Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
คู่มือประชาชน
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ชุมชนโบราณในภาคใต้
ด้วยภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) เริ่มที่บริเวณคอคอดกระที่ประมาณละติจูด ๑๐ องศาเหนือ ยื่นยาวลงไปทางใต้จนถึงประเทศมาเลเซีย มีชายฝั่งทะเลขนาบอยู่ ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตกติดทะเลอันดามัน มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งแบบยุบตัว แคบ เว้าแหว่ง บางแห่งมีภูเขาจดชายฝั่งทำให้เกิดเป็นหน้าผาชันตามแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเหตุนี้จึงมีพื้นที่จำกัดและขยายตัวยากจึงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็ก แต่ด้วยความที่อยู่ด้านตรงข้ามกับอินเดียจึงมีความเหมาะสมต่อการเดินเรือมาขึ้นบกของพ่อค้าชาวต่างชาติ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีชุมชนโบราณฝั่งตะวันตกได้พัฒนาขึ้นและมีบทบาทเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอันดามันอย่างชัดเจนในเวลาต่อมา ส่วนด้านตะวันออกติดทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยกตัวมีการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำและกระแสน้ำในทะเลพัดพามาทำให้เกิดเป็นที่ราบกว้างขึ้นมีสันทรายปรากฏอยู่ทั้งบนหาดและในพื้นน้ำนอกฝั่ง มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกจึงพบร่องรอยชุมชนโบราณอยู่บริเวณเชิงเขาและที่ราบริมฝั่งทะเล ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ในเวลาต่อมา
ชุมชนโบราณฝั่งตะวันตก (ทะเลอันดามัน) : ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ - จังหวัดระนอง เช่น แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง แหล่งเรือโบราณคลองกล้วย เป็นต้น - จังหวัดพังงา เช่น แหล่งโบราณคดีนางย่อน ชุมชนโบราณตะกั่วป่า ประกอบด้วย แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ แหล่งโบราณคดีเหมืองทอง-เกาะคอเขา (ทุ่งตึก) แหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) - จังหวัดกระบี่ เช่น แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นต้น - จังหวัดตรัง เช่น แหล่งโบราณคดีนาพละ เป็นต้น ชุมชนโบราณฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย) : ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ - จังหวัดชุมพร เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว แหล่งโบราณคดีเขาเสก เป็นต้น - จังหวัดสุราษฏร์ธานี เช่น แหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส แหล่งโบราณคดีวัดศาลาทึง แหล่งโบราณคดีท่าชนะ แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ แหล่งโบราณคดีไชยา แหล่งโบราณคดีพุนพิน แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย แหล่งโบราณคดีเวียงสระ เป็นต้น - จังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น แหล่งโบราณคดีริมคลองท่าเรือและบ้านเกตกาย แหล่งโบราณคดีเขาคา แหล่งโบราณคดีท่าศาลา-สิชล แหล่งโบราณคดีโมคลาน แหล่งโบราณคดีตุมปัง เป็นต้น - จังหวัดสงขลา เช่น แหล่งโบราณคดีสทิงพระ แหล่งเตาปะโอ เป็นต้น - จังหวัดปัตตานี เช่น แหล่งโบราณคดียะรัง เป็นต้น
ภาพ : แหล่งเรือโบราณคลองกล้วย จังหวัดระนอง (ปัจจุบันกองโบราณคดีใต้น้ำได้นำชิ้นส่วนไม้ที่คาดว่าเป็นส่วนประกอบของเรือไปศึกษาและดำเนินการอนุรักษ์ต่อไป) ภาพโดย : กลุ่มโบราณคดีและอนุรักษ์โบราณสถาน สาขาภูเก็ต
ภาพ : โบราณสถานหมายเลข ๑๒ แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ภาพโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
แหล่งโบราณคดีและชุมชนโบราณต่างๆ เหล่านี้ พบหลักฐานทางโบราณคดีหลายประเภทที่สัมพันธ์กับการติดต่อค้าขายกับอินเดีย เช่น ลูกปัดชนิดต่างๆ เครื่องประดับทองคำ ตราประทับ หัวแหวนหรือจี้สลักจากหินมีค่า เหรียญโลหะ เศษภาชนะดินเผาแบบอินเดีย และบางแหล่งพบหลักฐานทางศาสนา เช่น ประติมากรรมรูปเคารพทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โบราณสถาน และจารึก
-------------------------------------
ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
-------------------------------------
อ้างอิง : - ผาสุข อินทราวุธ, “ร่อยรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”, โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ฉบับครูสังคม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี, ๒๕๔๕. - มหาวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์. ภูมิลักษณ์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๓๔.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน