Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แผ่นดินเผารูปกินรี พบจากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง
แผ่นดินเผารูปกินรี พบจากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง
แผ่นดินเผารูปสัตว์ผสม พบจากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
แผ่นดินเผาขนาดกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๒๓.๕ เซนติเมตร ประติมากรรมมีสภาพชำรุด ชิ้นส่วนหักหายและรายละเอียดลบเลือนบางส่วน ด้านหน้าเป็นภาพนูนต่ำ นักวิชาการส่วนใหญ่ตีความว่า หมายถึงรูปกินรี ซึ่งเป็นอมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นสัตว์ผสมระหว่างคนกับนก โดยมีใบหน้าเป็นคนสวมเครื่องประดับศีรษะ อยู่ในท่าเคลื่อนไหว เอียงศีรษะ แขนขวากางออกไปทางด้านหลัง มีผ้าคล้องคอและแขน ลำตัวโค้ง ยกขาซ้ายเหยียดไปด้านหลัง ส่วนหางหรืออาจเป็นปีกแผ่ไปทางด้านหลัง ด้านหลังของแผ่นดินเผาแบนเรียบ มีร่องรอยแกลบข้าวในเนื้อดิน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐ หรือประติมากรรมดินเผาที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว
เนื่องจากประติมากรรมดินเผาชิ้นนี้มีรายละเอียดลบเลือนบางส่วน ทำให้นักวิชาการบางท่านเสนอว่า เมื่อพิจารณาจากส่วนล่าง ลำตัวและขา พบว่าน่าจะเป็นลักษณะของสิงห์มากกว่านก ดังนั้นแผ่นดินเผาชิ้นนี้อาจเป็นรูปนรสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสิงห์ที่มีใบหน้าเป็นคน ก็เป็นได้
สันนิษฐานว่าแผ่นดินเผานี้ใช้สำหรับประดับส่วนฐานของเจดีย์ ในลักษณะเดียวกับประติมากรรมรูปคนแคระแบกที่พบทั่วไปตามศาสนสถานในเมืองโบราณสมัยทวารวดี ซึ่งอาจใช้ประกอบอยู่กับภาพเล่าเรื่อง หรือใช้ประดับฐานเจดีย์ก็เป็นได้
นอกจากแผ่นดินเผารูปกินรีชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปกินรีและกินนร ทำจากดินเผาหรือปูนปั้นสำหรับประดับศาสนสถานตามเมืองโบราณอื่น ๆ สมัยทวารวดี ด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นรูปกินนรกำลังเล่นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายพิณเปี๊ยะ พบจากเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ประติมากรรมปูนปั้นรูปกินรี พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และยังพบเครื่องประดับทองคำรูปกินรีที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.
ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน