โบราณสถานวัดพระบาทคอแก่ง

โบราณสถานวัดพระบาทคอแก่ง

          วัดพระบาทคอแก่ง ตั้งอยู่ที่บ้านพระบาท ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ตามประวัติวัดระบุว่า วัดแห่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๕ โดยมีนายอุ่นเป็นผู้พบรอยพระพุทธบาท จึงชักชวนชาวบ้านสร้างเพิงครอบรอยพระพุทธบาทไว้  ต่อมามีพระภิกษุและแม่ชีจันเดินทางมาจากเวียงจันทน์ เพื่อมากราบนมัสการรอยพระพุทธบาท จึงได้ชักชวนชาวบ้านสร้างเสนาสนะเพิ่มเติม  และตั้งขึ้นเป็นวัด ชื่อ “วัดพระพุทธบาท (เวินกุม)” ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระบาทคอแก้ง หรือ พระพุทธบาทโคกซวก

          สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ รอยพระพุทธบาท ซึ่งถือเป็น “อุเทสิกเจดีย์” ชนิดหนึ่ง คือ สิ่งที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแก่พระพุทธเจ้าหรือแทนองค์พระพุทธเจ้า สภาพเดิมสันนิษฐานว่าเป็นแอ่งหินธรรมชาติ ต่อมาจึงมีการตกแต่งให้เป็นรอยพระพุทธบาทในภายหลัง สภาพปัจจุบันมีการตกแต่งรอยพระพุทธบาทด้วยปูนปั้น ลักษณะเป็นรอยพระบาทข้างขวา ทาด้วยสีทอง บริเวณนิ้วพระบาทประดับลายก้นหอย และลายกลีบบัว บริเวณฝ่าพระบาทประดับลายธรรมจักร และสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ กำหนดอายุสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๔ 

          ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาของประชาชนในท้องถิ่น และบริเวณใกล้เคียง โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓  วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙



Wat Phra Bat Ko Kaeng

          Wat Phra Bat Kho Kaeng is located at Ban Phra Bat, Phra Phutthabat Sub-district, Si Chiang Mai District, Nong Khai Province. According to the record, it was built in 1672 after Buddha’s footprint were found by Mr. Un. Under his suggestions, more religious buildings were constructed as people came to visit the temple more often. This temple was later named Wat Phra Phutthabat (Woen-Kum), Wat Phra Bat Kho Kaeng, or Phra Phutthabat Khok Suak.

          The most important feature of this temple is Buddha’s footprint of Lan Xang culture (17th - 19th century CE), a symbolic representation of the Buddha, inside a pillar hall Mandapa.It is supposedly a natural rock pool made into an imprint of Buddha’s right foot. The footprint was decorated with stucco, painted in gold, and adorned with Dharmachakra at the center, while the fingers were carved with whorl and lotus petal shape.

           Wat Phra Bat Kho Kaeng has been registered and published in the Government Gazette, Volume 53, on September 27, 1936.

      

 

 

 

(จำนวนผู้เข้าชม 17 ครั้ง)

Messenger