Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
คู่มือประชาชน
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
การจุดประทัดวันตรุษของชาวจีนเมืองจันทบุรี
ตั้งแต่อดีตชาวจีนที่อพยพมายังสยามถือว่าเป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพาณิชย์กันเลยทีเดียว เพราะชาวจีนมาความชำนาญในการค้าขาย มองเห็นช่องทางธุรกิจการค้าหากำไรได้อย่างดี อีกทั้งสามัคคีและรักพวกพ้อง
ชาวจีนในสยาม มีกล่าวถึงแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่ผู้เขียนขอเริ่มกล่าวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ที่มีเอกสารอ้างอิงได้เขียนไว้ว่า...การค้าทางทะเลเช่นเดียวกับการค้าขายในประเทศที่เกือบจะตกอยู่ใต้การควบคุมของชาวจีนโดยสิ้นเชิง...ชาวจีนที่อพยพมาสู่สยามในระยะนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะว่าราชสำนักสยามได้ปฏิบัติต่อชาวจีนเป็นอย่างดีเป็นพิเศษ...
ชาวจีนเหล่านี้ได้มาพัฒนาเกษตรกรรมเพื่อการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพริกไทยและอ้อย... เนื่องจากเมืองจันทบุรี เป็นเมืองท่ามาแต่โบราณ ชาวจีนจึงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณหุบเขาของจันทบุรี(เขาสระบาป:ผู้เขียน) พร้อมทั้งปลูกพริกไทยเพื่อเป็นสินค้าออก และปลูกอ้อย เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุรา และทำน้ำตาลทราย เพื่อส่งออกเช่นกัน ช่วงนั้นไร่อ้อยที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่จันทบุรีและฉะเชิงเทรา นอกจากนั้นยังบันทึกว่า ...ชาวจีนที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของเมืองจันทบุรีเป็นจีนแต้จิ๋ว...
นับเป็นเวลาหลายร้อยปีที่ชาวจีนได้มาตั้งถิ่นฐานในสยาม จวบจนทุกวันนี้ สิ่งยังพบได้ในชาวจีนคือการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น เช่นในวันตรุษจีน ชาวจีนต้องมีการ"จุดประทัด"ซึ่งเป็นคติความเชื่อของชาวจีนว่าเพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายนั่นเอง
ในเอกสารจดหมายเหตุ ชุดมณฑลจันทบุรี ช่วงพ.ศ.2470 พ.ศ.2472 และ พ.ศ.2473 พบการประกาศเรื่องการจุดประทัดในช่วงตรุษจีนว่าอนุญาตให้จุดได้แต่ต้องหาของมาครอบไม่ให้เปลวไฟกระเด็นไปในที่ต่างๆอาจเกิดอันตรายและป้องกันอัคคีภัย
จากเอกสารจดหมายเหตุชุดนี้อาจจะเหมือนมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย แต่ในมุมมองของผู้เขียนมองว่าหน่วยงานราชการในสมัยนั้นได้ให้ความสำคัญและให้เกียรติกับชาวจีนเสมอกับชาวไทยนั่นเอง เนื่องในวันตรุษจีนปีนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนเองก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีนคนหนึ่ง(บรรพบุรุษแซ่ลี้)จึงขออวยพรให้ทุกท่านและครอบครัวมีความสุขสมปรารถนาทุกประการนะคะ
---------------------------------------------------------
ผู้เขียน
: นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
---------------------------------------------------------
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท1.1/37 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องส่งประกาศจุดประทัดในลัทธิตรุสจีน (18 มกราคม 2470) หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท1.1/53 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องประกาศจุดประทัดในวันตรุสจีนประจำ พ.ศ. 2472 (28 มกราคม 2472) หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท1.1/59 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องประกาศจุดประทัดในวันตรุษจีน ประจำ พ.ศ. 2473 (11 กุมภาพันธ์ 2473) สารสิน วีระผล. (2548). จิ้มก้องและกำไรการค้าไทย-จีน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน