ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมูเขียนลายภาพจับภาพ บุคคล เทวดา เทพพนม ก้านขดกนกเปลวลายกนก เปลวเครือเถา ออกเถา รูปสัตว์ต่างๆ เคล้าภาพสัตว์ (อย.๒๐)
ฝีมือช่าง : สมัยอยุธยา
ประวัติ : เดิมอยู่วัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี
ลักษณะลาย : ตู้ลายรดน้ำ ลายก้านขดกนกเปลวและลายกนกเปลวเครือเถา นาคคาบ ครุฑคาบ ออกเถารูปสัตว์ต่างๆ เทพนม พระรำ ช่อหางโตมีหน้าขบ เคล้าภาพสัตว์ ภาพเทวดา ภาพจับและภาพบุคคลยืนโดดเดี่ยว
เสาขอบตู้ ๓ ด้านตกแต่งด้วยลายรักร้อยอยู่ในระหว่างลายลูกขนาบ ซึ่งทำเป็นลายลูกแก้วสลับ
ดอกประจำยาม มีลายกาบพรหมสิงห์และกาบพรหมศรเป็นที่สุดตอนบนและตอนล่าง
เสาขาตู้ ๓ ด้านตกแต่งด้วยลายกาบพรหมสิงห์ที่มุมบน และต่อด้วยลายเท้าสิงห์ยาวลงไปจดขอบเชิงตู้ ต่อจากนั้นลงไปถึงที่สุดขาตู้ลงรักแดงทึบ
ขอบบน ขอบล่าง ๓ ด้านตกแต่งด้วยลายประจำยามลูกฟักก้ามปูเหนือลายบัวรวน
เชิงตู้ ทำเป็นรูปหูช้างตกแต่งด้วยลายก้านขดผักกูด ของนอกของหูช้างทำเป็นร่องริ้วเว้าเข้าออกตามรูปหูช้าง ลงรักแดงทึบ
หลังตู้ มีเสาหัวเม็ด เป็นเสาสี่เหลี่ยมลงรักแดงทึบ