๑.ชื่อโครงการ
โครงการจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ เรื่อง “Visitors to Versailles (1682 - 1789)"
๒.วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อตรวจสอบสภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของประเทศไทยจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จำนวน ๒ รายการ รวม ๓ ชิ้น ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังแวร์ซายส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันแห่งนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขอยืมไปจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ เรื่อง “Visitors to Versailles (1682 - 1789)"
๒.๒ เพื่อสังเกตการณ์วิธีการเคลื่อนย้ายและแก้หีบห่อโบราณวัตถุของประเทศไทยเพื่อเตรียมการจัดแสดงในห้องนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์พระราชวังแวร์ซายส์
๓.กำหนดเวลา
ตั้งแต่วันที่ ๑๑ – ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
๔.สถานที่
พิพิธภัณฑ์พระราชวังแวร์ซายส์ Place d'Armes, Versailles, Paris, France รหัสไปรษณีย์ 78000
๕.หน่วยงานผู้จัด
พิพิธภัณฑ์พระราชวังแวร์ซายส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน แห่งนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรมศิลปากร
๖.หน่วยงานสนับสนุน
-
๗.กิจกรรม
๗.๑ ภัณฑารักษ์ของประเทศไทยตรวจสอบสภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จำนวน ๒ รายการ รวม ๓ ชิ้น ร่วมกับภัณฑารักษ์ของประเทศฝรั่งเศส
๗.๒ ภัณฑารักษ์ของประเทศไทยเข้าร่วมสังเกตการณ์วิธีการเคลื่อนย้ายและแก้หีบห่อโบราณวัตถุของประเทศไทย
๘.คณะผู้แทนจากกรมศิลปากร
๘.๑ นางกัญณศมนต์ กะมุทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๙.สรุปสาระของกิจกรรม
๙.๑ ภัณฑารักษ์ทั้งสองฝ่ายร่วมกันตรวจสอบสภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของไทย จำนวน ๒ รายการ รวม ๓ ชิ้น ได้แก่ บุษบกจำลองของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และ ลอมพอกพร้อมกระบอกลายรดน้ำของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ผลการตรวจสอบปรากฏว่า สภาพโบราณวัตถุทุกรายการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ภัณฑารักษ์ของไทยได้เน้นย้ำให้ระมัดระวังการหยิบยกและเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุทั้งหมด เนื่องจากมีจุดเปราะบางเป็นพิเศษอยู่หลายแห่ง
๙.๒ ภัณฑารักษ์ของไทยสังเกตการณ์การทำงาน วิธีการเคลื่อนย้าย และการแก้หีบห่อตลอดจนติดตั้งจัดวางโบราณวัตถุบนแท่นฐานในห้องจัดแสดง
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
การเดินทางมาร่วมตรวจสภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จและได้รับความรู้ประสบการณ์ที่มีค่าจากการทำงานอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานสากล มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม ทีมงานฝ่ายฝรั่งเศสมีแผนการทำงานที่รวดเร็ว เป็นขั้นตอนที่ผ่านการเตรียมงานและวางแผนอย่างดี โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทุกรายการได้รับการจัดแสดง จัดเก็บ หยิบยกเคลื่อนย้าย ตรวจสอบดูแลอย่างดี ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสองประเทศในโอกาสต่อไป
นางกัญณศมนต์ กะมุทา ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ
(จำนวนผู้เข้าชม 1110 ครั้ง)