พรศิริ บูรณเขตต์,โฉเฉ : ความงามที่มีเหตุผล,ศิลปวัฒนธรรม.(27):3;ม.ค.2549
โฉเฉ หรือโฉงเฉง เป็นภาชนะช้อนปลา มีรูปทรงสะดุดตา มีลายสานสะดุดใจ ดูเหมือนว่าความงามจะเด่นชัดกว่าประโยชน์ใช้สอย และเหมือนว่าถ้าจะใช้สอย ก็ไม่น่าจะใช้จับปลา
โฉเฉสานจากผิวไผ่ อธิบายง่ายๆ ว่าสานคล้ายชะลอม แต่สานด้านบนเป็นคอคอดคล้ายคอขวด ที่ปากคอขวดเป็นขดไม้ซึ่งใช้หวายรัดให้แน่น หวายที่รัดนี้เมื่อโดนน้ำจะยิ่งรัดแน่น หากใช้ตอก ตอกมักจะกรอบ
โฉเฉเป็นเครื่องมือทางเลือกแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านมีเครื่องมือหลากหลายและเลือกใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม
เครื่องมืออย่างโฉเฉใช้ในช่วงหน้าแล้งหรือหน้าฝนก็ได้ แต่ต้องใช้ยามที่ปลามีปัญหาช่วงปรับตัวกับสภาพแวดล้อม กับใช้เมื่อผู้คนสร้างสถานการณ์จับปลา
ช่วงหน้าแล้งราวๆ เดือนเมษายนถึงมิถุนายน น้ำจะลดงวด หนองบึงมีหญ้ารก ชาวบ้านจะฟันหญ้าให้เป็นวงกว้างราวๆ ๖-๗ เมตร นำหญ้าขึ้นมากองตามขอบ ใช้เท้าเหยียบย่ำให้แน่น ปลาจะอยู่ภายในวงหญ้า แล้วจึงใช้โฉเฉช้อนปลา ถ้าไม่อยากก้มบ่อยๆ บางคนจะเสริมด้ามไม้ใช้สะดวกสบายขึ้น
(จำนวนผู้เข้าชม 553 ครั้ง)