...

โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม – อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ๖ – ๑๓ กันยายน ๒๕๕๖

โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม – อังกฤษ

๑.     ชื่อโครงการ

โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ  สหราชอาณาจักร

 

๒.     วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อเป็นการสนับสนุนกระทรวงการต่างประเทศในการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยในการเจรจาปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์

๒.๒ เพื่อศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ

     

    ๓.  กำหนดเวลา

                   วันที่ ๖ – ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

  

    ๔.  สถานที่

               สถานที่ในการดำเนินโครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย

-      National Archives

-      British Library

 

   ๕.  หน่วยงานผู้จัด

                   กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ

 

   ๖.  หน่วยงานสนับสนุน

                   สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

                   กลุ่มแผนงาน โครงการและวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร

 

   ๗.  กิจกรรม

            สำหรับกิจกรรมในการดำเนินโครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย

            ๗.๑ คณะผู้แทนไทย ได้เข้าศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ ณ British Library โดยขั้นตอนการเข้าค้นคว้าต้องกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าใช้เอกสารเพื่อทำบัตรประจำตัว (Reader Pass) ซึ่งได้กำหนดอายุการใช้งานของบัตรประจำตัว    ปี

            ๗.๒ คณะผู้แทนไทย ได้เข้าศึกษาและค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives) ซึ่งมีขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าใช้เอกสารจดหมายเหตุ และขอมีบัตรประจำตัว  ซึ่งมีกำหนดการอายุใช้งาน    ปี

 

๘.  คณะผู้แทนไทย

            โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยคณะผู้แทนจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ จำนวน ๕ คน ดังนี้

            ๘.๑ นางสาวนัยนา แย้มสาขา      ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

            ๘.๒ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา         นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ

            ๘.๓ นายนิรันดร์  บุญจิต            เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ

            ๘.๔ นายอัครพงศ์  เฉลิมนนท์     เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ

            ๘.๕ นายณธวัช  วรรณโกวิท       เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ

 

๙. สรุปสาระของกิจกรรม

            คณะผู้แทนไทย ได้เดินทางไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการปักปันเขตเดนสยามกับเมียนมาร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และศึกษาดูงานเกี่ยวกับจดหมายเหตุ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

            ๙.๑ การศึกษาค้นคว้าข้อมูล

                     การเข้าศึกษาและค้นคว้าข้อมูลใน British Library และ National Archives โดยเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับเมียนมาร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอกสารที่เก็บรักษาและให้บริการ ณ หน่วยงานทั้งสองแห่ง เป็นเอกสารที่มีความคล้ายคลึงกัน และเชื่อมโยงกันในรูปแบบเอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์และแผนที่ เอกสารลายลักษณ์ ได้แก่ จดหมายโต้ตอบระหว่างกงสุลอังกฤษในกรุงเทพกับรัฐบาลสยาม กงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯกับรัฐบาลอังกฤษ รายงานการทูตของกงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ และเมืองเชียงใหม่ เช่น รายงานบันทึกการสำรวจของข้าหลวงอังกฤษและเจ้าหน้าที่อังกฤษเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนสยาม – พม่า, หนังสือโต้ตอบระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับข้าหลวงใหญ่อังกฤษที่ประเทศอินเดีย, เอกสารประเภทแผนที่แสดงการปักปัน, หนังสือมีไปมาระหว่างข้าราชการไทยกับข้าราชการอังกฤษ เกี่ยวกับการทูต การค้า ระเบียบข้อบังคับของสยาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งสอง, เรื่องเขตแดนสยาม – มาเลเซีย, ทางรถไฟสาย  Singora – Kedah, เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – โคราช, ความสัมพันธ์ระหว่าง Mr. Knox และรัฐบาลสยาม, การเจรจาในเรื่องต่างๆ ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ เป็นต้น

           

 

            ๙.๒ การศึกษาดูงาน

                     นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ ได้ศึกษาดูงาน Digitization ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ อาทิเช่น การสแกนไมโครฟิล์มลงซีดี เพื่อเป็นฐานข้อมูลและสามารถให้บริการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในปัจจุบันครุภัณฑ์ไมโครฟิล์มมีการผลิตน้อยลง และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจดหมายเหตุเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว การบริหารจัดการเรื่องการสแกนเอกสารจดหมายเหตุโดยใช้ระบบการการจ้างบริษัทให้เข้ามาดำเนินการสแกนเอกสารจดหมายเหตุตามคำร้องขอของสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่มีความประสงค์จะจัดพิมพ์เอกสารจดหมายเหตุออกจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ ทั้งนี้บริษัทต้องเข้ามาดำเนินการในหอจดหมายเหตุแห่งชาติภายใต้การควบคุม ดูแล ของเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งบริษัทที่เข้ามาดำเนินการอนุรักษ์ ซ่อมแซมต้นฉบับที่ชำรุด โดยใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญการอนุรักษ์ดำเนินการซ่อมแซมเอกสารก่อนการสแกน ปัจจุบันมีบริษัทเข้ามาดำเนินการ ๗ บริษัท ตามความต้องการจัดพิมพ์เอกสารจดหมายเหตุของ ๕ หน่วยงาน ทั้งนี้นโยบายการจัดลำดับเอกสารจดหมายเหตุที่จะดำเนินการสแกนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ค้นคว้าและผู้ร้องขอ เอกสารชุดสำคัญที่มีผู้สนใจ เพื่อศึกษาค้นคว้า และเพื่อจัดพิมพ์ เช่น เอกสารเกี่ยวกับตระกูล เอกสารด้านการทหาร

 

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

            จากการเดินทางไปค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับประเทศไทย ใน British Library และ National Archives ร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ พบว่า เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศ การบริหารบ้านเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เก็บรักษาอยู่ในหน่วยงานดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะได้ดำเนินโครงการรวบรวม จัดทำรายการ และจัดทำสำเนาเอกสารจดหมายเหตุเหล่านั้น มาเก็บและให้บริการจะช่วยเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไป และการได้เข้ามาศึกษาดูงาน ณ  หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ทำให้ได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุ และการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ค้นคว้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว

 

 

นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ

(จำนวนผู้เข้าชม 430 ครั้ง)


Messenger