...

บทความและองค์ความรู้ หจช. สงขลา ลำดับที่ ๐๐๗ แผ่นภาพ อินโฟกราฟิก ว่าด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ หมวด ๓ การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ
ความรู้งานจดหมายเหตุ ที่พบกันทุกวันอังคาร วันนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอเสนอ แผ่นภาพ อินโฟกราฟิก ว่าด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ หมวด ๓ การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ เเละในเนื้อหากล่าวถึงในส่วนที่ ๑ การเก็บรักษา การเก็บรักษาในที่นี้หมายถึง การเก็บรักษาหนังสือราชการ หรือเอกสารราชการ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ หรือเอกสารราชการ ที่มีการจัดเก็บ ๓ สถานะ การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว และการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ เมื่อเทียบกับทฤษฎีจดหมายเหตุในเรื่องของ เอกสาร (Record) สถานะการจัดเก็บตามระเบียบนี้ จะเรียกเอกสารแต่ละการเก็บ ดังนี้ ๑ เอกสารหรือหนังสือ ในการเก็บระหว่างปฏิบัติ จะเรียกว่าเอกสารอยู่ในกระเเสปฏิบัติงาน ๒ เอกสารหรือหนังสือ ในการเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว จะเรียกว่า เอกสารสิ้นกระแสปฏิบัติงาน และ ๓ การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ เอกสารเเละหนังสือนั้นจะถูกเรียกว่า เอกสารกึ่งกระเเสปฏิบัติงาน การจัดเก็บ เเละขั้นตอนการจัดเก็บนั้น ได้อธิบายไว้ใน แผ่นภาพอินโฟกราฟิก ที่กล่าวถึงขั้นตอนที่สอดคล้องกับตัวระเบียบฯ สำหรับสัปดาห์ต่อไป เตรียมพบกับ การเก็บรักษา ตอนที่ ๒ นางสาวเสาวภา ประพรหม พนักงานธุรการ ผู้เรียบเรียง นายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ ผู้จัดทำอินโฟกราฟิก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ฝ่ายบริหารเอกสาร เเละฝ่ายธุรการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา โทร ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ ต่อ ๑๐๑ เเละ ๑๐๒ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒ ในวันจันทร์ ถึง ศุกร์
ความรู้งานจดหมายเหตุ ที่พบกันทุกวันอังคาร
วันนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอเสนอ

แผ่นภาพ อินโฟกราฟิก ว่าด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
หมวด ๓ การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ

เเละในเนื้อหากล่าวถึงในส่วนที่ ๑
การเก็บรักษา

การเก็บรักษาในที่นี้หมายถึง
การเก็บรักษาหนังสือราชการ หรือเอกสารราชการ

ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ หรือเอกสารราชการ ที่มีการจัดเก็บ ๓ สถานะ

การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น

การเก็บระหว่างปฏิบัติ

การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว

และการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

เมื่อเทียบกับทฤษฎีจดหมายเหตุในเรื่องของ เอกสาร (Record) สถานะการจัดเก็บตามระเบียบนี้ จะเรียกเอกสารแต่ละการเก็บ ดังนี้

๑ เอกสารหรือหนังสือ ในการเก็บระหว่างปฏิบัติ จะเรียกว่าเอกสารอยู่ในกระเเสปฏิบัติงาน

๒ เอกสารหรือหนังสือ ในการเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว จะเรียกว่า เอกสารสิ้นกระแสปฏิบัติงาน

และ
๓ การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
เอกสารเเละหนังสือนั้นจะถูกเรียกว่า เอกสารกึ่งกระเเสปฏิบัติงาน

การจัดเก็บ เเละขั้นตอนการจัดเก็บนั้น ได้อธิบายไว้ใน แผ่นภาพอินโฟกราฟิก
ที่กล่าวถึงขั้นตอนที่สอดคล้องกับตัวระเบียบฯ

สำหรับสัปดาห์ต่อไป เตรียมพบกับ การเก็บรักษา ตอนที่ ๒

นางสาวเสาวภา ประพรหม พนักงานธุรการ ผู้เรียบเรียง

นายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ ผู้จัดทำอินโฟกราฟิก


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายบริหารเอกสาร เเละฝ่ายธุรการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
โทร ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ ต่อ ๑๐๑ เเละ ๑๐๒ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒
ในวันจันทร์ ถึง ศุกร์
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 362 ครั้ง)


Messenger