องค์ความรู้ ประวัติศาสตร์มหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ (ปี 2554)
เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี พื้นที่หลายเขตในกรุงเทพมหานครเกิดน้ำท่วมขังนานร่วมเดือน บางจุดท่วมนานมากกว่า 1 เดือน
เกิดจากฝนตกอย่างต่อเนื่องนานหลายวันจนส่งผลให้แม่น้ำ ลำคลองริมตลิ่งล้นทะลัก ประกอบกับเขื่อนกักเก็บน้ำเริ่มอุ้มน้ำไว้ไม่ไหว มีการระบายน้ำออกอย่างต่อเนื่องลงแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน ไหลเข้ามารวมกันที่แม่น้ำเจ้าพระยาจนเกิดมวลน้ำก้อนใหญ่ขึ้นการระบายน้ำติดขัด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร
ถนนสายสำคัญที่จะเข้าเมืองนั้นกลายเป็นคลอง เปลี่ยนจากท่ารถเป็นท่าเรือ ไม่ว่าจะเป็นถนนวิภาวดีรังสิต พหลโยธิน รามอินทรา บรมราชชนนี ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เพชรเกษม ฯลฯ ต่างจมบาดาล รถเล็กวิ่งผ่านไม่ได้ มีระดับน้ำสูง 20 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ในบางจุด
มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ถือว่าสาหัสเพราะน้ำล้นออกจากทางเดินปกติ การระบายน้ำจึงเป็นเรื่องยากกว่าน้ำจะถูกขับลงทะเลและไหลลงแม่น้ำซึ่งใช้เวลานาน นับตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม 2554 และในปี 2564 นี้ สถานการณ์อุทกภัยจำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย นครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี
พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง อุบลราชธานี พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี สระแก้ว ชัยนาท สุพรรณบุรี อุทัยธานี ระยอง และเพชรบูรณ์ ยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากอุทกภัยที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเพราะอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่
ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
#ข้อมูลอ้างอิง
กี่คืน...กี่วันวาย บันทึกประวัติศาสตร์มหาอุทกภัย'54. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555.
เลขหมู่ 363.3493 ก686
กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำ ประจำสัปดาห์ในช่วงฤดูฝนปี 2564 ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – วันที่ 03 ตุลาคม พ.ศ. 2564. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://water.rid.go.th › flood › weekreportnew (วันที่ 7 ตุลาคม 2564)
BBC NEWS ไทย น้ำท่วม 2564. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-58706897 (วันที่ 7 ตุลาคม 2564)
ดาวน์โหลดไฟล์: ประวัติศาสตร์มหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ (ปี 2554).pdf
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:
(จำนวนผู้เข้าชม 4956 ครั้ง)