ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,965 รายการ







          วันอังคารที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีรับมอบโบราณวัตถุ จำนวน ๒ รายการ  จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นาย John Guy ผู้แทนพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธีรับมอบ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า โบราณวัตถุที่ประเทศไทยได้รับคืนจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันสหรัฐอเมริกา ครั้งนี้ ถือเป็นสมบัติของประชาชนชาวไทยทุกคน เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของดินแดนประเทศไทยในอดีตเมื่อกว่าพันปี จัดเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชาติ ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจ โดยท่านนายกได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก จึงมอบหมายให้มารับโบราณวัตถุดังกล่าว            ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้รับการประสานจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา ว่ามีความประสงค์ส่งมอบโบราณวัตถุ จำนวน ๒ รายการ คืนให้กับประเทศไทย ประกอบด้วย ประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ (The Standing Shiva) หรือ ที่รู้จักกันในนาม โกลเด้นบอย (Golden Boy) และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ (The Kneeling Female) เนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันพบว่า โบราณวัตถุดังกล่าว ถูกลักลอบนำออกนอกราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย จึงได้ถอดโบราณวัตถุทั้ง ๒ รายการ ออกจากบัญชีของพิพิธภัณฑ์ และประสานขอส่งคืนให้ประเทศไทย เพื่อแสดงถึงการที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ให้ความสำคัญกับที่มาอันถูกต้องของโบราณวัตถุในครอบครอง ซึ่งผลการประสานงานเป็นไปด้วยดี กระทั่งพิพิธภัณฑ์ได้ส่งโบราณวัตถุกลับคืนถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗           โดยกรมศิลปากรจะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าชมความงามของโบราณวัตถุทั้ง ๒ รายการ พร้อมทั้งเคลื่อนย้ายประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ขุดพบจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับประติมากรรมโกลเด้นบอย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มาจัดแสดงร่วมกัน  ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร) ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท พระศิวะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย สมัยเมืองพระนคร แบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (ประมาณ ๙๐๐ ปีมาแล้ว) สำริดกะไหล่ทอง ประดับตกแต่งด้วยการฝังเงิน สูง (รวมเดือย) ๑๒๘.๙ กว้าง ๓๕.๖ ลึก ๓๔.๓ ซ.ม. สูงไม่รวมเดือย ๑๐๕.๔ ซ.ม.   ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นรูปสำริดที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังหลงเหลือจากสมัยเมืองพระนคร เป็นประติมากรรมกลุ่มเล็กๆ ที่มีการหล่อด้วยโลหะเป็นเทพในศาสนาฮินดูที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมเนียมของราชสำนัก พบในกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แม้ว่าประติมากรรมจะถูกติความไว้ว่าเป็นพระศิวะ แต่ท่าทางของพระหัตถ์ทั้งสองที่แตกต่างจากประติมากรรมโดยทั่วไปที่มักจะถือสัญลักษณ์ของพระศิวะ ประติมากรรมนี้จึงอาจหมายถึงพระศิวะในภาคมนุษย์ที่ไม่ค่อยพบในศิลปะเขมรทั่วไปอาจมีความเป็นไปได้ว่าถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์สองอย่างคือ เป็นรูปเคารพเพื่อบูชาในศาสนสถานประจำราชวงศ์ หรือเป็นรูปเคารพของบูรพกษัตริย์ ประติมากรรมรูปสตรีนั่งชันเข่าพนมมือ ศิลปะเขมรในประเทศไทย สมัยเมืองพระนคร แบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (ประมาณ ๙๐๐ ปีมาแล้ว) สำริด ประดับตกแต่งด้วยการฝังเงิน มีร่องรอยกะไหล่ทอง สูง ๔๓.๒ กว้าง ๑๙.๗ ซ.ม.    ประติมากรรมนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระราชเทวี หรือสตรีชั้นสูงในราชสำนักสวมเครื่องประดับ ประทับชันเข่าพนมมือแสดงความเคารพแด่เทพเจ้า ที่ดวงตาและคิ้วมีร่องรอยการฝังด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นแก้วสีดำ -------------------------------------------             On Tuesday, May 21, 2024, at 2:00 p.m., Ms. Sudawan Wangsupakitkosol, Minister of Culture, presided over the handover ceremony of the two artifacts from the Metropolitan Museum of Art in the United States to Thailand at the Issara Winitchai Throne Hall, the National Museum, Bangkok. Furthermore, Dr. Yupha Taweewattanakitborvon, the Permanent Secretary for Culture, Mr. Phnombootra Chandrajoti, Director-General of the Fine Arts Department, and Mr. John Guy, the representative of Metropolitan Museum of Art as well as members of the Committee for Repatriation of Thai Antiquities from the Foreign Countries, executive officer and officials from the Fine Arts Department were present for this special event.   Ms. Sudawan stated that the artifacts that Thailand obtained back from the Metropolitan Museum of Art are considered the property of all Thai citizens. These artifacts serve as evidence of Thailand's prosperity over a thousand years ago and are recognized as a significant part of the nation's cultural heritage, deserving of great pride.    In December 2023, The Metropolitan Museum of Art in the United States reached out to the Fine Arts Department of the Ministry of Culture and proactively proposed the return of two objects to Thailand. These items include a bronze sculpture the “Standing Shiva?” or Golden Boy, and a sculpture of the “Kneeling Female.” The Metropolitan Museum of Art determined that these artifacts had been illegally smuggled out of Thailand. Consequently, the museum deaccessioned both items of antiquities from its collection and proposed to return them to Thailand. This act demonstrates the museum’s commitment to the rightful origins of the artifacts in its possession. The coordination was successful, and the museum brought the antiquities back to Thailand on May 20, 2024.   The Fine Arts Department will provide an opportunity for the public to view the beauty of the two returned antiques. Additionally, a large bronze sculpture unearthed from Prasat Sa Kamphaeng Yai in Sisaket Province, which has a similar style to the Golden Boy sculpture, will be relocated from the Phimai National Museum to be exhibited alongside these artifacts. The exhibition will take place at the Lopburi Room, Mahasurasinghanat Building, in the National Museum, Bangkok, starting from 22 May 2024.  


          กรมศิลปากรเปิดให้ประชาชนเข้าชมความงามของโบราณวัตถุ จำนวน ๒ รายการ ที่ได้รับคืนพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา ทั้งประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ (The Standing Shiva) หรือ ที่รู้จักกันในนาม โกลเด้นบอย (Golden Boy) และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ (The Kneeling Female) พร้อมทั้งเคลื่อนย้ายประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ขุดพบจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับประติมากรรมโกลเด้นบอย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มาจัดแสดงร่วมกัน ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท พระศิวะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย สมัยเมืองพระนคร แบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (ประมาณ ๙๐๐ ปีมาแล้ว) สำริดกะไหล่ทอง ประดับตกแต่งด้วยการฝังเงิน สูง (รวมเดือย) ๑๒๘.๙ กว้าง ๓๕.๖ ลึก ๓๔.๓ ซ.ม. สูงไม่รวมเดือย ๑๐๕.๔ ซ.ม.   ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นรูปสำริดที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังหลงเหลือจากสมัยเมืองพระนคร เป็นประติมากรรมกลุ่มเล็กๆ ที่มีการหล่อด้วยโลหะเป็นเทพในศาสนาฮินดูที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมเนียมของราชสำนัก พบในกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แม้ว่าประติมากรรมจะถูกติความไว้ว่าเป็นพระศิวะ แต่ท่าทางของพระหัตถ์ทั้งสองที่แตกต่างจากประติมากรรมโดยทั่วไปที่มักจะถือสัญลักษณ์ของพระศิวะ ประติมากรรมนี้จึงอาจหมายถึงพระศิวะในภาคมนุษย์ที่ไม่ค่อยพบในศิลปะเขมรทั่วไปอาจมีความเป็นไปได้ว่าถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์สองอย่างคือ เป็นรูปเคารพเพื่อบูชาในศาสนสถานประจำราชวงศ์ หรือเป็นรูปเคารพของบูรพกษัตริย์   ประติมากรรมรูปสตรีนั่งชันเข่าพนมมือ ศิลปะเขมรในประเทศไทย สมัยเมืองพระนคร แบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (ประมาณ ๙๐๐ ปีมาแล้ว) สำริด ประดับตกแต่งด้วยการฝังเงิน มีร่องรอยกะไหล่ทอง สูง ๔๓.๒ กว้าง ๑๙.๗ ซ.ม.    ประติมากรรมนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระราชเทวี หรือสตรีชั้นสูงในราชสำนักสวมเครื่องประดับ ประทับชันเข่าพนมมือแสดงความเคารพแด่เทพเจ้า ที่ดวงตาและคิ้วมีร่องรอยการฝังด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นแก้วสีดำ






ปราสาทบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นปราสาท 3 หลัง ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปราสาททั้งสามหลังก่อด้วยอิฐบนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก เรียงกันในแนวเหนือใต้ ปราสาททั้ง 3 หลังล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลง มีซุ้มประตูทางเข้า (โคปุระ) ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้




Messenger