โบราณสถานวัดผดุงสุข (วัดถิ่นดุง)

โบราณสถานวัดผดุงสุข (วัดถิ่นดุง)

         โบราณสถานวัดผดุงสุข (วัดถิ่นดุง) ตั้งอยู่ที่บ้านถิ่นดุง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แต่เดิมมีชื่อวัดว่า “วัดถิ่นดุง” ตามชื่อหมู่บ้าน เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดผดุงสุข” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๖ ภายในบริเวณวัดผดุงสุข มีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ สิม (อุโบสถ) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของวัด มีลักษณะเป็นสิม (อุโบสถ) แบบสถาปัตยกรรมอีสาน ก่อด้วยอิฐถือปูน อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเจดีย์ (ธาตุ) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของสิม (อุโบสถ) จำนวน ๒ องค์ ก่อด้วยอิฐ องค์ที่หนึ่งเหลือเพียงส่วนฐาน ไม่สามารถระบุรูปแบบได้ ส่วนองค์ที่สองเป็นเจดีย์ศิลปกรรมแบบล้านช้าง ฐานเป็นผังสี่เหลี่ยม ส่วนเรือนธาตุทรงบัวเหลี่ยม 

         นอกจากนี้ ภายในวัดยังพบศิลาจารึกสำคัญ มีลักษณะเป็นจารึกบนแผ่นใบเสมาหินทรายแบนยอดแหลม อักษรไทยน้อย จำนวน ๒ หลัก ได้แก่ ศิลาจารึกผดุงสุข ๑ (นค.๑๐) ระบุจุลศักราช ๙๑๓   (พ.ศ.๒๐๙๔) กล่าวถึงการพระราชทานที่ดินให้แก่วัดศรีสุวรรณของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และศิลาจารึกผดุงสุข ๒ (นค.๑๑) (ศิลาจารึกวัดถิ่นดุง) ด้านที่ ๑ ระบุจุลศักราช ๙๓๒ (พ.ศ.๒๑๑๓) กล่าวถึง พระยาปากเจ้า (เจ้าเมืองปากห้วยหลวง) และเจ้านายอื่นๆ ได้อุทิศที่ดินแก่มหาป่าเจ้า ด้านที่ ๒ กล่าวถึงชื่อพระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ และกล่าวถึงการกัลปนาหรืออุทิศที่ดินและอาณาเขตที่ดินให้แก่ศาสนา

         กรมศิลปากรประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ “วัดตีนดุง อำเภอโพนพิสัย ตำบลวัดหลวง” ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๗๐ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๔ จำนวน ๒ รายการ ได้แก่ ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ๑ และ ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ๒  

 

 

Wat Ph-dung Suk (Wat Thin Dung)

         Wat Ph-dung Suk (original name: Wat Thin Dung) is located at Ban Thin Dung, Wat Luang Sub-district, Phon Phisai District, Nong Khai Province. It was permitted to establish the land in February 24, 1983. The complex consists of Ubosot, a square shape brick-stucco built in northeastern style, stated at the west. At the left side of Ubosot there are two brick-made stupas, which the first one only left with the base, unable to describe it design. The other was built in the visual of Lan Xang art, a square layout-based top with square-shaped lotuses body.

         Two of Sema, a flat-shaped boundary stone, engraved with Tai Noi inscriptions were found within the temple. The first slab mentions the name of King Setthathirath given the land authority to Wat Sri Suwan in 1551. The second stone had inscriptions on both flat sides. The front side referred to Phra Ya Pak Chao (ruler of Pak Huai Luang), along with other nobles, donated the land to Maha Pa Chao. Other sentence on the back had the name “Sen Soulintha” who donated the land as religious property.

         The Fine Arts Department has announced “Wat Thin Dung, Amphoe Phon Phisai, Tambon Wat Luang” in the Government Gazette, Volume 53, on September 27, 1936. It is later has been registered and published in the Government Gazette, Volume 108, Part 70, on April 19, 1991. The area of ancient monument is 7036 square meters.

 

(จำนวนผู้เข้าชม 30 ครั้ง)

Messenger