...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี กิจกรรมการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกสีเขียว (Green Historical Park) ระหว่างวันที่ ๒ – ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี

 

.ชื่อโครงการ   กิจกรรมการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกสีเขียว (Green Historical Park)

. วัตถุประสงค์

                   ๒.๑ เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานแก่กลุ่มเป้าหมาย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดภาวะโลกร้อน และการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สภาพแวดล้อม

๒.๒ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมนำไปประยุกต์ใช้หรือเกิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๓ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านการศึกษาดูงานในประเทศที่มีองค์ความรู้ดังกล่าว

. กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๒ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙

. สถานที่       ๑.กรุงโซล 

๒.จังหวัดคังว็อน

๓.จังหวัดเคียงกิโด

๕. หน่วยงานผู้จัด   อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์   กำแพงเพชร

๖. หน่วยงานสนับสนุน   สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร (อพท ๔)

๗. กิจกรรม         ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว  ในประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

๘. คณะผู้แทนไทย

๑.นายขจร มุกมีค่า                  ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย

๒.นางนงคราญ สุขสม               หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย

๓.นายสถาพร เที่ยงธรรม           ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

๔.นางธาดา สังข์ทอง                หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

๕.นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน             หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

๖.นางนฤมล เก่าเงิน                หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

๗.นางประมาณ แก่นคำ             เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน  อุทยานประวัติศาสตร์

ศรีสัชนาลัย

๘.น.ส.นุชจรี ผ่องไสศรี              นักโบราณคดีปฏิบัติการ  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

๙.นายสนธิ ริยาพันธ์                พนักงานเกษตรพื้นฐาน  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

๑๐.น.ส.วสมล เทียนถนอม ปลัดเทศบาลตำบลเมืองเก่า

๑๑.นายประครอง สายจันทร์       รักษาการผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร (อพท ๔)

๑๒.น.ส.สุรางคนางค์ พ่วงแผน      เจ้าหน้าที่สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์

สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร (อพท ๔)

๑๓.นายวัชระ ทิพย์ชำนาญ         เจ้าหน้าที่สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์

สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร (อพท ๔)

๑๔.น.ส.ชุติมา แสงสวัสดิ์            เจ้าหน้าที่สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์

สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร (อพท ๔)

 ๑๕.น.ส.เรณู ปิ่นทอง               เจ้าหน้าที่สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์

สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร (อพท ๔)

๙. สรุปสาระของกิจกรรม  ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว  ในประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

                    ๑. สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (The National Institute of Environmental Research: NIER ) สำนักงานแห่งแรกของโลกที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ภายในอาคารเต็มไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้ดิน ฉนวนกันความร้อนประสิทธิภาพสูง หลอดไฟแอลอีดี  และม่านกันแดดอัตโนมัติ ตอบสนองแนวคิด Green Growth ของรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่ประกาศจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ลงได้ ๓๐% ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

                    ๒.เกาะนามิ  ตั้งอยู่ที่เมืองชุนซ็อน จังหวัดคังว็อน ห่างจากกรุงโซลประมาณ ๖๓ กิโลเมตร  เกาะนามิรูปร่างเหมือนใบไม้ลอยน้ำ เป็นเกาะกลางแม่น้ำฮัน ซึ่งเกิดจาการสร้างเขื่อนช็องพย็อน  เกาะนามิเป็นที่รู้จักในด้านการมีภูมิทัศน์ที่สวยงามด้วยธรรมชาติ ต้นไม้เปลี่ยนสี  ทั้งนี้เกาะนามิมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ทั้งในด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวเพื่อการท่องเที่ยว และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์

๓. พระราชวังชังดอก ขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐  และยังเป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดของเกาหลี  สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซ็อน เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๘ และภายในพระราชวังมีจุดบริการสินค้าที่ระลึกที่มีความน่าสนใจและเป็นสินค้าที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่และความเป็นมรดกโลก

๔. หมู่บ้านวัฒนธรรมซูวอน  ตั้งอยู่ที่เมืองซูวอน ในจังหวัดเคียงกิโด ห่างจากกรุงโซลไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ ชั่วโมง  เป็นหมู่บ้านจำลองและพิพิธภัณฑ์ที่จำลองและแสดงถึงวิถีชีวิตของคนเกาหลี ภายในหมู่บ้านประกอบด้วยบ้านเรือนแบบดั้งเดิม กว่า ๒๔๐ หลัง เครื่องมือเครื่องใช้ บ้านของข้าราชการ ลานกว้างสำหรับแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวเกาหลีในเทศกาลต่างๆ  นอกจากนี้ยังจัดแสดงตลาดพื้นเมือง และอื่นๆ อีกมากมายเพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมของชาวเกาหลี   ซึ่งทำให้สามารถศึกษาถึงรูปแบบการจัดนิทรรศการ การนำ เสนอให้มีความน่าสนใจ และเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวเกาหลีอีกทางหนึ่ง หมู่บ้านแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำละครประวัติศาสตร์ของเกาหลีอีกด้วย  

๕.หมู่บ้านพื้นเมืองพูซอนฮันนกและย่านสามฟ้า  เป็นบริเวณที่ตั้งของบ้านชนชั้นยางบางของเกาหลีในราชวงศ์โชซอน เป็นเขตพิเศษที่ทางเทศบาลกรุงโซลอนุรักษ์ไว้ โดยเรียกว่า พูซอน ฮันนก ( Bucheon Hanok Village ) ปัจจุบันยังมีลูกหลานชาวยางบางอาศัยอยู่ ผู้อนุรักษ์นิยม หรือเศรษฐีรุ่นใหม่ที่ชอบกลิ่นอายความเก่าแก่  ซึ่งบริเวณนี้มีความกลมกลืนระหว่างตะวันตกและตะวันออก โดยเห็นได้จากร้านอาหาร คาเฟ่ แกลลอรี่ ร้านงานศิลปะ รวมทั้งศูนย์วัฒนธรรมที่อยู่ในบริเวณนั้น  โดยมีการดัดแปลงอาคารเก่าให้มีความทันสมัยโดยกลมกลืนกับรูปแบบอาคารเดิม   

๖.พระราชวังคยองบก  พระราชวังหลักของราชวงศ์โชซอน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๓๘ ในสมัยของกษัตริย์แทจง (Taejong) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โชซอน ก่อนจะถูกไฟไหม้ในช่วงที่ญี่ปุ่นรุกรานในปี พ.ศ.๒๑๓๕ และคงเหลือไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะในสมัยต่อมา  ทั้งนี้ภายในเขตพระราชวังมีพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติเกาหลี (The National Palace Museum of Korea) อยู่ด้วย

                    ๗. คลองซองเกซอน  ถูกขุดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยของกษัตริย์ Yeongjo กษัตริย์องค์ที่ ๒๑ แห่งราชวงศ์โชซอน ต่อมาได้กลายเป็นพื้นที่จัดแสดงวัฒนธรรมต่างๆ ตลอดจนวิถีชีวิตริมคลอง  ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดเกาหลี น้ำในคลองเน่าเสียเต็มไปด้วยมลพิษเนื่องจากมีผู้คนอาศัยหนาแน่น   ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มีโครงการพลิกฟื้นคลองซองเกซอนให้กลับมาเป็นคลองประวัติศาสตร์อีกครั้ง  โดยการพัฒนาพื้นที่ริมคลองซองเกซอนเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.๒๕๔๘ จนปัจจุบันเป็นสัญลักษณ์ของการผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัวของธรรมชาติ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

                    ๘. ภูเขานัมซาน หอคอย N Tower   Love Rock Cable ภูเขานัมซานเป็นภูเขาลูกเดียวใจกลางเมืองหลวง มีหอคอย N Tower เป็น ๑ ใน ๑๗ หอคอยเมืองที่สูงที่สุดในโลก สูงถึง ๔๘๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  โดยบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้สถานที่เป็นแลนด์มาร์ค (Landmark)  ของประเทศเกาหลีที่สามารถดึงดูดนักท่อง เที่ยว พร้อมทั้งมีการบริหารจัดการร้านค้า และร้านจำหน่ายของที่ระลึกภายในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

 

 

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

                    ๑๐.๑  การคัดเลือกประเทศและแหล่งท่องเที่ยวในการศึกษาดูงานมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่เป็นผู้นำในเรื่องของการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชีย และเป็นประเทศที่มีความใส่ใจในเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก  สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งท่อง เที่ยวได้

                    ๑๐.๒  การเตรียมงาน การประสานงานระหว่างประเทศในการเข้าเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวพร้อมรับฟังแนวทางการบริหารจัดการ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจัดทำได้อย่างเป็นระบบ  สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมภายในประเทศไทยได้

                    ๑๐.๓  การคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความหลากหลายทั้งในด้านหน่วยงานและพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำประสบการณ์  ความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของตนมาใช้ประโยชน์ได้

                    ๑๐.๔  ในส่วนของเกาะนามิ จังหวัดคังว็อน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมาก  มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีมาก  มีการดัดแปลงสภาพพื้นที่เท่าที่จำเป็น  อาคารสิ่งปลูกสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างๆ ก็เป็นอาคารขนาดเล็ก กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม  ที่สำคัญเกาะนามิมีระบบการจัดการขยะภายในพื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยม  สามารถใช้ขยะทุกอย่างภายในเกาะแม้กระทั่งกิ่งไม้ใบไม้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ  ซึ่งน่าจะใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่งได้

                    ๑๐.๕ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของประเทศเกาหลีมีการเตรียมพร้อมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก  หลายๆแห่งมีเอกสารประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย  ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกเป็นอย่างมาก  ซึ่งน่าจะใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงเอกสารเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้

                    ๑๐.๖ หมู่บ้านวัฒนธรรมซูวอนซึ่งจัดแสดงวิถีชีวิตของชาวเกาหลี โดยสร้างเป็นหมู่บ้านขนาดเท่าจริงเพื่อให้ชาวเกาหลีและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้าไปเที่ยวชมได้รับรู้และเข้าใจถึงวิถีชีวิตของชาวเกาหลีในอดีต  มีการจัดแสดงได้เป็นอย่างดี  ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าใจได้ง่ายและมีความน่าสนใจ  นอกจากนี้ภายในบริเวณหมู่บ้านยังมีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของชาวเกาหลี  ซึ่งน่าจะใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหมู่บ้านวิถีไทย  แสดงวิถีชีวิตของชาวไทยในอดีต  เพื่อให้คนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวชมได้

                    ๑๐.๗ ในเรื่องการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว ประเทศเกาหลีทำได้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จาก แหล่งท่องเที่ยวสำคัญจำนวนมาก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้าชมปีละหลายล้านคน   แต่ตัวอาคารสถานที่ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ได้รับการบำรุงดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอด  สร้างความประทับใจและความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยว  ในประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยน่าจะพิจารณาปรับเพิ่มงบประมาณในการบำรุงดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

                    ๑๐.๘  ในแหล่งท่องเที่ยวทุกแหล่งที่ไปศึกษาดูงานมีการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์และมีความสวยงาม  ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าที่ระลึกของอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่ง ได้เป็นอย่างดี

                                         

 

        .............................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

     (นายภัทรพงษ์  เก่าเงิน)

    หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

(จำนวนผู้เข้าชม 898 ครั้ง)


Messenger