บทความเเละองค์ความรู้ หจช.สงขลา ลำดับที่ ๐๑๗ จากสุนทรภู่ถึงชื่น เกื้อสกุล ๘๐ ปี นิราศเรือนจำ
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้นำเสนอนิราศท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ๒ เรื่อง คือ นิราศเทพาและนิราศทุ่งหวัง ซึ่งประพันธ์โดยคุณกระจ่าง แสงจันทร์ สำหรับวันนี้หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอนำเสนอนิราศท้องถิ่นเพิ่มเติมอีก ๑ เรื่อง คือ นิราศเรือนจำหรือนิราศชื่น (ฉบับดั้งเดิม) ซึ่งประพันธ์โดยนายชื่อ เกื้ออสกุล ชาวอำเภอเกาะพะงัน รวบรวมและเรียบเรียงโดย กวี รังสิวรารักษ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔
นิราศเรือนจำ แต่งโดยคุณชื่น เกื้อสกุล ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ บันทึกเรื่องราวของครอบครัวที่มีการทะเลาะวิวาทจนเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายร่างกาย จึงต้องเดินทางจากเกาะพะงันเพื่อไปรับฟังการตัดสินคดีและรับโทษที่เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และถูกส่งไปเรือนจำชั่วคราวเขาประสงค์ อำเภอท่าชนะ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟในเวลาต่อมา
ความสำคัญของนิราศเรือนจำคือ เป็นนิราศที่แต่งขึ้นโดยประชาชนทั่วไป ที่ผ่านระบบการศึกษาด้วยการบวชเรียน และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
การประพันธ์มีความไพเราะตามแบบฉบับของกลอนนิราศ ภาษาที่ใช้มีความใกล้เคียงกับปัจจุบันผสมกับภาษาถิ่นภาคใต้ หากอ่านด้วยสำเนียงจัตวาชาวเกาะพะงันหรือสำเนียงใต้ทั่วไปก็สามารถทำได้ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งฟังการขับกลอนหน้าโรงหนังตะลุง มโนราห์
นิราศเรือนจำไม่ได้เพียงบันทึกเรื่องราวการเดินทางจากเกาะพะงันมายังเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งนิราศเรือนจำคือบันทึกเรื่องราวการเดินทางของชีวิตคน ๆ หนึ่งที่พลิกผันจากหัวหน้าครอบครัว สู่การเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอยกตัวอย่างบางช่วงบางตอนมานำเสนอให้ท่านลองอ่าน
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้นำเสนอนิราศท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ๒ เรื่อง คือ นิราศเทพาและนิราศทุ่งหวัง ซึ่งประพันธ์โดยคุณกระจ่าง แสงจันทร์ สำหรับวันนี้หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอนำเสนอนิราศท้องถิ่นเพิ่มเติมอีก ๑ เรื่อง คือ นิราศเรือนจำหรือนิราศชื่น (ฉบับดั้งเดิม) ซึ่งประพันธ์โดยนายชื่อ เกื้ออสกุล ชาวอำเภอเกาะพะงัน รวบรวมและเรียบเรียงโดย กวี รังสิวรารักษ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔
นิราศเรือนจำ แต่งโดยคุณชื่น เกื้อสกุล ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ บันทึกเรื่องราวของครอบครัวที่มีการทะเลาะวิวาทจนเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายร่างกาย จึงต้องเดินทางจากเกาะพะงันเพื่อไปรับฟังการตัดสินคดีและรับโทษที่เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และถูกส่งไปเรือนจำชั่วคราวเขาประสงค์ อำเภอท่าชนะ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟในเวลาต่อมา
ความสำคัญของนิราศเรือนจำคือ เป็นนิราศที่แต่งขึ้นโดยประชาชนทั่วไป ที่ผ่านระบบการศึกษาด้วยการบวชเรียน และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
การประพันธ์มีความไพเราะตามแบบฉบับของกลอนนิราศ ภาษาที่ใช้มีความใกล้เคียงกับปัจจุบันผสมกับภาษาถิ่นภาคใต้ หากอ่านด้วยสำเนียงจัตวาชาวเกาะพะงันหรือสำเนียงใต้ทั่วไปก็สามารถทำได้ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งฟังการขับกลอนหน้าโรงหนังตะลุง มโนราห์
นิราศเรือนจำไม่ได้เพียงบันทึกเรื่องราวการเดินทางจากเกาะพะงันมายังเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งนิราศเรือนจำคือบันทึกเรื่องราวการเดินทางของชีวิตคน ๆ หนึ่งที่พลิกผันจากหัวหน้าครอบครัว สู่การเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอยกตัวอย่างบางช่วงบางตอนมานำเสนอให้ท่านลองอ่าน
นิราศเรือนจำ แต่งโดยคุณชื่น เกื้อสกุล ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ บันทึกเรื่องราวของครอบครัวที่มีการทะเลาะวิวาทจนเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายร่างกาย จึงต้องเดินทางจากเกาะพะงันเพื่อไปรับฟังการตัดสินคดีและรับโทษที่เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และถูกส่งไปเรือนจำชั่วคราวเขาประสงค์ อำเภอท่าชนะ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟในเวลาต่อมา
ความสำคัญของนิราศเรือนจำคือ เป็นนิราศที่แต่งขึ้นโดยประชาชนทั่วไป ที่ผ่านระบบการศึกษาด้วยการบวชเรียน และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
การประพันธ์มีความไพเราะตามแบบฉบับของกลอนนิราศ ภาษาที่ใช้มีความใกล้เคียงกับปัจจุบันผสมกับภาษาถิ่นภาคใต้ หากอ่านด้วยสำเนียงจัตวาชาวเกาะพะงันหรือสำเนียงใต้ทั่วไปก็สามารถทำได้ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งฟังการขับกลอนหน้าโรงหนังตะลุง มโนราห์
นิราศเรือนจำไม่ได้เพียงบันทึกเรื่องราวการเดินทางจากเกาะพะงันมายังเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งนิราศเรือนจำคือบันทึกเรื่องราวการเดินทางของชีวิตคน ๆ หนึ่งที่พลิกผันจากหัวหน้าครอบครัว สู่การเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอยกตัวอย่างบางช่วงบางตอนมานำเสนอให้ท่านลองอ่าน
ดาวน์โหลดไฟล์: บทความเเละองค์ความรู้ หจช.สงขลา ลำดับที่ ๐๑๗ จากสุนทรภู่ถึงชื่น เกื้อสกุล ๘๐ ปี นิราศเรือนจำ.pdf
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:
(จำนวนผู้เข้าชม 371 ครั้ง)