๑.ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย และ ไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ ๓
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและผลักดันโครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
๒.๒ เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความร่วมมือ และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย
๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๖ – ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙
๔. สถานที่
๔.๑ นครโอ๊คแลนด์ และ เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์
๔.๒ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
๕. หน่วยงานผู้จัด
กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ
๖. หน่วยงานสนับสนุน
ไม่มี
๗. กิจกรรม
๗.๑ ข้าราชการกรมศิลปากร จำนวน ๑ คน ในคณะเดินทางไปราชการครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น ๒๑ คน เข้าพบหารือกับหน่วยงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม โดยการแนะนำภารกิจของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และหารือแนวทางเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย
๗.๒ คณะเดินทางได้ศึกษาดูงานสถานที่สำคัญทางการศึกษา ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย
๘. คณะผู้แทนไทย
๑. นางวิไลลักษณ์ เกียรติธีรรัตน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๒. คณะเดินทางจากหน่วยงานอื่นในรายละเอียดดังแนบ (รวม ๒๑ คน)
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
วันแรก (วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
๑๖.๓๐ น. คณะพบกันที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
๑๘.๔๕ น. คณะออกเดินทางไปยังนครโอ๊คแลนด์ โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG491 (ระยะเวลาเดินทาง ๑๑ ชั่วโมง)
วันที่สอง (วันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
๑๐.๔๕ น. - คณะเดินทางถึงท่าอากาศยานนครโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
- เดินทางไปยังโรงแรมที่พัก โรงแรม Stamford
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. - รับประทานอาหารเที่ยง
๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น. - ศึกษาสถานที่สำคัญในนครโอ๊คแลนด์
๑๘.๐๐ น. - รับประทานอาหารค่ำ
วันที่สาม (วันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
๐๗.๐๐ น. - รับประทานอาหารเช้า
๑๐.๐๐ น. - เข้าพบและหารือ Auckland University of Technology (AUT)
- เรื่อง Faculty of Design and Creative Technologies และด้าน Applied Sciences เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับไทยในทั้ง ๒ สาขา การส่งเสริมระดับมหาวิทยาลัย การเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษา และภาคเอกชน และเรื่องการตั้ง Thai Studies Centre / Program
๑๑.๐๐ น.-๑๒.๓๐ น. - พบหารือ EDENZ College ซึ่งเป็นสถาบันเอกชนที่เน้นการเรียนการสอน
ด้าน Film Academy, Technology Academy และ Digital Media Academy
- ไทยสามารถศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการของสถาบันเอกชน ที่ขนาดไม่ใหญ่ และมี Specialty ในด้าน Creative Industry เป็นการเฉพาะ
๑๒.๐๐ น. - พบผู้บริหาร The Big Idea เว็บไซต์
- เว็บไซต์ www.thebigidea.nz ถือเป็นเว็บไซต์ที่เป็นชุมทาง (online hub) สำหรับกลุ่มผู้นำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ รวมถึง supplier ในด้านดังกล่าว ทำให้เว็บไซต์ดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงสมาชิก (ที่มีกว่า ๓ หมื่นคน) ให้ใช้ประโยชน์จาก Talent ของกันและกันในการนำเสนอผลงาน และจัดกิจกรรม
- ของทราบแนวทาง การดำเนินการผลสำเร็จในอดีต และการนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย
๑๘.๐๐ น. - รับประทานอาหารค่ำ
วันที่สี่ (วันอังคารที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
๐๗.๐๐ น. - รับประทานอาหารเช้า
๐๙.๐๐ น.-๑๐.๓๐ น. - พบหารือ Plant and Food Research เป็นบริษัทที่มีรัฐบาลนิวซีแลนด์ถือหุ้นทั้งหมด ทำหน้าที่ในการวิจัยพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ประเภท ผัก ผลไม้ พืชและอาหารโดยเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การค้าได้
- มีคณะมาเยือนไทยเมื่อปีที่แล้ว
- แจ้งนโยบายของไทยที่เกี่ยวข้อง เช่น Food Innopolis โอกาสในการร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกัน
๑๑.๐๐ น.-๑๒.๓๐ น. - NZ Food Innovation Network เป็นเครือข่ายด้านทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่มแก่ธุรกิจทุกขนาดเพื่อให้สามารถพัฒนาสินค้าใหม่ๆ สู่ตลาดได้
- แจ้งนโยบายของไทยที่เกี่ยวข้อง เช่น Food Innopolis โอกาสในการร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกัน
๑๒.๓๐ น.-๑๔.๐๐ น. - รับประทานอาหารเที่ยง
๑๕.๐๐ น. - โดยสารเครื่องบินไปยังกรุงเวลลิงตัน เที่ยวบิน NZ425
๑๖.๐๕ น. - เดินทางถึงกรุงเวลลิงตัน และเข้าพักที่ โรงแรม Intercontinental
๑๘.๐๐ น. - รับประทานอาหารค่ำ
๐๗.๐๐ น. - รับประทานอาหารเช้า
๐๙.๐๐ น.-๑๐.๓๐ น. - พบหารือ NZ File Commission
- แจ้งสรุปพัฒนาของฝ่ายไทยเกี่ยวกับมติ ครม. เรื่อง Film incentives
- แจ้งพัฒนาการเรื่องความพร้อมในการจัดทำ Film Agreement กับฝ่ายนิวซีแลนด์
- ติดตามความคืบหน้าของฝ่ายนิวซีแลนด์
๑๑.๐๐น.-๑๒.๐๐ น. - พบหารือ Massey University, Wellington Campas (School of Design)
- หารือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การส่งเสริมระดับมหาวิทยาลัยการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน
- ขอเชิญฝ่ายวิจัยด้านเกษตรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมด้วยเพื่อหารือพัฒนาการความร่วมมือด้านดังกล่าวจากปีก่อน
๑๒.๓๐ น.-๑๓.๓๐ น. - รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ น.-๑๕.๐๐ น. - พบหารือกับหน่วยงาน New Zealand G2G Partnerships Limited
- เพื่อแจ้งให้หน่วยงาน G2G ของนิวซีแลนด์ทราบถึงโครงการ รวมถึงประสานกับภาคราชการและเอกชนไทยในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของนิวซีแลนด์ ในด้านต่าง ๆ ต่อไป
- เป็นผู้จัดคณะให้ของ Food and Plant Research มาเยือนไทยเมื่อปีก่อน
๑๗.๐๐ น. - ออกเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเวลลิงตันไปยังนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เที่ยวบิน QF172 (ใช้เวลาเดินทาง ๔ ชั่วโมง)
๑๙.๐๐ น. - เดินทางถึงนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และเข้าพักที่โรงแรม Stamford
๒๐.๐๐ น. - รับประทานอาหารค่ำ
วันที่หก (วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
๐๗.๐๐ น. - รับประทานอาหารเช้า
๐๙.๐๐ น.-๑๒.๐๐ น. - พบหารือผู้บริหาร Creative Victoria
- ขอพบ Mr. Andrew Abbott, Deputy Secretary เพื่อหารือแนวทางความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมและการสร้าง formal relationship กับ Creative Victoria
- เชิญฝ่ายออสเตรเลีย เป็น partnership ในการเข้าร่วมงาน Bangkok Entertainment Week และหารือเรื่องการที่ไทยจะเข้าร่วมในงาน International Game Week
๑๑.๐๐ น.-๑๒.๓๐ น. - พบหารือ Lead Scientist of Victoria
- อยู่ภายใต้ Department of Economic Development, Jobs, Transport and Resources มีบทบาทหน้าที่ในการเสนอนโยบาย เพื่อผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมของรัฐ
- Lead Scientist เป็นประธาน Innovation Expert Panel ด้วย
- แสวงหาความร่วมมือกับไทยในโครงการ เช่น Food Innopolis การใช้วิทยาศาสตร์หรือการวิจัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
๑๒.๓๐ น.-๑๔.๐๐ น. - รับประทานอาหารกลางวัน
๑๔.๓๐ น.-๑๖.๐๐ น. - พบหารือ Royal Melbourne Institute of Technology (RMIT) พบ Health Innovations Research Institute (HIRi)
- เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบ การตกแต่ง วิศวกรรม และคอมพิวเตอร์กราฟฟิค โดยมีการจัดคอร์สเฉพาะทางเช่น Diploma of Creative Industries
- มหาวิทยาลัยยังมีคณะ Food Science and Technology ซึ่งไทยสามารถจะแสดงหาความร่วมมือได้
- พบหารือกันทั้ง ๒ ภาควิชา เพื่อหารือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์งานวิจัยร่วม การนำการวิจัยไปสู่หาอุตสาหกรรมการส่งเสริมระดับมหาวิทยาลัย การเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน เป็นต้น
- ขอพบผู้บริหารสถาบันเพื่อหารือเรื่อง Thai Studies Center/Program
๑๘.๐๐ น. - รับประทานอาหารค่ำ
วันที่เจ็ด (วันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)
๐๗.๐๐ น. - รับประทานอาหารเช้า
๐๙.๓๐ น.-๑๑.๐๐ น. - พบหารือ TAFE Victoria, Kangan Institute (Centre for Fashion and Creative Industries)
- เป็น Campus ที่มี facilities เพื่อส่งเสริมการใช้ digital technology สนับสนุน งานด้าน fashion and design, visual merchandising โดยตัว Campus ตั้งอยู่ในย่าน Richmond ซึ่งเป็นย่านสำคัญด้าน fashion and design ของนครเมลเบิร์น
- แสวงหาแนวทางความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่าง TAFE และภาคเอกสารไทย และสถาบันการศึกษาของไทย เช่น การ accredit ระหว่างสถาบันหรือสาชาวิชาชีพ
๑๑.๓๐ น.-๑๓.๐๐ น. - รับประทานอาหารกลางวัน
๑๕.๑๕ น. - เดินทางกลับประเทศไทย โดยเครื่องบินโดยสารของ บริษัทการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 466 (ใช้เวลาเดินทาง 9 ชั่วโมง)
๒๑.๔๕ น. - เดินทางถึงประเทศไทย
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑๐.๑ จากการเข้าพบหารือกับหน่วยงานด้านการศึกษาและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านต่าง ๆ ของประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย ทำให้ได้เรียนรู้ว่า ในทั้ง ๒ ประเทศมีการเรียนการสอน แบบครบวงจรและมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถสร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามจินตนาการ
๑๐.๒ ทั้งประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย มีความเป็นมิตรกับประเทศไทยและมีความสนใจเรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษา การทำวิจัย ร่วมกัน
๑๐.๓ ประเด็นการเจรจาสืบเนื่องจากโครงการที่จัดมาแล้วในปีก่อน และต่อยอดให้เกิดความก้าวหน้า ขึ้นในปีนี้และหวังว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ในปีต่อไป
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
นางวิไลลักษณ์ เกียรติธีรรัตน์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
(จำนวนผู้เข้าชม 866 ครั้ง)