...

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะ
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะ ร่วมสมัยไทย ผู้บุกเบิกวงการศิลปกรรมของไทยให้ก้าวหน้า สู่สากล และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
         


        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะ ร่วมสมัยไทย ผู้บุกเบิกวงการศิลปกรรมของไทยให้ก้าวหน้า สู่สากล และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งผลิต บัณฑิตออกมารับใช้บ้านเมือง จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป สิ่งสําคัญที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ทําควบคู่ไปกับ งานศิลปะและการสร้างสรรค์ผลงานก็คือการเขียนบทความ ทางศิลปะ การวางโครงการสอนด้านทฤษฎีศิลป์การบรรยาย และ อภิปรายด้านศิลปะ ทั้งงานแนวประเพณี และงานศิลปะ สมัยใหม่ ข้อมูลดังกล่าวนี้จะปรากฏใน สูจิบัตรการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ หรือบทความที่ถูกบันทึก ไว้ในที่ต่างๆ



การประจักษ์แห่งศิลปะ
          ถ้าปราศจากศิลปะ ชีวิตของคนก็เป็นแต่เกิดมาอยู่ในโลกแห่งความ เป็นป่าเถื่อนมีก็แต่ความบันเทิงยินดีอย่างหลงๆ ของ สัตว์โลกเท่านั้น แต่ ผู้ที่รู้ย่อมเห็นว่าคนเรานอกจากมีร่างกายอันเน่าเปื่อยได้ ยังมีอยู่อีกอย่าง หนึ่งที่เรียกว่าดวงใจซึ่งต้องการความประณีตกล่อมเกลาด้วยสิ่งอันทําให้ ปรากฏเกิดปัญญาความรู้สึก ซึ่งเรียกเป็นคําเฉพาะว่าการประจักษ์แห่ง พุทธิปัญญา (Intellectual Manifestation) ด้วยเหตุนี้ คนจึงผิดกว่าสัตว์โลก อื่นๆ ด้วยมีความจําเป็นต้องมีศิลปะ เพราะศิลปะเป็นเครื่องพิสูจน์ ให้เห็นได้ ว่าเป็น อารมณ์เครื่องยึดหน่วงจิตใจให้ขึ้นสู่สูง และมีความไม่เห็นกับตนเป็น ที่ตั้งเป็นอย่างยิ่ง ที่ว่าความไม่เห็นแก่ตนเป็นที่ตั้ง หมายถึง "เรา" ซึ่งมีอยู่ ในตัวเรา "เรา" ที่ว่านี้ตามธรรมดา เมื่อประสบอารมณ์อะไรที่ชอบพอใจก็ อยากจะยึดถือเอาไว้เสียเองแต่ผู้เดียว ไม่อยากให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมด้วย ทั้ง นี้เป็นสัญชาตญาณที่เห็นแก่ตนโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเป็นต้นว่าความรักเรา รักอะไรเราก็หวงไม่อยากให้ใครคนอื่นมีส่วนมาร่วมรักด้วยกับเราในสิ่งนั้น แต่ตรงกันข้าม ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับศิลปะเช่นเมื่อเราได้อ่านหนังสือที่ดีๆ ได้ฟังเพลงที่เพราะๆ หรือได้ดูศิลปกรรมอย่างอื่นๆ ลางชิ้นที่งามๆ จับใจเรา ก็เกิดอารมณ์ความรู้สึกเป็นความจําเป็นขึ้นมาอยากให้เพื่อนๆ ได้อ่านได้ฟัง หรือได้ดูชมสิ่งเหล่านั้นอันเป็นการประจักษ์แห่งศิลปะร่วมความรู้สึก เช่นเดียวกับเราด้วย ต่อมาก็ให้ได้อ่านได้ฟังหรือได้ดูในศิลปกรรมนั้น อันทําให้เกิดความยินดีบันเทิงใจทางพุทธิปัญญาร่วมกับเพื่อนของเรา เพราะ ฉะนั้นจึงเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ศิลปกรรมเป็นปัจจัยทําให้เราไม่เห็น แก่ตนเป็นที่ตั้ง เมื่อรู้สึกยินดีบันเทิงใจก็อยากให้ติดต่อไปถึงผู้อื่นได้มีส่วน ร่วมความรู้สึกนี้กับเราด้วย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในชาติชั้นวรรณะใด เราก็ ยินดีอยากให้มีส่วนร่วมด้วยเสมอ
          ภูมิประเทศอันเป็นทิวทัศน์ ไม่ใช่จะหมายความว่ามีแต่ทุ่งนาป่าเขา ลําเนาไม้ ยังมีความหมายมากกว่านั้น หมายความว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งพิภพ จักรวาลและถ้าศิลปินสามารถถอดเอาชีวิตจิตใจ ที่เป็นสาระของส่วนที่กล่าว นั้นออกมาเป็นรูปได้ รูปนั้นก็ไม่ใช่เป็นรูปที่ถอดเอามาจากธรรมชาติเท่าที่ ธรรมดามองเห็น แต่จะเป็นรูปที่ถอดเอาสาระสําคัญของธรรมชาติออกมา ทีเดียว
          ค่าอันแท้จริงของศิลปกรรม คือมีคุณสมบัติซึ่งพูดไม่ถูกที่กล่าว ออกมาข้างต้นนี้ซึ่งทําให้อารมณ์ของเราเกิดสะเทือนเคลื่อนไหว กล่าวคือนี้ แหละเป็นส่วนจิตใจของศิลปินนั้นเทียว นี่คืออํานาจแห่งอารมณ์สะเทือนใจ ของศิลปิน ผู้เนรมิตสร้างซึ่งถอดเอาลงไปในศิลปกรรมของเขา เหตุนี้จึงเป็น ศิลปะบริสุทธิ์ที่ทําให้เกิดความรู้สึกยิ่งกว่าเห็นเฉยๆ
 

(จำนวนผู้เข้าชม 42721 ครั้ง)