...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2559 จำนวน 3 วัน

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

โครงการ  จัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อสำรวจศึกษาข้อมูลต่างๆ ในบริเวณเมืองเก่าเพชรบุรีและพื้นที่โดยรอบสำหรับใช้เป็นข้อมูลจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

2.    เพื่อจัดทำแผนแม่บทในการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเมืองเก่าเพชรบุรี ประกอบด้วยการศึกษาตามประวัติศาสตร์โบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถาน การใช้ที่ดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อม การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการพื้นที่ กำหนดพื้นที่ประกาศ เขตโบราณสถาน รวมทั้งแผนการดำเนินงานและงบประมาณ

3.    เพื่อสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่น ทั้งในส่วนขององค์กร หน่วยงานภาครัฐบาล และประชาชนในพื้นที่โบราณสถานเมืองเก่าเพชรบุรีและที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ คุณค่าความสำคัญของโบราณสถาน และวางแผนในการอนุรักษ์โบราณสถานร่วมกัน

กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2559 จำนวน 3 วัน

สถานที่  เมืองหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

หน่วยงานผู้จัด  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

หน่วยงานสนับสนุน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กิจกรรม  ไปดูตัวอย่างอันโดดเด่นของการพัฒนาทางด้านของวัฒนธรรมมนุษย์ รูปแบบสถาปัตยกรรม ไปศึกษาดูตัวอย่างที่ดีในด้านการอนุรักษ์ และการบริหารจัดการเมืองเก่า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพชรบุรี

             เมืองหลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และยังร่ำรวยด้วยวิถีชีวิตกับประเพณีอันงดงาม องค์การยูเนสโกรับรอง และขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลก (UNESCO World Heritage Sites) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 กิจกรรมที่ดำเนินการ

             1. เข้าร่วมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญได้แก่ การใส่บาตรข้าวเหนียว เวลาประมาณตีห้าครึ่ง พระสงฆ์และสามเณรจากทุกวัดจะออกมาบิณฑบาตตามท้องถนน

             2. ดูงานการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานที่สำคัญ

                 2.1 หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง หรือหอคำ อดีต พระราชวังหลวงซึ่งเคยเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์ของลาว) ประกอบด้วยห้องรับแขกเจ้ามหาชีวิต ห้องพิธีการ(ห้องพระโรงหน้า) ห้องรับแขกมเหสี ห้องพระโรง(ห้องโถงใหญ่) เขตพระราชฐาน และห้องแสดงรถพระที่นั่ง

                 2.2 พูสี (พระธาตุพูสี) เป็นยอดเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ที่มีพระธาตุพูสีอยู่ด้านบน เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริดเจ็ดชั้น

                   2.3 วัดแสนสุขาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดแสน จุดเด่นของวัดคือสิมที่ทาผนังด้วยสีแดง ก่อนเขียนลายลงรักปิดทอง มีหอพระยืนเป็นที่ประดิษฐาน พระยืนสูง 18 ศอก

                 2.4 วัดเชียงทองราชวรวิหาร (วัดเชียงทอง) เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2102-2103 ในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีสถาปัตยกรรมสวยงามที่สุดในหลวงพระบาง ได้รับยกย่องว่าเป็นอัญมณี แห่งสถาปัตยกรรมลาว

2.5    วัดวิชุนราช สร้างในปี พ.ศ.2046 มีพระธาตุหมากโม มีสถาปัตยกรรมไทลื้ออันงดงาม(ศิลปะไทลื้อไม่ได้เน้นลายรดน้ำปิดทองหรือลายพอกคำเหมือนวัดทั่วไปในหลวงพระบาง)

             3. ศึกษาการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการของสำนักงาน มรดกโลกประจำหลวงพระบาง

สรุปสาระของกิจกรรม

         กิจกรรมมีจำนวน 3 กิจกรรม คือ

1. ด้านประเพณีท้องถิ่น

2. กิจกรรมดูงานโบราณสถานในเขตเมืองเก่าหลวงพระบางจำนวน 5 แห่ง

          3. ศึกษาการปฏิบัติงานบริหารจัดการและการดำเนินการอนุรักษ์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง ณ สำนักงานมรดกโลกประจำหลวงพระบาง

ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

          ควรใช้แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถาน อาคารเก่า ตลอดจนวัดต่างๆ ของหลวงพระบางที่มีการควบคุมรูปแบบการอนุรักษ์อย่างชัดเจนทั้งผู้ดำเนินงานและเจ้าของอาคาร การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดการจราจร การจัดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ความสะอาดของโบราณสถานมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพชรบุรี

 

(จำนวนผู้เข้าชม 915 ครั้ง)


Messenger