...

รายงานการเดินทาง คณะผู้แทนศึกษาจารึก ในคณะทำงานเรื่อง แผนการดำเนินงานแลกเปลี่ยนทางวิชาการของกรมศิลปากร ณ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐

๑. ชื่อโครงการ            แผนปฏิบัติงานตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการดำเนินงานแลกเปลี่ยนวิทยากร
                             ทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถานฯ ระหว่าง
                             กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และ กรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว
                             วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  

๒. วัตถุประสงค์           เพื่อสำรวจ ทำสำเนาจารึกเอกสารโบราณในเขตวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

๓. กำหนดเวลา           ระหว่างวันที่ ๘ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐

๔. สถานที่                 ๑. พิพิธภัณฑ์วัดพู  แขวงจำปาสัก  สปป. ลาว

                             ๒. คลังพิพิธภัณฑ์วัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

                             ๓. โบราณสถานในแขวงจำปาสัก    สปป.ลาว

๕. หน่วยงานผู้จัด        กรมศิลปากร

๖. หน่วยงานสนับสนุน   กลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ( งบประมาณ )

๗. กิจกรรม               

วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐       

เวลา ๐๘.๓๐ น.          ผู้แทนศึกษาจารึกเดินทางถึง สปป.ลาว

เวลา ๑๔.๐๐ น.          เยี่ยมคารวะท้าวอุดมสี แก้วสักสิด ผู้อำนวยการมรดกโลกวัดพูจำปาสัก
 ท้าวสุบัน หัวหน้าขะแหนงพิพิธภัณฑ์วัดพู ท้าวบุนทำ ปาคำ รองขะแหนง
 พิพิธภัณฑ์วัดพู เพื่อรับทราบข้อมูลและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยพิพิธภัณฑ์วัดพูจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการสำรวจ และ                                                    จัดทำสำเนาจารึกในแขวงจำปาสัก ระหว่างวันที่ ๙
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ 

วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐

เวลา ๐๘.๓๐ น.          คณะผู้แทนศึกษาจารึก เดินเท้าเข้าไปสำรวจ และทำสำเนาจารึกบนภูเขา  รอบวัดพู จำนวน ๓ แหล่ง ดังนี้

                                       ๑. จารึกอูบมุง เป็นจารึกแผ่นหินทราย ฝังอยู่บริเวณหน้าปราสาทอูปมุง
                                      บนภูเขาวัดพู ขนาดกว้าง ๑๑๒ เซนติเมตร สูง ๑๘๙ เซนติเมตร

จารึกจำนวน ๑ ด้าน อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๗ บรรทัด  คณะทำงานจัดทำสำเนาจารึก จำนวน ๓ สำเนา 

                                    ๒. จารึกถ้ำเลก ๑,  เป็นจารึกบนเพดานถ้ำ จำนวน ๒ ข้อความ อยู่บนภูเขาวัดพู จารึกถ้ำเลก ๑ และ ๒ เป็นจารึกที่แสดงรายละเอียดของการเตรียมพื้นที่ในการจารึก ด้วยการตีกรอบล้อมรอบข้อมูลจารึกไว้ภายใน จารึกถ้ำเลก ๑  มีขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร จารึกข้อความ ๕ บรรทัด ส่วนจารึกถ้ำเลก ๒ มีขนาดกว้าง ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๔๒ เซนติเมตร จารึกข้อความ ๒ บรรทัด จารึกทั้งสองรายการ บันทึกข้อความด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต คณะทำงานได้บันทึกภาพ และบันทึกข้อมูลเท่านั้น เนื่องจากจารึกอักษรชัดเจน และมีเวลาจำกัด จึงมิได้ทำสำเนา 

                                    ๓. จารึกพูเพ เป็นจารึกบนหินทรายขนาดใหญ่ ใกล้ลำธาร บริเวณภูเขาวัดพู จารึกอักษรอยู่ในกรอบที่มีขนาดกว้าง ๔๔ เซนติเมตร ยาว ๖๔ เซนติเมตร
จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวนบรรทัด ทำสำเนาจารึก จำนวน
  ๒ สำเนา

วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐    คณะผู้แทนศึกษาจารึกออกเดินทางถึงคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู ริมถนน
 ช่องเม็ก   จำปาสัก เวลา ๐๙.๐๐ น.บันทึกข้อมูลและทำสำเนาจารึก ๓ รายการ ดังนี้

                                       ๑. จารึกส่าง ๑ เป็นจารึกบนแท่นฐานหินทราย ขนาดความกว้างของฐานแต่ละด้าน ๙๐ เซนติเมตร ฐานสูง ๕๐ เซนติเมตร พบที่บ้านห้วยสระหัว แขวงจำปาสัก อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๓ บรรทัด จัดทำสำเนาจำนวน ๕ สำเนา 

                                        ๒. จารึกส่าง ๒ เป็นจารึกบนแท่นฐานหินทราย ขนาดความกว้าง ๑๐๔ เซนติเมตร สูง ๓๕ เซนติเมตร พบที่บ้านห้วยสระหัว แขวงจำปาสัก อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๓ บรรทัด จัดทำสำเนาจารึก ๕ สำเนา            

                                       ๓. จารึกส่าง ๓ เป็นจารึกบนแท่นหินทรายขนาดใหญ่ จำนวน ๔ ด้าน  ขนาดความกว้างด้านละ ๖๐ เซนติเมตร ความสูง ๓๐๐ เซนติเมตร จารึกอักษรลบเลือน เหลือเพียง ๓ ด้าน จำนวนด้านละ ๕๑ ๕๒ บรรทัด จัดทำสำเนาจารึกเฉพาะด้านที่ ๑ จำนวน ๒ สำเนา

                                     เวลา ๑๕.๐๐ น. คณะทำงานได้เข้าสำรวจจารึกภายในคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู โดยมีเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์วัดพู อำนวยความสะดวก พบจารึกจำนวน ๓ รายการ บางรายการชำรุดมาก ไม่สมควรทำสำเนา จึงวัดขนาดและบันทึกภาพ ได้ทำสำเนาจารึก จำนวน ๒ หลัก คือ

                                      ๑. จารึกในคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู ๑ เป็นจารึกหินทราย รูปใบเสมา ขนาดฐานกว้าง ๔๒ เซนติเมตร สูง ๖๙ เซนติเมตร หนาบน ๒๐ เซนติเมตร หนาล่าง ๓๑ เซนติเมตร ไม่ทราบแหล่งที่พบ สันนิษฐานว่าพบในบริเวณวัดพู อักษรขอมโบราณ จำนวน ๑๒ ๑๔ บรรทัด แต่อักษรค่อนข้างลบเลือน ทำสำเนาจารึก จำนวน ๓ สำเนา 

                                      ๒. จารึกในคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู ๒ เป็นจารึกหินทราย ขนาดกว้าง ๕๓ เซนติเมตร สูง ๖๔ เซนติเมตร หนา ๑๐ เซนติเมตร พบที่โบราณสถานโพนสาวเอ้ บ้านทางคบ แขวงจำปาสัก อักษรปัลลวะและอักษรขอมโบราณ จำนวน ๓ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๖ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕ บรรทัดและด้านที่ ๓ มี ๒ บรรทัด ทำสำเนาด้านที่ ๑ จำนวน ๓ สำเนา ด้านที่ ๒ จำนวน ๓ สำเนา และด้านที่ ๓ จำนวน ๔ สำเนา    

๘. คณะผู้แทนไทย       

                   ๑. นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ     นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร

                   ๒. นางสาวเอมอร  เชาวน์สวน               นักภาษาโบราณเชี่ยวชาญ สำนักหอสมุดแห่งชาติ

                   ๓ นางเสริมกิจ ชัยมงคล                      ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
                                                                   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                   ๔. นายพงศ์พิศิษฏ์ กรมขันธ์                  นักโบราณคดีปฏิบัติการ
                                                                   สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี

 ๙. สรุปสาระของกิจกรรม

                   ๑. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกโบราณในแขวงจำปาสัก

                   ๒. สำรวจเส้นทาง บันทึกข้อมูลจารึก และบันทึกภาพ สถานที่พบจารึกทั้ง ๘ รายการ

                    ๓. ทำสำเนาจารึกและบันทึกภาพจารึกที่พบใหม่ในแขวงจำปาสัก จำนวน ๘ รายการ       รายการละ  ๕ สำเนา

                   ๔. มอบสำเนาจารึกให้พิพิธภัณฑ์วัดพู สปป.ลาว จำนวน ๖ รายการ / ๖ สำเนา และสำนัก
                       ศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี จำนวน ๒ รายการ / ๒ สำเนา

๑๐. ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรม

๑. เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์วัดพู สปป.ลาว มีความสนใจในการอ่าน แปล จารึกอักษรโบราณ และประสงค์จะเรียนรู้ให้สามารถอ่านแปลจารึกได้ จึงเสนอขอความอนุเคราะห์ให้นักวิชาการฝ่ายไทยช่วยจัดกิจกรรมอ่าน แปล อักษรโบราณในโอกาสต่อไป

                     ๒. ควรจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้จากจารึกที่สำรวจพบในครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของกรมศิลปากร โดยผนวกรวมความรู้จากจารึกพระเจ้าจิตรเสนที่พบในประเทศไทย เพื่อ เป็นชุดข้อมูลสำเร็จรูปให้แก่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ของ สปป.ลาว ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสำรวจจารึกต่อไป

                   ๓. การจัดกิจกรรมสำรวจและทำสำเนาจารึก ควรกำหนดแผนล่วงหน้า เพื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาดำเนินการให้สอดคล้องกับปริมาณงาน เพื่อความปลอดภัย และประโยชน์สูงสุดของการทำงาน

 

 

                                                นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ     

                                                นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร                                                                                                   สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ

                                       

(จำนวนผู้เข้าชม 1141 ครั้ง)


Messenger