...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ เมืองหนิงโป สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

รายชื่อคณะเดินทางจากกรมศิลปากร

๑.นายปณิธาน เจริญใจ                                สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม

๒.นางเหมือนแก้ว จารุดล วชระเธียรชัย               ภูมิสถาปนิกปฏิบัติการ สำนักสถาปัตยกรรม

 

๑. ชื่อโครงการ

โครงการออกแบบอาคารหอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ

เมืองหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

๒. วัตถุประสงค์

สำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูลเบื้องต้น เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแบบและรูปแบบรายการอาคารและ

ภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบอาคารหอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ

เมืองหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน  

 

๓. กำหนดเวลา  

ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

๔. สถานที่  

เมืองหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

๕. หน่วยงานผู้จัด

กรมราชองครักษ์

๖. หน่วยงานสนับสนุน

เทศบาลเมืองหนิงโป

 

๗. กิจกรรม

มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙

พบคณะผู้ร่วมเดินทางจากกรมราชองครักษ์ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เวลา ๒๑.๐๐ น. เพื่อเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง เที่ยวบินเวลา ๐๐.๓๐ น.

       

วันที่   กรกฎาคม ๒๕๕๙

ถึงท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง ประมาณ ๕.๔๕ น. คุณอัญชลี ด้วงชุม เลขานุการและล่าม  ของMr.Yao Hong  ซึ่งเป็น CEO จากบริษัท Shanghai Tairan Investment group co.,LTD  ผู้ประสานงานกับทางรัฐบาลจีนมารอรับ เพื่อเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวไปกับคณะผู้ร่วมเดินทางจากกรมราชองครักษ์ไปยังเมืองหนิงโป ใช้ระยะเวลา ๔ ชั่วโมงจากสนามบิน เพื่อเข้าพบทางการเมืองหนิงโป ประกอบด้วย นายอำเภอ, BOI chairman ,ฝ่ายกิจการท่องเที่ยว ฯลฯ   พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน   เวลา ๑๒.๓๐ น.

เดินทางสำรวจพื้นที่โครงการ ถึงเวลา ๑๔.๐๐ น. พื้นที่โครงการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ และ ภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างเมืองไทยจำลอง ณ บริเวณตอนใต้ของเมืองหนิงโป โดยทางจีนได้มีการนำเสนอพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกเพื่อดำเนินการในโครงการเป็นจำนวน ๓ จุด  

วันที่   กรกฎาคม ๒๕๕๙

เช็คเอาท์จากที่พัก เวลา ๑๐.๐๐ เดินทางเข้าสู่ เมืองเซี่ยงไฮ้ ถึงเวลา ๑๔.๐๐

          เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๓๐ น. ที่  บริษัท เซี่ยงไฮ้ ไท้ยั๋น อินเวสท์เมนท์ จบการประชุมเวลา ๑๘.๐๐ น.                   

          ภายในการประชุมมีการนำเสนอพื้นที่ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ เบื้องต้น และผังการใช้พื้นที่โครงการโดยรอบประกอบ (ดังภาพ )

                จากนั้นเดินเดินทางไปประชุมที่ บริษัท Shanghai Longyu Construction Group CO.,Ltd. เริ่มประชุม ๑๘.๓๐ น. จบการประชุม ๑๙.๑๕ น.

                เดินทางไปร่วมรับประทานอาหารเย็นกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท เซี่ยงไฮ้ ไท้ยั๋น อินเวสท์เมนท์ เวลา ๑๙.๓๐ น.และเข้าเช็คอินที่โรงแรมเวลา ๒๒.๐๐ น.

วันที่ ๑๐  กรกฎาคม ๒๕๕๙

          เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศไทย โดยเช็คเอาท์จากโรงแรมเวลา ๑๑.๐๐ น.  แวะไหว้ศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้ อายุ ๖๐๐ ปี รับประทานอาหารในบริเวณใกล้เคียง

          ๑๔.๐๐ น. เดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง เพื่อเดินทางกลับสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย เที่ยวบินเวลา ๑๗.๒๕ น.

วันที่ ๑๐  กรกฎาคม ๒๕๕๙

          เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศไทย โดยเช็คเอาท์จากโรงแรมเวลา ๑๑.๐๐ น.  แวะไหว้ศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้ อายุ ๖๐๐ ปี รับประทานอาหารในบริเวณใกล้เคียง

          ๑๔.๐๐ น. เดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง เพื่อเดินทางกลับสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย เที่ยวบินเวลา ๑๗.๒๕ น.

 

 

๘. คณะผู้แทนไทย

๑. นายปณิธาน เจริญใจ                      สถาปนิกชำนาญการ      กรมศิลปากร

๒. นางเหมือนแก้ว จารุดุล วชิระเธียรชัย    ภูมิสถาปนิกปฏิบัติการ    กรมศิลปากร

                ๓. พลเอกคณิต เพิ่มทรัพย์          รองสมุราชองครักษ์        กรมราชองครักษ์

                ๔. นางสุชาภา ผลชีวิน                       ตัวแทนบริษัท เซี่ยงไฮ้ ไท้ยั๋น อินเวสท์เมนท์

                                                          แมเนจเมนท์ จำกัด ผู้จัดทำโครงการ เมืองไทยหนิงโป

                ๕. ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน                      สมาชิกสภาปฏิรูป กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

            ๖. นางบุศยรัตน์ เพิ่มทรัพย์                  ภรรยารองสมุหราชองครักษ์

                ๗. ผศ.ดร.ประมา ศาสตระรุจิ                ผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมสื่อสารสังคม

                                                          มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

          ๘. นายคเณศวร์ เพิ่มทรัพย์                   อาจารย์พิเศษด้านดนตรี   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

๙. สรุปสาระของกิจกรรม

           สำรวจพื้นที่โครงการเบื้องต้น และเก็บข้อมูลเพื่อพิจารณาเลือกพื้นที่โครงการ ฯ และจัดทำแบบก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ และภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบเพื่อนำไปดำเนินการต่อไป

 

              สรุปข้อเท็จจริง

               บริษัทShanghai Tairan Investment group co.,LTD  โดยมี CEO  มร.เหยา หง (Mr.Yao Hong ) และ นางสุชาภา ผลชีวิน ตัวแทนบริษัทฝ่ายประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างเมืองไทย - หนิงโป ซึ่งเป็นโครงการที่จะจำลองสิ่งก่อสร้าง วัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยวในเมืองไทย ให้บริการโดยคนไทย โดยมีพื้นที่สำคัญคืออาคารหอเฉลิมพระเกียรติ ฯ หอนาฬิกา และภูมิทัศน์โดยรอบ ซึ่งประกอบด้วยลานเฉลิมพระเกียรติและนาฬิกาแดด เพื่อสะท้อนถึงความตรงต่อเวลาของพระองค์ท่าน

               ทั้งนี้ ทางบริษัทShanghai Tairan Investment group co.,LTD ยังมิได้มีการออกผังแม่บทการใช้พื้นที่ในโครงการ (Masterplan ) ซึ่งเป็นตัวกำหนดบริบท (Context )โดยรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ ที่แน่นอน มีแต่เพียงการนำเสนอพื้นที่ ๓ บริเวณ เพื่อพิจารณาเลือกในแผนแม่บทใหญ่เท่านั้น (ภาพประกอบตามเอกสารแนบ ๒ )

               บริเวณที่ ๑ เป็นพื้นที่ลึกเข้าไปด้านในของโครงการเมืองไทย-หนิงโป อยู่ห่างไกลจากพื้นที่ส่วนอื่นๆ  ทางเข้าออกมีจำกัด พื้นที่มีขนาดจำกัดเนื่องจากเป็นผาหินทอดลงสู่ทะเล มีความเป็นส่วนตัวสูง

               บริเวณที่ ๒ เป็นพื้นที่มีหน้าหาดกว้าง และยาวหลายร้อยเมตร ทรายมีสีน้ำตาลอ่อน เม็ดละเอียด เป็นหาดทรายที่ดีที่สุดในเมืองหนิงโป มุมมองทอดสู่มหาสมุทร มีความเป็นส่วนตัว เข้าถึงได้ง่ายกว่าในบริเวณพื้นที่ที่ ๑ ปัจจุบันพื้นที่มีการใช้งานของเอกชน

               บริเวณที่ ๓ เป็นพื้นที่บริเวณด้านหน้าภูเขา หันหน้าออกสู่ทะเล ด้านหน้าเขาเป็นพื้นที่ราบใช้ในการเกษตรกรรม มีถนนและเขื่อนสูง ๖ เมตรกั้นบริเวณหาดเลนและมหาสมุทร พื้นที่หากเลือกตั้งอยู่บนเนินเขาจะมีความเป็นส่วนตัว แต่อาจมีการรบกวนจากกิจกรรมในพื้นที่เกษตรกรรมด้านหน้าที่จะพัฒนาเป็นตลาดน้ำ ๔ ภาค และอื่น ๆ

 

                สรุปสถานการณ์โครงการ ฯ

                พื้นที่โครงการ ฯ และกิจกรรมที่จะเกิดโดยรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ ยังไม่ระบุแน่นอน ทั้งนี้ทางบริษัทShanghai Tairan Investment group co.,LTD ยังต้องรอผลการยืนยันทางเอกสารจากทางการจีนเรื่องการจดทะเบียนเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินโครงการนี้ และเพื่ออนุมัติที่ดินในการดำเนินโครงการ

 

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

การเดินทางจากสนามบินไปถึงพื้นที่โครงการใช้เวลามาก ทำให้ระยะเวลาในการสำรวจพื้นที่เก็บข้อมูลดำเนินการได้เท่าที่เวลาจะอำนวย รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการออกแบบที่ประเทศจีนมีจำกัดเนื่องด้วยภาษา เช่น วัสดุในท้องถิ่น พรรณไม้พื้นถิ่น ฯลฯ

 

(จำนวนผู้เข้าชม 1315 ครั้ง)


Messenger