆ อย่างไรให้น่าสนใจ จนมีผู้ติดตามทางเพจแล้วมากกว่า 100,000 คน
- “เที่ยวพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกไปกับ Google” โดย นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว อดีตผู้บริหารบริษัท Google Thailand จำกัด จะมานำเสนอบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของ Google ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงพิพิธภัณฑ์และคอลเลกชันทั่วโลกได้แบบไม่มีวันหยุด พร้อมแนะนำเทคนิคการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไรกับงานด้านศิลปวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- “กิจกรรมการศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ : ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ในสังคมแห่งการเรียนรู้” โดย นางสาวณชนก วงศ์ข้าหลวง ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งจะมานำเสนอกิจกรรมเพื่อการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบ Hands-on Experience ว่ามีส่วนสำคัญอย่างไรในการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของผู้ปฏิบัติ
- “กิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริม Soft Power จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” โดย นางสาววัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา, ดำเนินรายการโดย นางสาวเพียงพิศ ส่งเสริม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พบกับภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จะมาแนะนำกระบวนการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ผ่านกิจกรรมการศึกษา รวมถึงวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ จากต้นทุนทางวัฒนธรรมภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
- “ฟื้นชีวิตโรงกลึงเก่า สู่พิพิธตลาดน้อย” โดย นางสาวนภาพร ลิขิตเรืองศิลป์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์, นายจุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้แทนจากชุมชนตลาดน้อย, ดำเนินรายการโดย นายอรรณพ แจ้งสว่าง ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งจะมาบอกเล่าเบื้องหลังการจัดตั้งพิพิธตลาดน้อย ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนที่ร่วมกันรังสรรค์ “โรงกลึงเก่า” ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า และสามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชนได้อย่างไร
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live “Office of National Museums, Thailand” https://www.facebook.com/onmthailand และทาง Youtube “Office of National Museums, Thailand” https://www.youtube.com/@officeofnationalmuseumsthai
เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกในบริบทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : หลักการ ระเบียบวิธี และมาตรการลดความเสี่ยง (Training Workshop on Heritage Impact Assessment: Principles, Methodology, and Mitigation Measures)