ครุฑสมัยรัตนโกสินทร์
จำนวนผู้เข้าชม 579


ครุฑสมัยรัตนโกสินทร์

ครุฑสมัยรัตนโกสินทร์ ในฐานะสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ นับเนื่องต่อมาจากสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
เป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือตราแผ่นดิน และใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนครุฑในบริบททางพระพุทธศาสนา ยังสอดแทรกอยู่ในสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกัน รวมถึงงานศิลปกรรมอื่นๆ
ด้วย เช่น นารายณ์ทรงครุฑยุดนาค หน้าบันหน้าบันไม้จำหลักอุโบสถวัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร ครุฑยุดนาคประดับฐานปัทม์ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑยุดนาคประดับฐานยอดหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พญาครุฑในภาพเทพชุมนุม จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ครุฑยุดนาคตกแต่งฐานพระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นต้น

ความสำคัญของครุฑในดินแดนประเทศไทยมีสืบเนื่องมานานตั้งแต่เมื่อประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน อย่างไรก็ตามคติความเชื่อต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยจนทำให้เกิดความเชื่อว่า ครุฑคือพาหนะของเทพผู้พิทักษ์พุทธสถาน และครุฑ คือ ผู้พิทักษ์พุทธสถานด้วย

From Thonburi period to Rattanakosin period, Garuda has been used as a symbol of Thailand Monarch. During the reign of King Vajiravudh (King Rama VI), His Majesty ordered that Garuda was adopted as the national emblem. Since then Garuda has become the national emblem until the present day. In religious context, Garuda is
a symbol that appears in architecture and other artworks.

For example, Garuda with Vishnu on his neck holding Naga is carved on the wood pediment of the Ordination Hall of Wat Ratcha Sittharam in Bangkok; Garuda holding Naga as the decorations at the base of the Chapel of the Temple of Emerald Buddha, at the finial base of Dusit Maha Prasat Throne Hall, and at the base of Rachentrayan Royal Palanquin.

The depiction of Garuda is also seen on the mural at Phutthaisawan Chapel Hall in the Bowon Sathan Mongkol Palace (the Front Palace).

In Thailand Garuda has been considered important for 1,500 years. However, each passing day beliefs have changed until Garuda is finally deemed the vahana of the god who preserve religious places and Garuda himself is also the preserver of those places.

ภาพ: พระครุฑพ่าห์ หน้าอาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรี (เดิม)
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
ใช้เป็นศาลารัฐบาลมณฑลราชบุรีและที่ว่าการเมือง
ต่อมาใช้เป็นศาลากลางจังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค


Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.