พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง จันทรเกษม
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง จันทรเกษม: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chantharakasem
ความเป็นมาของการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นั้นมีมูลเหตุมาจากความพยายามในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่ พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก หรือ ที่เรียกว่า คูขื่อหน้า ในอดีตทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า พระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณ พุทธศักราช 2120 ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าฟ้าสุทัศน์
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
- สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พุทธศักราช 2310 พระราชวังจันทรเกษม ได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้ พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ทำการ
เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงวัง ด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยา มาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น
สถาปัตยกรรมพระราชวังจันทรเกษม
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่าง ๆ ขึ้นนมาอีกครั้ง ดังนี้
กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมาทับแนวบน มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน คำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า แต่เดิมวังจันทรเกษมมีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง
พลับพลาจัตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขแฝดใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และที่ประทับในเวลาเดียวกัน
พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง ประกอบด้วย อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยา และศาลาเชิญเครื่อง พุทธศักราช 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยานี้ ให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า
พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวรากฐานเดิม ที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทรงใช้เป็นที่ศึกษาดาราศาสตร์
โรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพง ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
อาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ตรงบริเวณกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันออก
ตึกที่ทำการภาค หรืออาคารมหาดไทย สร้างขึ้นเมื่อครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกก่อกับทิศใต้