โบราณสถานกู่โนนแท่น
โบราณสถานกู่โนนแท่น
โบราณสถานกู่โนนแท่น ตั้งอยู่ที่บ้านบึงสว่าง ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ลักษณะเป็นโบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลง สภาพพังทลายเหลือเพียงส่วนฐานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร ภายในโบราณสถานพบโบราณวัตถุ ได้แก่ ฐานรองรับประติมากรรมสลักจากหินทราย จำนวน ๒ ฐาน ส่วนบริเวณผิวดินสำรวจพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบหลักฐานการใช้พื้นที่นี้มาก่อนอีกอย่างน้อย ๒ สมัย ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุประมาณ ๑,๕๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบโบราณวัตถุ ได้แก่ กำไลหล่อจากสำริด ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน สันนิษฐานว่าสมัยนี้มีการใช้พื้นที่เป็นแหล่งฝังศพ และสมัยวัฒนธรรมทวารวดี กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ พบโบราณวัตถุ ได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสลักจากหินทราย ศิลปะทวารวดี และใบเสมาสลักจากหินทราย สันนิษฐานว่าสมัยนี้มีการใช้พื้นที่เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๐ ไร่ ๑ งาน ๘.๗๒ ตารางวา
Ku Non Taen
Ku Non Taen is located at Ban Bueng Sawang, Ban Lao Sub-district, Ban Fang District, Khon Kaen Province. A sandstone structure which most part is in ruins, except for the base, in the size of 6 meters wide and 8 meters long. There are 2 sculpture foundation made from sandstone, situated on the base, and shards of brown glazed stoneware from the Buri Ram kiln sites which spread on the surface nearby. These artifacts suggested that Ku Non Taen was built as a temple or religious building in the period of Khmer culture (13th - 15th century CE).
From archaeological survey, more traces of human activities in earlier periods were found in this site. The first one is the late prehistoric period (2,500 – 1,500 years ago). The evidences, bronze bracelet, human bones, and pottery sherds, were found in this site, and suggested that this site was used as a burial site. Another one is the period of Dvaravati (9th - 13th century CE). The evidences of this period are pieces of Buddha image and Sema, both were carved from sandstone. These artifacts indicated that this site was a religious practice spot.
Ku Non Taen has been registered and published in the Government Gazette, Volume 118, Special Edition 127, on November 21, 2001. The area of ancient monument is 16,434.88 square meters.
(จำนวนผู้เข้าชม 46 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน