Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ประติมากรรมประดับจุกภาชนะสมัยทวารวดี
ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ : ประติมากรรมประดับจุกภาชนะสมัยทวารวดี
ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์จำนวน ๒ ชิ้น พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชิ้นที่ ๑ ขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร สูง ๕.๗ เซนติเมตร สิงห์มีใบหน้ายาวรี ตากลมโตเบิกโพลง จมูกแบน รูจมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ใบหน้าดุร้าย มีแผงคอรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้น ตกแต่งด้วยเส้นขีด อยู่ในท่าหมอบบนฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัวหงาย บริเวณด้านข้างลำตัวทั้งสองด้านเจาะรูกลมทะลุถึงกัน อาจใช้สำหรับร้อยเชือก
ชิ้นที่ ๒ ขนาดกว้าง ๕ เซนติเมตร สูง ๘.๕ เซนติเมตร สิงห์มีใบหน้ากลม มีตากลมโตเบิกโพลง จมูกแบน รูจมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ใบหน้าดุร้าย มีแผงคอรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้นตกแต่งด้วยเส้นขีด อยู่ในท่านั่งบนฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัวหงาย ฐานส่วนล่างหักหายไป ระหว่างขาหน้าและขาหลังทั้งสองด้านเจาะรูกลมทะลุถึงกัน อาจใช้สำหรับร้อยเชือก
สิงห์เป็นสัตว์มงคลที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ สง่างาม แข็งแกร่งและกล้าหาญ เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูงที่มีอำนาจในการปกครองอย่างกษัตริย์หรือจักรพรรดิ ทั้งนี้ในคติความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธ สิงห์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้า เนื่องจากพระองค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสิงห์แห่งศากยวงศ์
ประติมากรรมรูปสิงห์พบมากในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี นอกจากประติมากรรมดินเผา ๒ ชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบตราดินเผารูปสิงห์อีกหลายชิ้น และยังพบประติมากรรมรูปสิงห์สำริดด้วย นอกจากนี้ยังพบรูปสิงห์ที่เป็นประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับศาสนสถานตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น เจดีย์จุลประโทนและพระประโทนเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เขาคลังใน จังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ทุ่งเศรษฐี จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปสิงห์ทั้ง ๒ ชิ้นนี้เป็นประติมากรรมที่ประดับอยู่บนจุกดินเผา ซึ่งใช้อุดปากภาชนะประเภทปากแคบหรือขวดที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน