Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เครื่องถ้วยเวียงกาหลง
เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีแหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย บริเวณลำน้ำลาว บริเวณบ้านป่าส้าน และบ้านทุ่งม่าน ลักษณะของเตาเผาเป็นเตาชนิดระบายความร้อนผ่านในแนวนอน ขุดเข้าไปในเนินดิน
ลักษณะเด่นของเครื่องถ้วยจากแหล่งเตานี้มักมีน้ำหนักเบา เนื่องจากเนื้อดินที่ใช้ปั้นภาชนะมีความละเอียด และสามารถขึ้นรูปได้บางกว่าเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย เนื้อดินมีสีขาว สีเหลืองนวล และสีเทา น้ำเคลือบบางใส และรอนรานเป็นรอยเล็กละเอียด เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมักเคลือบถึงบริเวณขอบเชิง บางใบมีการเคลือบก้นด้วย รูปทรงของเครื่องถ้วยที่ผลิต ได้แก่ จาน ชาม แจกัน โถ ผางประทีป ถ้วย รวมถึงตัวหมากรุก และตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ
แหล่งเตาเวียงกาหลงจะผลิตเครื่องถ้วย 4 ประเภท คือ ประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ประเภทเคลือบใส ประเภทเคลือบสีเขียว และประเภทเคลือบสีน้ำตาล
ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องถ้วยเวียงกาหลงประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ได้แก่ ลายกลีบดอกไม้หรือใบไม้ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ลายกา” นอกจากนี้ยังพบลายช่อดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายดอกไม้ก้านขด ลายรูปสัตว์ รวมทั้งลายที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากภายนอก เช่น ลายเก๋งจีน ลายภูมิประเทศ ลายกิเลน เป็นต้น
ส่วนเครื่องถ้วยเวียงกาหลงประเภทเคลือบใสมักตกแต่งด้วยการขูดขีดลายซี่หวีหรือกลีบดอกไม้ลักษณะต่างๆ เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน