ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมูเขียนภาพเล่าเรื่อง รามายณะ ครุฑคาบ นาคคาบออกเถา ภาพสัตว์ลาย กนกเปลวเครือเถาตรงและกนกเปลวเครือเถาเลื้อย (อย.๒๔)


ฝีมือช่าง :          สมัยอยุธยา
ประวัติ :             เดิมอยู่วัดน้อยทองอยู่  กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันวัดน้อยทองอยู่ได้ยุบรวมไปกับวัดดุสิดารามในปี พ.ศ. ๒๔๘๘
ลักษณะลาย :    ตู้ลายรดน้ำ กนกเปลว เครือเถาตรง และกนกเปลวเครือเถาเลื้อยซึ่งเกี่ยวกระหวัดเถาตรง ครุฑคาบ นาคคาบ หน้าขบ ออกเถาหัวครุฑ หัวนาค ช่อเปลวหางโต เทพนมครึ่งตัว เทพรำครึ่งตัว เคล้าภาพสัตว์ ลิง นก กระรอก สัตว์หิมพานต์ และภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์
                          ด้านหลัง  ลงรักดำทึบ ตลอดทั้งเสาขอบตู้ เสาขาตู้ ขอบบนและขอบล่าง
                          เสาขอบตู้  และเสาขาตู้ ๓ ด้านคือ ด้านหน้า ด้านข้าง ขวา ซ้าย ตกแต่งมุมเสาด้วยลายรักร้อยบัวร้อย
           ขอบบน ขอบล่าง  ตกแต่งด้วยลายประจำยามก้ามปูขาเดียวประดิษฐ์อย่างใหม่คล้ายลายเกลียว ขอบบนอยู่เหนือลายบัวรวน ขอบล่างอยู่ใต้ขอบบัวคว่ำทำเป็นลายบัวรวนส่วนใหญ่ลายลบเลือนเห็นเพียงลงรักดำทึบ
           เชิงตู้  ทำเป็นขอบไม้ตรง ๆ มีหยักตรงกลาง ลงทองทึบ
 
 
 


Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

Messenger