ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศว ร สลักจากหินทรายสีเขียว สูงประมาณ ๑๔๘.๕ ซม. พบที่
ี่โบราณสถานเนินทางพระในเขตอำเภอสามชุกซึ่งเป็นโบราณ
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ศิลปะลพบุรี อิทธิพลศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
วัสดุ หินทราย
ขนาด สูงประมาณ ๑๔๘.๕ เซนติเมตร
ประวัติ พบที่โบราณสถานเนินทางพระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะทางประติมาณวิทยา
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศว ร สลักจากหินทรายสีเขียว สูงประมาณ ๑๔๘.๕ ซม. พบที่
ี่โบราณสถานเนินทางพระในเขตอำเภอสามชุกซึ่งเป็นโบราณ สถานในศาสนาพุทธนิกายมหายาน สมัยลพบุรีเดิมจัด
แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญ คือ เป็นประติมากรรมรูปบุรุษ เกล้า
มวยผมสูงถักผม ลักษณะที่เรียกว่า "ชฎามกุฎ" มวยผมผายออกตอนบน ส่วนโคนมวยคอด ต่างไปจากรูปพระอวโลกิเต
ศวรศิลปะขอมทั่วไปที่มีมวยทรงกระบอก ปรากฏรูปภาพพระพุทธปางสมาธิ หรือพระอติมาภะอยู่ด้านหน้ามวยผม มี
กรอบไรพระศกทำลายเป็นรูปเม็ดไข่ปลา พระโพธิสัตว์มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมพระเนตยาวรี ลืมพระเนตร ต่างกับ
รูปพระโพธิสัตว์ทั่วไปที่มีพระเนตรปิดสนิทอันเป็นลักษณะของศิลปะขอมแบบบายน สวมกุณฑลรูปตุ้ม สวมกรองศอสั้น
รูปสามเหลี่ยมและพาหุรัด ม ๔ กร หัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์ หัตถ์ซ้ายล่างถือหม้อน้ำมนต์ หัตถ์ขวาบนถือพวงลูกประคำ
หัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว นุ่งผ้าสั้น มีชายผ้าเป็นรูปหางปลา คาดเข็มขัดมี หัวรูปสี่เหลี่ยมประดับลายดอกไม้ จาก
ลักษณะทางประติมาณวิทยาของพระโพธิสัตว์ที่กล่าวไป แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองบางประการที่ผสม
ผสานอยู่กับศิลปะขอมแบบบายนอายุราวพุทธศตวรรษที่๑๘ อันเป็นศิลปะที่ให้อิทธิพลโดยตรงกับรูปพระโพธิสัตว์องค์นี้