Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
คู่มือประชาชน
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ใบมีดสัมฤทธิ์ (เกอ)
ใบมีดสัมฤทธิ์ (เกอ)
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ประวัติ [ชิ้นที่ ๑] พระยาอรรคฮาดได้มาจากเมืองเชียงคาน มณฑลอุดร (อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย) ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย
[ชิ้นที่ ๒] พระพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองเมืองน่านถวาย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานแก่พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔
[ชิ้นที่ ๓] พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ห้องก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ใบมีดยาว ปลายโค้งลงเล็กน้อย มีส่วนเดือยสำหรับเสียบเข้ากับด้ามไม้ ในวัฒนธรรมจีนเรียกอาวุธลักษณะนี้ว่า “เกอ” จัดเป็นอาวุธประเภท หอกหรือง้าว (Dagger-Axe) ในประเทศไทยพบอาวุธลักษณะดังกล่าวกระจายอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน (จังหวัดน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์) และในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย (จังหวัดเลย) ซึ่งน่าจะแพร่เข้ามาผ่านเส้นทางลำน้ำโขง หรือเส้นทางคมนาคมระหว่างบ้านเมืองในพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยกับบ้านเมืองทางจีนตอนใต้
เกอ เป็นอาวุธสัมฤทธิ์ ที่ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของจีน ในวัฒนธรรม “เอ้อหลี่โถว” (อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว) บริเวณทางตะวันตกมณฑลเหอหนานและทางตอนใต้ของมณฑลส่านซี พบโบราณวัตถุเครื่องสัมฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ ทั้งอาวุธ ภาชนะ และเครื่องดนตรี อย่างไรก็ตามอาวุธสัมฤทธิ์ที่พบยังมีจำนวนไม่มากนัก กระทั่งเข้าสู่สมัยราชวงศ์ซัง (๑,๗๐๐–๑,๐๒๗ ปีก่อนคริสตกาล) และราชวงศ์โจว (๑,๐๒๗–๒๕๖ ปีก่อนคริสตกาล) พบว่าเป็นช่วงที่มีการทำอาวุธสัมฤทธิ์เป็นจำนวนมากรวมถึงเกอด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการทำสงครามกันระหว่างรัฐ
ในช่วงเวลาดังกล่าว (ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว) พัฒนาการชุมชนในประเทศไทยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงยุคเหล็ก (Iron Age) กล่าวคือ เป็นสังคมที่ดำรงชีพโดยการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ที่สืบเนื่องมาจากช่วงยุคสัมฤทธิ์ แต่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับการทำโลหะ เครื่องมือและอาวุธ เช่น หัวขวาน ใบหอก หัวลูกศร ฯลฯ (ส่วนวัตถุประเภทสัมฤทธิ์นั้น ส่วนมากปรากฏเป็นเครื่องประดับ) นอกจากนี้ในช่วงเวลานี้แหล่งโบราณคดีหลายแห่ง ปรากฏโบราณวัตถุที่มาจากท้องถิ่นอื่นหรือต่างวัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางไกลกับชุมชนต่างภูมิภาค เช่น ลูกปัดแก้ว หินคาร์เนเลียน หินอาเกต กลองมโหระทึก เป็นต้น รวมถึง “เกอ” ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างบ้านเมืองในพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบันกับบ้านเมืองในวัฒนธรรมจีนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว
อ้างอิง
กรมศิลปากร. จากบ้านสู่เมือง : รัฐแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย From Village to Early State : The Transformation of Culture in Our Land. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๑.
สุรพล นาถะพินธุ. รากเหง้า บรรพชนคนไทย : พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.
อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. ประวัติศาสตร์ศิลปะจีนโดยสังเขป. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๒.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน