Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
อธิบดีกรมศิลปากรเผยผลตรวจสอบการรื้ออาคารในวัดยานนาวา ไม่ใช่โบราณสถาน
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้กล่าวถึงกรณีการรื้ออาคารภายในวัดยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพมหานคร ว่าเป็นการรื้อทำลายโบราณสถาน กรมศิลปากร โดยกองโบราณคดี ได้ตรวจสอบรายละเอียดแล้ว พบว่าอาคารที่ถูกรื้อลงตามที่เป็นข่าวนั้น คือ อาคารมูลนิธิน้ำใจไทย-ญี่ปุ่น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อพิจารณาจากแผนที่โบราณ พ.ศ. ๒๔๓๙ ตำแหน่งนี้เป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีสิ่งก่อสร้าง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีเป็นกุฏิแบบเรือนไม้ชั้นเดียว จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ภาพถ่ายทางอากาศชุดวิลเลียม ฮันท์ ปรากฏอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในตำแหน่งดังกล่าว จากหลักฐานแผนที่และภาพถ่าย จึงสามารถระบุระยะเวลาก่อสร้างอาคารได้ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๘๖ โดยสันนิษฐานว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาคารในช่วง พ.ศ.๒๕๑๐ ก่อนจะถูกรื้อลงในปัจจุบัน กรมศิลปากรได้พิจารณาอายุการสร้างและคุณค่าทางสถาปัตยกรรมแล้ว อาคารมูลนิธิน้ำใจไทย-ญี่ปุ่น ไม่ถือเป็นโบราณสถาน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานภายในวัดยานนาวา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ มีสิ่งสำคัญ ได้แก่ พระแท่นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรือสำเภาและเจดีย์ พร้อมด้วยแผ่นศิลาจารึก ๓ แผ่น พระอุโบสถ และเก๋งจีน เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๕ ไร่ ๙๗ ตารางวา โดยอาคารมูลนิธิน้ำใจไทย-ญี่ปุ่น ไม่อยู่ในขอบเขตโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียน
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า กรมศิลปากรได้ดำเนินการตรวจสอบกรณีรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง ภายในวัดยานาวา ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ตามที่คณะพระภิกษุวัดยานนาวา พระอารามหลวง มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ขอให้ดำเนินการคุ้มครองโบราณวัตถุสถานกุฏิสงฆ์ และอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ของวัดยานนาวา ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยผลการตรวจสอบพบว่ากลุ่มอาคารที่ถูกกล่าวถึงทั้งหมดนั้น ไม่ได้เป็นโบราณสถาน และไม่อยู่ในขอบเขตที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน กรมศิลปากรจึงมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อแจ้งวัด ยานนาวาทราบ จนกระทั่งมีกรณีการรื้อถอนอาคารภายในวัดอีกครั้งตามที่เป็นข่าวเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๔
โหวต
กรุณาให้คะแนน
×
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน