...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ มาเลเซีย โครงการ UNESCO Regional Conference on Harmonizing Actions to Reduce Risks for Cultural Heritage in Asia and the Pacific

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ มาเลเซีย

 

๑.     ชื่อโครงการ 

โครงการ  UNESCO Regional Conference on Harmonizing Actions to Reduce Risks for Cultural Heritage in Asia and the Pacific

๒.     วัตถุประสงค์     

-          ๑. การปรับปรุงการบริหารจัดการสารสนเทศด้านความเสี่ยงที่มีต่อมรดกวัฒนธรรม

-          ๒. การสร้างความแข็งแกร่งในระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีต่อมรดกวัฒนธรรม ( ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรด้านเทคนิค  กลไกและหลักการในการสื่อสาร / การประสานงาน )

-          ๓. การเพิ่มความยืดหยุ่นและความพร้อมต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีต่อมรดกวัฒนธรรม

-          ๔. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและการฟื้นฟู  รวมทั้งการสร้างรูปแบบการตอบสนองที่ไวต่อมรดกวัฒนธรรม

 

๓.     กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่   ๖  ธันวาคม –  ๙  ธันวาคม  ๒๕๕๘

๔.     สถานที่  ณ เมืองปีนัง  ประเทศมาเลเซีย

Hotel Jen, Penang , Malaysia

๕.     หน่วยงานผู้จัด   UNESCO  เป็นผู้รับผิดชอบค่าบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ  ชั้นประหยัด

 หน่วยงาน ThinkCity  เป็นผู้รับผิดชอบคี่พักและค่าอาหารในประเทศมาเลเซีย

๖.     กิจกรรม

          ๖  ธันวาคม ๒๕๕๘

                   เดินทางจากประเทศไทย  ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ( เที่ยวบิน TG 425 เวลา ๑๙:๔๕ น.  เดินทางถึง  ท่าอากาศยานปีนัง   เวลา ๒๒.๓๐น. เดินทางโดยรถตู้  จากท่าอากาศยานปีนังไปยัง  ที่พักโรงแรม Jen  Penang, Malaysia

                   ๗ ธันวาคม  ๒๕๕๘

                   ๘.๐๐ - ๙.๓๐ น.  ลงทะเบียน  ชั้น ๓ ของโรงแรมที่พัก

                   ๙.๓๐ ๑๐.๓๐ น. พิธีเปิดการประชุม

                    กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโดย  ผู้อำนวยการ ThinkCity  คุณ Laurence  Loh

                    กล่าวเปิดการประชุมโดย  คุณ Vibeke  Jensen ,  ผู้อำนวยการ  UNESCO  Islamabad

                    กล่าวชื่นชมในความสำเร็จ โดย  พณ. Lim Guan Eng. Chief Ministry  of  Penang

                   ๑๐.๓๐ ๑๑.๐๐ น. พัก

                   ๑๑.๐๐ ๑๒.๐๐ น.  การบรรยายช่วงที่ ๑

                    Keynote :  Heritage at risk : Spotlight on 2015 Nepal earthquake

                   Bresh Narayan Dahal . ผู้อำนวยการกรมโบราณคดี  ประเทศเนปาล

          Keynote :  Understanding  disasters and culture to protect heritage :   what can and cannot be done, and who should do it?

                   Dr. Terry Canon

                   ๑๓.๐๐ ๑๔.๑๕  น. การบรรยายช่วงที่ ๒   Heritage Under Attack

                   การบรรยายสรุปภาพรวมโดย คุณ Giovanni Boccardi , Chief, Emergency                     Preparedness and Response Unit, UNESCO

                   ๑๕.๐๐ ๑๖.๐๐  น. กรณีศึกษา

                    Afganistan :Protecting heritage in conflict situation 

บรรยายโดย ฯพณฯ  Musaddiq Khalili, รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวง Information และ วัฒนธรรม, ประเทศอัฟกานิสถาน

                    Sri Lanka: Protecting heritage in conflict situations

บรรยายโดย  Dr. Gamini  Wijesuriya, Project Manager Sites Unit, Iccrom

                   ๑๖.๐๐ ๑๗.๐๐ น. ช่วงการอภิปราย  ดำเนินการโดย  คุณ Masanori Nagaoka , UNESCO Kabul

                   ๘  ธันวาคม  ๒๕๕๘

                   ๙.๐๐ ๑๐.๑๕ น. การบรรยายช่วงที่ ๓  Heritage and Disaster risk reduction 

                  การบรรยายสรุปภาพรวมโดย คุณ Giovanni Boccardi , Chief, Emergency Recap of Sendai Framework and follow up

บรรยายโดย คุณ Hang Thi Than Pham, Programme Officer UNISDR Asia Pacific Secretariat Application of the Sendai Framework for cultural heritage

บรรยายโดย คุณ Aparna Tandon, Coordinator of the DRM Programme, ICCROM

                   ๑๐.๓๐ ๑๑.๓๐ น. กรณีศึกษา

Integrating heritage into national disaster management plans/ policies: Japan case study

บรรยายโดย Dr. Kumio  Shimotsuma, Senior Specialist for Cultural Properties, Agency for Cultural Affairs.

Integrating disaster risk reduction into World Heritage site management plans/policies

บรรยายโดย  Dr. Rohit Jigyasu, President, ICOMOS International Scientific Committee on Risk Prepaedness

                   ๑๓.๓๐ ๑๗.๐๐ น.  การบรรยายช่วงที่ ๔

                   การแบ่งกลุ่มเพื่ออภิปราย Failliating practical responses for protecting heritage at risk

                    แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมเป็น ๔ กลุ่ม และแยกประชุมในห้องประชุมย่อย โดยผู้แทนกรมศิลปากรแยกอภิปรายในเรื่อง

                    Strengthening governance to manage risk to cultural heritage (technical and human resources, communication/ coordination mechanisms and platforms )

                    โดยจะมีการอภิปรายเป็นประเด็นดังนี้

          1. ความท้าทาย และโอกาส ที่ประสบในงานวัฒนธรรม  พิบัติภัย และภาคประชนชนในภูมิภาค

          2. ข้อเสนอแนะในมาตรการการดำเนินการ  ในแนวทางตามที่ได้รับการแนะนำจาก Sendai Framework

          3. ความช่วยเหลือ ที่มีความประสงค์ให้ทาง UNESCOและภาคีที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือ

                   ๑๗.๐๐ น.  สรุปผลการดำเนินการแบ่งกลุ่มอภิปราย

                   ๙  ธันวาคม  ๒๕๕๘

                   ๙.๐๐ ๑๐.๐๐ น. การบรรยายช่วงที่ ๕  บทสรุป

                   ๑๐.๓๐ ๑๒.๐๐ น. การประชุมโต๊ะกลม 

Strengthening partnerships to implement proporsals for action

                   ICCROM, ICOMOS-ICORP, ADPC, IFRC, UNDP, UNISDR

                   ๑๕.๓๐ ๑๘.๐๐ น. การเดินทัศนศึกษาในเมืองปีนัง

                   ๑๐  ธันวาคม  ๒๕๕๘

                    เดินทางกลับประเทศไทย  ท่าอากาศยานปีนัง  มาเลเซีย ( เที่ยวบิน TG 426 ) เวลา ๘:๑๐ น. เดินทางถึง  ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เวลาประมาณ  ๙.๐๐ น.

                   (เวลาท้องถิ่นมาเลเซีย มากกว่า ประเทศไทย ๑ ชั่วโมง )

          ๗ . คณะผู้แทน  จากประเทศไทย

จากกรมศิลปากร

1.  นายพีรพน  พิสณุพงศ์

รองอธิบดีกรมศิลปากร

2.  นายสุรยุทธ   วิริยะดำรงค์

สถาปนิกชำนาญการ

สำนักสถาปัตยกรรม

3.  นายภุมรินทร์ เตาวโรดม

     นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

     กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

๘. สรุปสาระของกิจกรรม 

                    ๑. การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านพิบัติภัยธรรมชาติ และจากความขัดแย้ง ผ่านกรณีศึกษาต่างๆ  อาทิ แผ่นดินไหวในประเทศ เนปาล , ความขัดแย้งในประเทศอัฟกานิสถาน , และความขัดแย้งในประเทศศรีลังกา

          ๒. การวางแผนลดความเสี่ยงในมรดกวัฒนธรรม ผ่านแนวทางอนุสัญญา Sendai Framework และการนำไปประยุกต์ใช้ กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น

          ๓. การแบ่งกลุ่มอภิปราย ตามมาตรการใน Sendai Framework พร้อมหาข้อสรุปจากผู้เข้าร่วมประเทศต่างๆ เพื่อแสวงหาความร่วมมือการทำงานในอนาคต

          ๔. ทัศนศึกษา  เมือง George Town, Penang

9.ข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมกิจกรรม

          ๑. เสนอให้รวบรวมข้อมูลด้านการวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติของหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมศิลปากร (อุทยานประวัติศาสตร์, พิพิธภัณฑ์, หอศิลป์, หอสมุด, หอจดหมายเหตุ, สำนักงานต่างๆ ฯลฯ การจัดตั้งคณะทำงานต่างๆในอดีตที่เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมหารือเพื่อสรุปผลการดำเนินการ การจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงภายในส่วนงานของกรมศิลปากรเท่าที่มีจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความความเข้าเข้าใจร่วมกัน

          ๒. เสนอให้นำข้อสรุปผลการประชุมดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อ พิจารณาหาแนวทางในการดำเนินการเพื่อวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงให้บรรลุผล

          ๓. เสนอให้มีการประสานงานในการวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ  ในระดับกรม, ระดับกระทรวง  และ  กับองค์กรระดับประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

          ๔. เสนอให้มีการเสนอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการให้บรรลุผลตามแผน  มีการติดตามและการประเมินผลการดำเนินการ  เพื่อปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับนโยบายในระดับต่างๆสม่ำเสมอต่อไป

          ๕. เสนอให้มีการค้นคว้าวิจัยสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการความเสี่ยง  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการในระยะยาว  และเป็นการสร้างความปลอดภัย และมูลค่าเพิ่มให้แก่แหล่งมรดกวัฒนธรรม 

                   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

                                       

                                                         (นายพีรพน พิสณุพงศ์)

                                                         รองอธิบดีกรมศิลปากร

(จำนวนผู้เข้าชม 896 ครั้ง)


Messenger