Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
คู่มือประชาชน
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ทำไมสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงนิยมใช้สีแดง
เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “ปากไม่แดงไม่มีแรงเดิน” หรือ “จะถูกจะแพงขอให้แดงไว้ก่อน” นั่นอาจสะท้อนความนิยมของสีแดงได้เป็นอย่างดี
กระนั้น การใช้สีแดงพบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ภาพเขียนสี และการตกแต่งลวดลายบนภาชนะดินเผา ในดินแดนไทย น่าสนใจว่า ทำไมมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมใช้สีแดงมาตกแต่งผิวและลวดลายภาชนะ และภาพเขียนสี
จากที่มีผู้ศึกษาไว้ พบว่าสีที่มนุษย์เริ่มใช้เป็นเนื้อสีที่หาได้จากแร่ธาตุต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ที่มีการสะสมของสารประกอบเหล็กออกไซด์ (iron oxide) ส่วนใหญ่จะได้มาจากหินหรือดิน
สีแดง ก็ถือเป็นสีที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก โดยหนึ่งในวัตถุดิบก็คือแร่เฮมาไทต์ (Hematite : Fe2O3) แต่ก็ใช่ว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะมีแต่สีแดงไปเสียทั้งหมด ในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกยังพบว่ายังมีดินเหนียวละเอียดและเหล็กออกไซด์ที่ให้สีสันหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีส้ม สีน้ำตาล ไปจนถึงสีแดงอีกหลายเฉด ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการใช้สีที่ได้จากพืช แมลง และสีดำจากถ่าน อีกด้วย
คำถามต่อมาก็คือ แล้วทำไมสีเหล่านี้ถึงสามารถคงอยู่ได้นานนับหลายพันปีกันล่ะ? ว่ากันว่า ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนสี หรือลวดลายบนภาชนะดินเผา ที่คงทนมาให้เราได้เห็นถึงทุกวันนี้ เพราะสีจากการสะสมของเหล็กออกไซด์จะจางได้ช้ากว่าสีที่ได้จากพืชและสัตว์นั่นเอง
หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2535 พบว่ามีการนำแร่เฮมาไทต์มาขัดฝนเพื่อนำไปใช้งาน โดยมีการสันนิษฐานว่าคงนำแร่มาบดเป็นผงเสียก่อน แล้วอาจนำไปผสมกับยางไม้ ไขมันสัตว์ หรือเลือดสัตว์ที่เป็นสีแดงเช่นเดียวกับแร่ ซึ่งยิ่งทำให้สียิ่งติดทนและมีสีที่เด่นชัดมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม การที่ดินแดนไทยพบการใช้สีแดงอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องด้วยแร่ชนิดดังกล่าวเป็นวัตถุดิบที่พบมากที่สุด
แล้วมนุษย์ในสมัยนั้น เขาใช้อะไรเขียน ? สำหรับในข้อนี้ การศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีในต่างประเทศ ทำให้เชื่อว่าสำหรับกรณีภาพเขียนสี คงมีทั้งการใช้มือ แปรงจากพืชหรือขนสัตว์ เป็นหลัก แต่อาจมีเทคนิคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ขณะที่ลวดลายบนภาชนะดินเผา เป็นไปได้ที่จะใช้แปรงหรือพู่กัน
ส่วนการใช้สีแดงสื่อความหมายใดหรือไม่นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าสื่อถึง "เลือด" และ "ชีวิต" ซึ่งหากเป็นภาพเขียนสีมักตีความภาพเหล่านี้ไปในทางการประกอบพิธีกรรมและร่วมกันเขียนภาพสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน ลวดลายสีแดงบนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง อาจสื่อความหมายถึง "ขวัญ" (ส่วนที่ไม่มีตัวตนของคน สัตว์ สิ่งของ)
สีแดงยังถูกตีความเป็นตัวแทนของ "ระดู" ของเพศหญิง ซึ่งระดูนั้นก็เกี่ยวกับ "การมีชีวิตและการตั้งท้อง" แม้ว่าทั้งหมดนี้จะเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องการมีชีวิตใหม่ในโลกหน้าหรือไม่ แต่ข้อสังเกตหนึ่งคือ ภาชนะดินเผาบ้านเชียงเกือบทั้งหมดพบในหลุมฝังศพ อีกทั้งยังพบร่องรอยการนำดินเทศมาโรยในพิธีศพ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น
ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า ในเชิงการใช้งาน แม้ว่ามนุษย์จะมีสีจากวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เลือกใช้ แต่สีแดงจากแร่เฮมาไทต์เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและคงทน นอกจากนี้ ในเชิงความหมาย สีแดงก็อาจเปรียบเสมือนสีของเลือด จึงสัมพันธ์กับเรื่องของชีวิตและความเชื่อเรื่องโลกหน้าก็เป็นได้
________________________
ผู้เขียน : ปัณฑ์ชนิต สุรฤทธิ์โยธิน
ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
________________________
อ้างอิง
1. ชลิต ชัยครรชิต. “รูปคนและสัตว์บนภาชนะดินเผาลายเขียนสีวัฒนธรรม
บ้านเชียง” ศิลปศาสตร์บัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะ
โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522.
2. ธนิก เลิศชาญฤทธ์. ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.
นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2560.
3. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. “ไหอีสานไม่ได้มีแต่ไหทองคำ เพราะยังมี
ไหลายสีแดงในวัฒนธรรมบ้านเชียงด้วย,” มติชนสุดสัปดาห์ 23 - 29
มิถุนายน 2560.
4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. คนไทยอยู่ที่นี่ นี่อุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม,
2537.
5. อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ. รูปเขียนดึกกำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว
ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549.
ENCYCLOPEDIA. Prehistoric Colour Palette : Paint Pigments
Used by Stone Age Artists in Cave Paintings and Pictographs.
เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564. http://www.visual-arts-
cork.com/artist-paints/prehistoric-colour-palette.htm.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน