พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง เจ้าสามพระยา
ประวัติสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
พระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่งของประเทศไทย เพราะเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของคนไทยก่อนจะย้ายไปตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีด้วยเหตุนี้จึงยังคงมีหลักฐานให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรื่องในอดีปรากฏอยู่มากมายโดยเฉพาะที่เป็นโบราณสถานดังนั้นเมื่อเราก้าวเข้าสู่เขตเมืองของพระนครศรีอยุธยาเราจะสัมผัสกับภาพของเจดีย์รูปแบบต่างๆของสมัยอยุธยา ที่ดูยิ่งใหญ่อลังการ หลายแห่งยังอยู่ในสภาพดี เพราะได้รับการอนุรักษ์ดูแลจากกรมศิลปากรมาโดยตลอดอนึ่งนอกจากสภาพแวดล้อมที่สะท้อนให้เห็นความเป็นอาณาจักรอยุธยาแล้วลักษณะพิเศษของพระนครศรีอยุธยา ก็คือ ภาพของคนในยุคปัจจุบันที่ยังดำเนินวิถีชีวิตไปควบคู่กับการเป็นเมืองเก่าในอดีต บางครั้งการใช้ชีวิตร่วมกันก็ทำให้เกิดปัญหาในด้านการอนุรักษ์และพัฒนา แต่บางครั้งก็เป็นการธำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมือง จากอดีตสู่ปัจจุบัน เมื่อมีโบราณสถานอยู่ทั้งในตัวเมืองและล้อมรอบตัวเมือง และด้วยเหตุที่คงความมีอำนาจมาถึง 417 ปี โบราณสถานเฉพาะที่มีอยู่ในเขตเมืองและสร้างโดยพระมหากษัตริย์จึงมีอยู่มากมาย ภายหลังจึงได้มีการค้นพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่คนไทยนิยมบรรจุไว้ในกรุของวัดต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปะหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือเมื่อพุทธศักราช 2500 เมื่อได้มีการค้นพบเครื่องทองที่เป็นชุดสถูปและเครื่องราชูปโภคจำลองซึ่งสันนิษฐานว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้สร้างเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเชษฐาสองพระองค์ของพระองค์โดยบรรจุไว้ในกรุวัดราชบูรณะ เมื่อพุทธศักราช 1967การค้นพบครั้งนั้นเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของงานโบราณคดีในสมัยแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเจ้าพระนางพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณวัตถุเหล่านั้นและพระราชทานพระราชดำริว่สมควรจัดสร้างพิพิธภัณฑ สถานขึ้น ณ สถานที่พบคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเก็บรักษาให้เป็นมรดกของท้องถิ่นนั้นต่อไป เนื่องจากเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของที่นั่น กรมศิลปากรจึงได้จัดสร้าง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” ขึ้นมา ที่กลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และเปิดเป็นทางการเมื่อพุทธศักราช 2504 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยานี้ ต้องถือว่าเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑสถานที่สร้างขึ้น เพื่อการเป็นพิพิธภัณฑสถานโดยตรงตั้งแต่ต้นมิใช่เป็นเพียงเพื่อการเก็บรวบรวมรักษามรดกของชาติเพียงอย่างเดียวเหมือนพิพิธภัณฑสถานรุ่นก่อนๆจึงได้มีการวางแผนงานการจัดอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจากจุดเริ่มต้น