...

รายงานการเดินทางไปราชการ การประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย และการประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee ณ สาธารณรัฐเกาหลี ๓–๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

รายงานการเดินทางไปราชการ การประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย

และการประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee

ณ สาธารณรัฐเกาหลี

 

. ชื่อโครงการ ๒๐๑๓ Asia Dance Committee  ณ สาธารณรัฐเกาหลี

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมกับนานาประเทศในฐานะประเทศสมาชิก

Asia Dance Committee  โดยส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกร่วมทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศสมาชิก

ผ่านศิลปะการแสดง เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อค้นหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเอเชีย รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และอารยะธรรม

กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๓–๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

สถานที่   กรุงโซลประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

หน่วยงานผู้จัด กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

หน่วยงานสนับสนุน

๑. สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

๒. กรมศิลปากร

๓. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

๗. กิจกรรม 

    ๑. การประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย ระหว่างวันที่ ๓ – ๖ พฤศจิกายน  ๒๕๕๖

    ๒. การประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee วันที่ ๗ พฤศจิกายน  ๒๕๕๖       

๘. คณะผู้แทนไทย 

๑. นางพัชรา บัวทอง                      นาฏศิลปินอาวุโส         

    ๒. นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา        นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ

    ๓. นายยุทธนา  อัมระรงค์               อาจารย์พิเศษ  คณะศิลปนาฏดุริยางค์

๙. สรุปสาระสำคัญของกิจกรรม

การประชุม ๒๐๑๓ Asia Dance Committee  เป็นกิจกรรมเตรียมการเพื่อเรียมการแสดงใน

พิธีเปิดศูนย์วัฒนธรรมเอเชีย (Asian Cultural Complex) ณ เมือง Gwangjuสาธารณรัฐเกาหลี ในปี

ค.ศ. ๒๐๑๕ ประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย เพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดงในพิธีเปิด และการประชุมคณะกรรมการ Asia Dance Committee จากผู้แทนรัฐบาลประเทศต่างๆ เพื่อวางแผนความร่วมมือด้านศิลปะการแสดงในอนาคตเมื่อมีการเปิดใช้งาน Asian Cultural Complex

๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม

    . เนื่องจากข้อกำหนดคณะกรรมการ Asia Dance Committee กำหนดให้ผู้แทนแต่ละประเทศที่เป็นกรรมการมีอายุ ๒ ปีซึ่งได้ครบกำหนดแล้ว กระทรวงวัฒนธรรมจำเป็นต้องเสนอรายชื่อไปยังเลขานุการกรรมการอีกครั้งหนึ่ง

    ๒. ผู้เข้าร่วมประชุมหากไม่ได้เป็นผู้มีรายชื่อเป็นคณะกรรมการ ไม่สามารถลงนามในมติที่ประชุม และรับรองรายงานการประชุมได้

    ๓. ลักษณะลีลาท่าทางของการแสดงที่ทำการประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชีย ควรแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ท่าทางการแสดงของแต่ละชาติได้อย่างชัดเจนมากขึ้นในการประชุมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลป์เอเชียครั้งต่อไปปี ๒๐๑๔

 

 

นางพัชรา  บัวทอง  ผู้สรุปผลการเดินทางไปราการ                               

            ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

                            

(จำนวนผู้เข้าชม 331 ครั้ง)


Messenger